เดอะ รัดแกรนด์ คาบาเรต์ : การสร้างสรรค์ละครเวทีเพื่อสะท้อนการลดทอนคุณค่าของกลุ่มความแตกต่างทางเพศ

ผู้แต่ง

  • พงศธร ยอดดำเนิน คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ชยุตพงศ์ ทัพศิลา คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • สหัสวัต เนื้อทอง
  • อรอุรชา เชาวนาศิริ
  • ชนิสรา ชาญโพธิ์
  • ณภษร ปั้นพานิช

คำสำคัญ:

ละครเวที, คาบาเรต์, กลุ่มความแตกต่างทางเพศ, การลดทอนคุณค่า, การด้นสด

บทคัดย่อ

บทความฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประเด็นทางสังคมที่เกี่ยวกับคุณค่าและสิทธิของกลุ่มความแตกต่างทางเพศ และเพื่อสร้างสรรค์ละครเวที เรื่อง เดอะ รัดแกรนด์ คาบาเรต์ สะท้อนประเด็นการลดทอนคุณค่าภายในกลุ่มความแตกต่างทางเพศ การสร้างละครเวทีโดยใช้กระบวนการทำงานร่วมกันของกลุ่มผู้สร้างงาน (Devised) โดยที่กลุ่มผู้สร้างสรรค์และผู้ร่วมกระบวนการได้แบ่งปันประสบการณ์ของตนเองโดยตรงเเละที่เกิดขึ้นกับบุคคลรอบข้าง การรวบรวมข้อมูลในประเด็นที่เกี่ยวข้องและการปฏิบัติการเชิงลึกร่วมกับองค์กรเครือข่ายความแตกต่างทางเพศอีสาน ด้วยกิจกรรมศึกษาและสร้างความตระหนักรู้ในคุณค่าของกลุ่มความหลากหลายทางเพศ นำเสนอประเด็นการลดทอนคุณค่า รสนิยมทางเพศ ศักยภาพ และแนวทางการอยู่ร่วมกันท่ามกลางความแตกต่างทางเพศด้วยกระบวนการสร้างสรรค์การแสดงละครเวที

ผลการศึกษาพบว่าการลดทอนคุณค่าของกลุ่มความแตกต่างทางเพศ ยังเป็นปัญหาที่ถูกมองข้างและเกิดขึ้นในสังคมไทย ส่งผลให้ปัจจุบันบุคคลที่มีความแตกต่างทางเพศบางคนมีสภาพจิตใจไม่พร้อมที่จะรับมือ ต้องปิดบังตัวตนไม่กล้าที่จะแสดงออกในเรื่องของอัตลักษณ์และรสนิยมทางเพศ ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นสิ่งที่กลุ่มความแตกต่างทางเพศควรที่จะตระหนักและเคารพสิทธิในการแสดงออกทางเพศของแต่ละบุคคลการสร้างสรรค์ละครในรูปแบบละครเวที นำเสนอประเด็นหลักของเรื่องเพื่อสะท้อนประเด็นการลดทอนคุณค่าของกลุ่มความแตกต่างทางเพศ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเด็นย่อย ได้แก่มาตรฐานความงามรูปลักษณ์ภายนอกเเละการแสดงออกถึงอัตลักษณ์หรือรสนิยมทางเพศ ซึ่งเป็นปัญหาที่ปัจจุบันกลุ่มความแตกต่างทางเพศ ยังมีการลดทอนคุณค่าและไม่เข้าใจซึ่งกันเเละกันภายในสังคม \การสะท้อนประเด็นผ่านละครเวทีหวังเป็นอีกพลังกระบอกเสียงในการขับเคลื่อนสังคมไทยในยุคปัจจุบันได้ตระหนักและเข้าใจถึงสิทธิอันพึ่งได้รับของกลุ่มความแตกต่างทางเพศมากยิ่งขึ้น

References

กีรติวรรณ กัลยาณมิตร, จักรวาล สุขไมตรี และสืบสวัสดิ์ วุฒิวรดิษฐ. (2565). กลุ่มบุคคลที่มีความ แตกต่างทางเพศกับความไม่เท่าเทียมในหน่วยงานภาครัฐ. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น, 8(3), 351-360.

ณรงค์ อนุรักษ์, สมเดช รุ่งศรีสวัสดิ์, และ สุรสิทธิ์ วิทยารัฐ. (2564). ภาพลักษณ์สตรีข้ามเพศในประเทศไทย. วารสารคสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 6(7), 255-269.

ณวดี เศรษฐเมธีกุล. (2558). การบริหารจัดการละครเวทีอย่างมีประสิทธิภาพด้วยการประยุกต์ใช้องค์ความรู้ทางด้านอีเว้นท์เมเนจเมนท์. ศิลปกรรมสาร, 10(1), 56-79.

ปริยศ กิตติธีระศักดิ์. (2560). ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับคํานิยามในการศึกษาถึงความแตกต่างทางเพศในคน กลุ่มน้อยทางเพศในประเทศไทย. วารสารพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต, 31(2),1-15.

พชร อาชาศรัย และปิยวัฒน์ ธรรมกุลางกูร. (2563). การศึกษาหน้าที่ของผู้ควบคุมการผลิต (production manager) ให้เหมาะกับรูปแบบการจัดแสดงละครเวทีในประเทศไท ย. ศิลปกรรมสาร, 13(2), 23-52.

พวงเพ็ญ นิกระโทก และเกษราวัลณ์ นิลวรางกูร. (2556). การทารุณกรรมในวัยรุ่นกะเทย. วารสารสมาคมพยาบาลฯ สาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 31(4), 61-69.

มัทนี รัตนิน. (2559). ศิลปะการแสดงละคอน (Acting): หลักเบื้องต้นและการฝึกซ้อม. พิมพ์ครั้งที่ 2. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วรธา มงคลสืบสกุล. (2565). การเข้าถึงบริการทางสาธารณสุขของไทย:ภาพสะท้อนและความเหลื่อมล้ำของกลุ่มเปราะบางทางสังคมThailand's Access to

Healthcare Services: The reflection and inequality of Vulnerable Group. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์, 6(1), 56-69.

วิชัย สวัสดิ์จีน. (2560). การแสดงในโรงละครคาบาเรต์ของเมืองพัทยา Cabaret Show at Cabaret Theatre in Pattaya City. วารสารดนตรีและการแสดง, 3(2), 99-116.

สรณ บุญใบชัยพฤกษ์. (ม.ป.ป). สิทธิมนุษยชนกับความเท่าเทียมทางเพศ. ใน สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ (บ.ก.), หลักสูตรหลักนิติธรรมเพื่อประชาธิปไตย รุ่นที่ 5. วิทยาลัยศาลรัฐธรรมนูญ สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ.

เสกสรร สายสีสด, ดสพร เกิดทิม, ปรัญชัย จําปาศักดิ์และคณะ. (2564). การศึกษาพฤติกรรมการดํารงชีวิต (Lifestyles) และความพึงพอใจ ในการดํารงชีวิต ของกลุ่มLGBTQ+ในจังหวัดอุดรธานี. วารสารวิทยาการจัดการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัย ราชภัฏพิบูลสงคราม, 3(1), 3-16.

ปิยวรรณ วิเศษสุวรรณภูมิ, ชนัญชิดา ทุมมานนท์, ชุติมณฑ์ คล้ายแก้ว และคณะ. (2565). วัยรุ่นที่มีความแตกต่างทางเพศ: การดูแลช่วยเหลืออย่างเข้าใจ Lesbian, Gay, Bisexual, Transgenderand Queer (LGBTQ) Adolescents: Understanding and Support. วารสารเทคโนโลยีสุรนารี, 16(2), 119–131.

อำนาจ มงคลสืบสกุล. (2561). สิทธิมนุษยชนของกลุ่มคนที่มีความแตกต่างทางเพศในบริบทสังคมไทย. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามงกุฏราชวิทยาลัย, 1(1), 69-80.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-28