Editor

Main Article Content

Asst. Prof. Dr. Phatchalin Jeennoon

Abstract

วารสารปาริชาต มหาวิทยาลัยทักษิณ ฉบับนี้เป็นวารสารปีที่ 32 ฉบับที่ 2 (เดือนกรกฎาคม – ธันวาคม 2562) มีบทความวิจัยที่น่าสนใจทางด้านศิลปะและมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ บริหารธุรกิจ การจัดการและการเงิน จำนวน 15 เรื่อง ประกอบด้วย บทความวิชาการ จำนวน 1 เรื่อง กระบวนทัศน์ของสังคมที่มีต่อสถานภาพและบทบาทของผู้สูงอายุ ของ ศันสนีย์ จันทร์อานุภาพ จำนงค์ แรกพินิจ บทความวิจัย จำนวน 14 เรื่อง ทัศนะของชนชั้นนำสยามต่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชในสมัยรัตนโกสินทร์ (พ.ศ. 2325-2475) ของ ศุภกาณฑ์ นานรัมย์ เรื่อง หนังสือธรรมะของพระสายปฏิบัติอีสาน: การศึกษาโครงสร้างและวัจนลีลาในสัมพันธสารประเภทเรื่องเล่า ของ กุสุมา สุ่มมาตร์ ราชันย์ นิลวรรณาภาเรื่อง กลไกขับเคลื่อนสวัสดิการชุมชนเมืองของชุมชนมุสลิมมัสยิดกมาลุลอิสลาม กรุงเทพมหานคร ของ แสน กีรตินวนันท์ สิริยา รัตนช่วย เรื่อง โครงการพาคนกลับบ้านในบริบทของการแก้ปัญหาความมั่นคงในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ของ อภิวัฒน์ สมาธิ ภาณุ ธรรมสุวรรณ กรกฎ ทองขะโชค กฤษกร พลีธัญญวงศ์ เรื่อง ผลกระทบของระยะเวลาเรียนต่อการเอาใจใส่ในการเรียนในชั้นเรียนไวยากรณ์ของนักเรียนไทยที่เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศ ของ ไมเคิล สโตฟัล พนิดา สุขศรีเมือง เรื่อง ปัจจัยเชิงสาเหตุในการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมที่ส่งผลต่อการปรับตัวของนักฟุตบอลต่างชาติ ในสโมสรฟุตบอลไทยลีก ของ เอกรงค์ ปั้นพงษ์ วรัชญ์ ครุจิต เรื่อง ผลกระทบของการวางแผนภาษีต่อต้นทุนหนี้ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ของ สัตยา ตันจันทร์พงศ์ ทัดพงศ์ อวิโรธนานนท์ เรื่อง พลังแห่งกาละและเทศะ : กรณีศึกษาความสำเร็จของประธานาธิบดีโฮจิมินห์ ของ Truong Thi Hang เรื่อง การรับรู้ความเสี่ยงของเกษตรกรสวนยางในภาคใต้ของประเทศไทย ของ อรอนงค์ ลองพิชัย ไชยยะ คงมณี เรื่อง รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของความรู้และทักษะของนักบัญชีที่ส่งผลต่อคุณภาพของรายงานทางการเงิน ของ ภัทรา เตชะธนเศรษฐ์ เรื่อง การศึกษาสภาพปัญหาและสาเหตุของพฤติกรรมการรังแกบนโลกไซเบอร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ของ ธันยากร ตุดเกื้อ เกษตรชัย และหีม ฤทัยชนนี สิทธิชัย เรื่อง ทัศนคติของนักศึกษาที่มีต่อการเรียนการสอนรายวิชาดนตรีเพื่อคุณภาพชีวิต สาขาวิชาดุริยางคศาสตร์สากล มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตสงขลา ของ รัตติกาล แสงไทย โกวิทย์ ขันธศิริ และ เรื่อง ภูมินามวัดในอำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี ของ สำราญ จูช่วย สังคมปัจจุบันนี้วิถีชีวิตของคนวิ่นแหว่งไปมาก หลายคนกำลังเผชิญกับปัญหาที่รุมล้อมจากสภาพเศรษฐกิจ จากค่านิยมทางสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป หรือจากกฎเกณฑ์บางอย่างที่มาบีบรัดจนรู้สึกทดท้อ เหนื่อยหน่ายในชีวิต หลายคนให้ความสำคัญกับบทสนทนาในสื่อเทคโนโลยีมากกว่าการสื่อสารกันในชีวิตจริง จนเกิดอาการ “มโน” เกินตัวบท ตามมาด้วยการทะเลาะเบาะแว้งกันไม่สิ้นสุด หลายคนหลงไปกับมายาคติบางอย่างที่ถูกประกอบสร้างขึ้นมา จนมองไม่เห็น “สัจจะ” หรือความจริงแท้ที่นำพาให้ตนตาสว่าง หายมืดบอดจากอบายทั้งหลาย บ้างก็โดนแรงเหวี่ยงจากคำพูด การกระทำ การแสดงออกต่าง ๆ ของจากใครก็ไม่รู้ในโลกอินเทอร์เน็ต จนทำให้เกิดความรู้สึกแปลกแยก โดดเดี่ยว กลายเป็นคนมองโลกในแง่ร้าย แรงเหวี่ยงจากบริบทต่าง ๆ เหล่านี้ส่งผลกระทบต่อสภาวะทางจิตด้วยกันทั้งสิ้น สิ่งที่พอจะทำได้ คือ อย่าไปอินกับกระแสสังคมหรือปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เข้ามามากนัก ลองหยุดพักสมอง ปล่อยวางเทคโนโลยี สนใจกับคนข้าง ๆ ที่รักเรา ห่วงใยเรา ยิ้มรับเมื่อถูกคุกคาม พาดพิงจากสื่อต่าง ๆ หรือลองมาอ่านบทความที่นำเสนอปัญหาต่าง ๆ พร้อมแนวทางการรับมือในวารสารฉบับนี้ ก็น่าจะช่วยผ่อนคลายความคับข้องได้บ้าง สำหรับข้าพเจ้าแล้ว อารมณ์ของมนุษย์ในยุคปัจจุบันดูจะเปราะบาง ส่ายไปส่ายมา ประดุจต้นอ้อที่ต้องลมแรงมากกว่าแต่ก่อน หลายครั้งที่เราสัมผัสได้ว่า บางคนเมื่อวานเป็นมิตรกับเรา วันนี้อาจเป็นศัตรูกับเรา เพราะขัดแย้งกันทางความคิด ในขณะเดียวกัน บางคนจากที่เคยเป็นศัตรูกับเรา อีกวันก็อาจเปลี่ยนมาเป็นมิตรที่ดีต่อกันก็ด้วยมีทัศนคติที่ตรงกันในด้านการเมือง เป็นต้น เช่นนี้แล้ว จึงไม่จำเป็นต้องไปยึดติดกับอะไรมากนัก แล้วเราจะดำเนินชีวิตด้วยความสุขสงบมากยิ่งขึ้น ขอส่งกำลังใจแด่ทุกคนที่กำลังท้อแท้ สิ้นหวัง ขอให้ผ่านพ้นสิ่งต่าง ๆ ไปได้ด้วยดี


 


ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พัชลินจ์ จีนนุ่น
บรรณาธิการประจำฉบับ

Article Details

How to Cite
Jeennoon, A. P. D. P. (2019). Editor. Parichart Journal, 32(2). Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/parichartjournal/article/view/228132
Section
Editorial