ความสำนึกร่วมในพัฒนาการทัศนศิลป์และการวิจารณ์ของไทย: หมุดหมายที่สำคัญในช่วง พ.ศ.2475-2550

ผู้แต่ง

  • สุริยะ ฉายะเจริญ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี

คำสำคัญ:

ความสำนึกร่วม, ทัศนศิลป์ไทย, การวิจารณ์ไทย, หมุดหมาย

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการวิเคราะห์พัฒนาการของทัศนศิลป์และการวิจารณ์ด้านทัศนศิลป์ของไทยเพื่อให้เห็นถึงสำนึกร่วมภายใต้หมุดหมายสำคัญช่วง พ.ศ. 2475 ถึง พ.ศ. 2550 ที่มีบทบาทการสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์และการวิจารณ์ของไทยในแต่ละช่วงเวลา

ผลการวิจัย พบว่า พัฒนาการทัศนศิลป์และการวิจารณ์ของไทยในช่วง พ.ศ.2475-2550 มีปัจจัยร่วมที่เกิดจากความสำนึกร่วมของสังคมที่แตกต่างกันไปตามช่วงเวลาและสถานการณ์ของสังคม วัฒนธรรม การเมือง และเศรษฐกิจของไทย

ซึ่งสรุปตามผลการวิจัยได้ว่า หมุดหมายที่หนึ่ง ช่วง พ.ศ.2475-2499 งานทัศนศิลป์และการวิจารณ์ของไทยสัมพันธ์กับสำนึกร่วมเรื่องความเป็นสมัยใหม่ สำนึกร่วมเรื่องความเป็นประชาธิปไตยและสำนึกร่วมเรื่องการผสมผสานอิทธิพลตะวันตกกับศิลปะไทยประเพณี-ชีวิตไทยในอดีต หมุดหมายที่สอง ช่วง พ.ศ.2500-2429 งานทัศนศิลป์และการวิจารณ์ของไทยสัมพันธ์กับสำนึกร่วมเรื่องความเป็นไทย สำนึกร่วมความเป็นสมัยใหม่ เสรีนิยม ปัจเจกนิยม สำนึกร่วมแนวทางศิลปะเพื่อชีวิตศิลปะเพื่อประชาชน และสำนึกร่วมในสิทธิ เสรีภาพ และประชาธิปไตย หมุดหมายที่สาม ช่วง พ.ศ.2530-2450 สำนึกร่วมความเป็นไทยและความเป็นท้องถิ่นในกระแสโลกาภิวัตน์ สำนึกร่วมมิติทางพระพุทธศาสนาในงานทัศนศิลป์สำนึกร่วมการสร้างทัศนศิลป์ที่สะท้อนและวิพากษ์วิจารณ์สังคม และสำนึกร่วมความเป็นนานาชาติ

References

โครงการศาสตราจารย์ศิลป พีระศรี สรรเสริญ. (2552). ศิลป พีระศรี สรรเสริญ. โครงการศาสตราจารย์ศิลป พีระศรี สรรเสริญ.

จักรพันธ์ วิลาสินีกุล, ดวงฤทัย เอสะนาชาตัง, และ วันทนีย์ ศิริพัฒนานันทกูร. (2547). พลังการวิจารณ์ : ทัศนศิลป์. มิ่งมิตร.

เจตนา นาควัชระ. (2546). ศิลป์ส่องทาง. คมบาง.

แจนนิส วงศ์สุรวัฒน์. (2530). การวิเคราะห์เชิงวิจารณ์รูปแบบและสัญลักษณ์ของอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยในแง่ศิลปโดยพิจารณาเน้นที่ภาพรูปจำหลักโดยรอบของปีกทั้งสี่ของอนุสาวรีย์. ทุนอุดหนุนจากศูนย์วิจัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ถนอม ชาภักดี. (2545). ศิลปะปริทัศน์ เชิงอรรถการวิจารณ์. เนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน).

ถนอม ชาภักดี. (2557). การสร้างสรรค์สื่อเรื่อง กระบวนการวิจารณ์ทัศนศิลป์ในประเทศไทยช่วงปี พ.ศ.2530-2550: ภายใต้บริบทของโลกกาภิวัฒน์และโลกศิลปะ [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทีปกร. (2540). ศิลปเพื่อชีวิต ศิลปเพื่อประชาชน. นกฮูก.

ธนะ เลาหกัยกุล. (2546). เส้น สี รูปทรง สังคมของการจัดวาง 40 ปี. อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

พิริยะ ไกรฤกษ์ และ เผ่าทอง ทองเจือ. (2526). ศิลปกรรมหลัง พ.ศ. 2475. สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

มณเฑียร บุญมา และ อารยา ราษฎร์จำเริญสุข. (2548). คนตายอยากอยู่ คนอยู่อยากตาย. สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม.

มณเฑียร บุญมา. (2532). ผลงานสื่อประสมของมณเฑียร บุญมา "เรื่องราวจากท้องทุ่ง". กรมศิลปากร.

มณเฑียร บุญมา. (2548). ตายก่อนดับ: การกลับมาของมณเฑียร บุญมา. สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม.

มานิต ศรีวานิชภูมิ, สุธี คุณาวิชยานนท์, และ อิ๋ง กาญจนะวณิชย์. (2544). นิทรรศการประวัติศาสตร์และความทรงจำ. จัดแสดง ณ หอศิลปวิทยนิทรรศน์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 15 สิงหาคม - 1 กันยายน 2544. หอศิลป์วิทยนิทรรศน์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มานิต ศรีวานิชภูมิ, สุธี คุณาวิชยานนท์, อิ๋ง กาญจนะวณิชย์, วสันต์ สิทธิเขตต์, ชาติชาย ปุยเปีย, นพ ไชย อังควัฒนะพงษ์, สาครินทร์ เครืออ่อน, และ สันติ ทองสุข. (2548). นีโอ-ชาตินิยม : นิทรรศการศิลปการเมืองร่วมสมัย. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วรเทพ อรรคบุตร. (2548). เข้านอก/ออกใน. สเกล.

วสันต์ สิทธิเขตต์. (2561). นิทรรศการศิลปะร่วมสมัย "ฉันคือเธอ". จัดโดยหอศิลปวัฒนธรรมแห่ง กรุงเทพมหานคร. แปลน พริ้นท์ติ้ง จำกัด.

วิโชค มุกดามณี, และ สุธี คุณาวิชยานนท์. (2540). ศิลปะรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 9. คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วิบูลย์ ลี้สุวรรณ. (2548). ศิลปะในประเทศไทยจากศิลปะโบราณในสยามถึงศิลปะสมัยใหม่. ศูนย์หนังสือลาดพร้าว.

วิรุณ ตั้งเจริญ. (2534). ศิลปะสมัยใหม่ในประเทศไทย. โอเดียนสโตร์.

ศิลป์ พีระศรี. (2546). ศิลปวิชาการ : ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี. มูลนิธิศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี อนุสรณ์.

สดชื่น ชัยประสาธน์. (2539). จิตรกรรมและวรรณกรรมแนวเซอร์เรียลิสต์ในประเทศไทย พ.ศ.2507-2527. สยามสมาคม.

สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม. (2557). เอกะทศวรรษ ศิลปาธร. สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม.

สุชาติ เถาทอง. (2537). ศิลปวิจารณ์. โอเดียนสโตร์.

สุธี คุณาวิชยานนท์. (2546). จากสยามเก่าสู่ไทยใหม่: ว่าด้วยความพลิกผันของศิลปะจากประเพณีสู่สมัยใหม่. บ้านหัวแหลม.

สุธี คุณาวิชยานนท์. (2552). ศิลปะเพื่อชีวิต ศิลปะเพื่อการเมือง: จากสัจนิยมราชา ถึง สัจนิยมสังคม และกลับสู่ สัจนิยมราชาวีรบุรุษ. ศิลปวัฒนธรรม,30 (7), 84-110.

สุธี คุณาวิชยานนท์. (2561). ศิลปะสมัยใหม่และร่วมสมัย: ตะวันตกและไทย. ทวีวัฒน์การพิมพ์ จำกัด.

อำนาจ เย็นสบาย และ วิรุณ ตั้งเจริญ. (2529). ทัศนะวิจารณ์ ผลงานวิจารณ์ศิลปกรรมระหว่าง 2516-2526. กรมการนิเทศการศึกษา หน่วยศึกษานิเทศก์ กรมการฝึกหัดครู.

อำนาจ เย็นสบาย. (2524). ประวัติศาสตร์ศิลปกรรมร่วมสมัยของรัตนโกสินทร์. หน่วยศึกษานิเทศก์ กรมการฝึกหัดครู.

อำนาจ เย็นสบาย. (2553ก). พลวัตศิลปกรรมไทย. ต้นอ้อ.

อำนาจ เย็นสบาย. (2553ข). ศิลปพิจารณ์ 1. ต้นอ้อ.

Apinan Poshyananda. (1992). Modern art in Thailand: nineteenth and twentieth centuries. Singapore: Oxford University Press. Van Fenema, Joyce. (1996). Southeast Asian Art Today. Singapore: Roeder.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-28