นวัตกรรมงานสร้างสรรค์การพัฒนาออกแบบลวดลายหนังใหญ่เพื่อ การแปรรูปผลิตภัณฑ์กระเป๋าหนังสุภาพสตรี จังหวัดสิงห์บุรี

ผู้แต่ง

  • ธรรมรัตน์ บุญสุข คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

คำสำคัญ:

นวัตกรรมงานสร้างสรรค์, การพัฒนาออกแบบลวดลายหนังใหญ, การแปรรูปผลิตภัณฑ์กระเป๋าหนังสุภาพสตรี

บทคัดย่อ

การสร้างสรรค์ผลงานครั้งนี้กำหนดวัตถุประสงค์ไว้ 4 ประการดังนี้ 1) เพื่อศึกษาลวดลาย สีสัน และเทคนิคการทำหนังใหญ่ 2) เพื่อศึกษาเทคนิคการทำลวดลายหนังใหญ่บนแผ่นหนัง 3) เพื่อออกแบบลวดลายหนังใหญ่สำหรับกระเป๋าหนังสุภาพสตรี 4) เพื่อสร้างสรรค์ต้นแบบผลิตภัณฑ์กระเป๋าหนังสำหรับสุภาพสตรีวิธีการดำเนินการสร้างสรรค์ ศึกษา ลวดลาย สีสัน ของหนังใหญ่ที่พิพิธภัณฑ์หนังใหญ่ วัดสว่างอารมณ์ จังหวัดสิงห์บุรี ศึกษาเทคนิคการทำลวดลายหนังใหญ่บนหนังวัวและการลงสี โดยเลือกศึกษาเทคนิคการฉลุลาย ศึกษาลวดลายหนังใหญ่และร่างแบบกระเป๋าหนังสำหรับสุภาพสตรีลวดลายหนังใหญ่ จำนวน 10 ชุด แล้วนำผลวิเคราะห์จากผู้เชี่ยวชาญการออกแบบคัดเลือก ให้เหลือ 1 ชุด เพื่อทำต้นแบบ ศึกษารูปทรงและกระบวนการเย็บประกอบรูปทรงกระเป๋าสำหรับสุภาพสตรี สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ต้นแบบประเภทกระเป๋าหนังสำหรับสุภาพสตรีลวดลายหนังใหญ่ 1 ชุด จำนวน 3 ใบ ประกอบด้วย กระเป๋าคลัตช์ (Clutch) 1 ใบ กระเป๋าคล้ายตัวยู (Saddle Bag) 1 ใบ กระเป๋าใบใหญ่มีหูหิ้ว และสายสะพาย (Duffel Bag) 1 ใบ

References

กนกวรรณ สุวรรณวัฒนา. (2527). หนังใหญ่วัดขนอน จังหวัดราชบุรี. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ประทุม ชุ่มเพ็งพันธุ์. (2521). หนังใหญ่ของไทย. ศิลปากร.

ปานฉัตท์ อินทร์คง. (2560). การประยุกต์ใช้ผ้าทอจันเสนร่วมกับงานจักสานเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนเชิงพาณิชย์ จังหวัดนครสวรรค์. กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม.

มนตรี ตราโมท. (2502). การละเล่นของไทย. กรุงเทพมหานคร : กรมศิลปากร.

สุทธิดา เอกวนิชชา. (2563). การวิจัยและพัฒนารูปแบบกระเป๋าหนังสานที่สะท้อนถึงอัตลักษณ์ความเป็นไทย. [วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

อภิญญา เฟื่องฟูสกุล. (2541). อัตลักษณ์. สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

อุดมศักดิ์ สาริบุตร. (2550). ออกแบบเฟอร์นิเจอร์. โอเดียนสโตร์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-28