การพัฒนากิจกรรมเสริมหลักสูตรนาฏศิลป์ เรื่อง การใช้อาวุธในละครเสภา

ผู้แต่ง

  • ขณิตา ภูละมูล คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • รจนา สุนทรานนท์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

คำสำคัญ:

การพัฒนา, กิจกรรมเสริมหลักสูตร, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, การใช้อาวุธ, ละครเสภา

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและประเมินความเหมาะสมของกิจกรรมเสริมหลักสูตรนาฏศิลป์ เรื่อง การใช้อาวุธในละครเสภา 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากการใช้กิจกรรมเสริมหลักสูตรนาฏศิลป์ของนักศึกษา ระดับชั้นปริญญาตรีปีที่ 3 สาขานาฏศิลป์ไทยศึกษา คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ระหว่างก่อนและหลังเรียน 3) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความรู้ของนักศึกษา จากการใช้กิจกรรมเสริมหลักสูตรนาฏศิลป์เรื่อง การใช้อาวุธในละครเสภา 4) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านทักษะปฏิบัติของนักศึกษา จากการใช้กิจกรรมเสริมหลักสูตรนาฏศิลป์ เรื่อง การใช้อาวุธในละครเสภา 5) ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาต่อกิจกรรมเสริมหลักสูตรนาฏศิลป์ เรื่อง การใช้อาวุธในละครเสภา

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ แบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 พัฒนากิจกรรมเสริมหลักสูตรนาฏศิลป์ เรื่อง การใช้อาวุธในละครเสภา ได้แก่ นักศึกษาสาขานาฏศิลป์ไทยศึกษา เอกละคร จำนวน 20 คน และกลุ่มผู้บริหาร ได้แก่ หัวหน้าภาควิชานาฏดุริยางคศิลป์และคณะกรรมการบริหารหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต (สาขานาฏศิลป์ไทยศึกษา) จำนวน 6 คน ระยะที่ 2 ศึกษาผลการใช้กิจกรรมเสริมหลักสูตรนาฏศิลป์ เรื่องการใช้อาวุธในละครเสภา ได้แก่ นักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 3 สาขานาฏศิลป์ไทยศึกษา เอกละคร ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 18 คน โดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Sampling) โดยนำกิจกรรมไปจัดการเรียนรู้ให้กับนักศึกษาตามแผนการจัดการเรียนรู้ 6 แผน แบ่งออกเป็นด้านความรู้ 1 แผน และด้านทักษะปฏิบัติ 5 แผนใช้เวลาในการศึกษา 18 ชั่วโมง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ และ t-test dependent 

ผลการศึกษาพบว่า 1) การพัฒนากิจกรรมเสริมหลักสูตรนาฏศิลป์ เรื่อง การใช้อาวุธในละครเสภา มีความเหมาะสม ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.72 2) นักศึกษามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกิจกรรมเสริมหลักสูตร เรื่อง การใช้อาวุธในละครเสภา หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) นักศึกษามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกิจกรรมเสริมหลักสูตรนาฏศิลป์ เรื่อง การใช้อาวุธในละครเสภา ด้านความรู้ ในระดับดีมาก 4) นักศึกษามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกิจกรรมเสริมหลักสูตรนาฏศิลป์ เรื่อง การใช้อาวุธในละครเสภา ด้านทักษะปฏิบัติ โดยรวมในระดับดีมาก 5) นักศึกษามีความพึงพอใจต่อกิจกรรมเสริมหลักสูตรนาฏศิลป์ เรื่อง การใช้อาวุธในละครเสภา โดยรวมในระดับมากที่สุด

References

กาญจนี ฉันสีมา. (2553). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรูสาระนาฏศิลป์ เรื่อง เซิ้งเก็บสมุนไพรในสะเดา ชั้นประถมศึกษาป ที่ 5 โรงเรียนบ้านยาง (อาสาพัฒนา 3) ตามแนวคิดของแฮรโรว์.[วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ฉวีวรรณ ตาลสุก. (2556). การพัฒนาหลักสูตรนาฏศิลป์สร้างสรรค์ตามแนวทางการจัดการศึกษาเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ฉัตรชัย เคียรประเสริฐ. (2560). การพัฒนารายวิชาเครื่องแต่งกายละครไทย สำหรับนักศึกษานาฏศิลป์ ระดับปริญญาบัณฑิต. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชนากานต์ อ่อนประทุม. (2563). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ทักษะปฏิบัติรำวงมาตรฐาน โดยใช้รูปแบบของเดวีส์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ชนันธร หิรัญเชาว์. (2562). การพัฒนาทักษะนาฏศิลป์ไทยและความคิดสร้างสรรค์ตามแนวคิดของเดวีส์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนต้น. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

นฤเบศน์ ระดาเขต. (2565). การพัฒนาทักษะปฏิบัติการแสดงนาฏศิลป์พื้นบ้าน โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดทักษะปฏิบัติของเดวีส์ร่วมกับมัลติมีเดีย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยสารคาม.

นิสา เมลานนท์. (2555). การพัฒนานวัตกรรมการสอนวิชานาฏศิลป์ เรื่อง นาฏลีลานาฏยศัพท์. วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 4(1). 76-97.

ปณิตา ทิพย์หทัย, พรหทัย คงสิบ และวรารัตน์ ฉ่ำกระมล. (2552). การพัฒนาหลักสูตรสาระเพิ่มเติม เรื่อง การประดิษฐ์เครื่องศิราภรณ์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ปนัดดา เขียวชอุ่ม. (2561). ความพึงพอใจต่อการเรียนนาฏศิลป์ไทยของนักเรียนโรงเรียนนาวิกโยธินบูรณะ จังหวัดชลบุรี. วารสารพัฒนศิลป์วิชาการ, 2. 45-55.

พรรษาศิริ บุญคุ้ม. (2562). การพัฒนาหลักสูตรรายวิชานาฏศิลป์ร่วมสมัย : ลีลานาฏยนักรบสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. คณะศิลปกรรมศาสตร์. (2560). หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขานาฏศิลป์ไทยศึกษา (5 ปี). คณะศิลปกรรมศาสตร์.

รัชนีวรรณ เกิดสวัสดิ์. (2548). การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นนาฏศิลป์พื้นบ้านล้านนา เรื่อง การฟ้อนแง้นสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัย ราชภัฏอุตรดิตถ์.

เรขา อินทรกำแหง. (2553). การพัฒนาชุดการเรียนรู้ด้วยตนเอง วิชา 150203 สุนทรียภาพของชีวิตทางด้านนาฏศิลป์ เรื่อง โขน ละคร และระบำ รำ ฟ้อน สำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา (รายงานการวิจัย). นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

วีรภัทร จินตะไล. (2560). การสร้างกิจกรรมนาฏศิลป์พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวัดตาลเอน (โศภนชนูปถัมภ์). [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

หยาดพิรุณ พวงสุวรรณ์. (2558). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ทักษะพื้นฐานและการฝึกหัดการแสดงนาฏศิลป์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

อังคณา โตกระโทก. (2565). การพัฒนาหลักสูตรสาระเพิ่มเติมนาฏศิลป์ เรื่องระบำนาฏยมาลา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

อาทิตยา เงินแดง. (2560). การพัฒนากิจกรรมเสริมหลักสูตรเพื่อพัฒนาทักษะของผู้เรียนสายสามัญก่อนเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาสาขาวิชานาฏศิลป์ไทย. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-28