การสำรวจและวิเคราะห์คุณสมบัติดินที่เหมาะสมสำหรับการยกระดับผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผา บริเวณทะเลสาบสงขลา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการสำรวจแหล่งดินและวิเคราะห์หาคุณสมบัติทางกายภาพและทางเคมี เพื่อพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาที่สามารถกำหนดอัตลักษณ์เฉพาะถิ่นบริเวณทะเลสาบสงขลาตอนกลางและตอนล่าง สำหรับยกระดับผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาที่สามารถแข่งขันและสร้างรายได้ให้กับชุมชน มีวัตถุประสงค์ 1) การสำรวจและวิเคราะห์คุณสมบัติทางกายภาพและทางเคมีของดินที่เหมาะสมต่อการยกระดับผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผา และ 2) การกำหนดแหล่งดินที่มีศักยภาพในการทำเครื่องปั้นดินเผา สำรวจจุดตัวอย่าง 200 จุด ศึกษาคุณสมบัติทางกายภาพและทางเคมีของดิน โดยใช้เทคนิค Potential Surface Analysis ในการกำหนดศักยภาพเชิงพื้นที่ ผลการศึกษาพบว่า กระจายอยู่ในจังหวัดพัทลุง 49 จุด และจังหวัดสงขลา 151 จุด ค่าความเป็นกรด – ด่าง มีค่าอยู่ระหว่าง 3 - 8 ค่าเฉลี่ยประมาณ 5 อุณหภูมิของดิน 28๐ C ถึง 32๐ C ค่าเฉลี่ย 29.89๐ C สีดินที่พบมากที่สุดคือ สี 5Y (Yellow Red) 53 จุด รองลงมา สี 10 YR (Yellow Red) 45 จุด และสีที่พบน้อยที่สุดคือ สี 2.5YR (Yellow Red) 1 จุด ความชื้นของดินมีค่าเฉลี่ย 33.71 เปอร์เซ็นต์ ความหดตัวของดินมีค่าเฉลี่ย 10.034 มิลลิเมตร พื้นที่ศักยภาพต่ำพบ 133 จุด ในจังหวัดพัทลุง 38 จุด และจังหวัดสงขลา 95 จุด พื้นที่ศักยภาพปานกลางพบ 31 จุด พบในจังหวัดพัทลุง 3 จุด และจังหวัดสงขลา 28 จุด และพื้นที่ศักยภาพสูง 36 จุด ในจังหวัดพัทลุง 8 จุด และจังหวัดสงขลา 28 จุด
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Land Development Department and the Institute of the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST). (2012). Soil management and soil conservation handbook. Ministry of Agriculture and Cooperatives.
Sawatdichaikul, O. (2017). Pottery, ceramic and food. Food Journal 47(3). 14-19.
Land Development Department. (2007). Soil series database system. Retrieved May 12, 2021 from http://www.ldd.go.th/gisweb/soildata/main_soildata.html.
Centers for Disease Control and Prevention. (2018, August 22). Preventing HPV–associated cancers. https://www.cdc.gov/cancer/hpv/basic_info/prevention.htm
Asdecon Corporation Ltd. (1997). Soil mechanics foundation survey report of Vajiralongkorn – Tha Chin River waterway. Kasetsart University.
Land Development Regional office 12. (2004). The sage of land development. The Land Development Regional office 12, Land Development Department.
Land Development Department. (2021). World reference base for soil resources of Thailand. Soil Resources Survey and Research Division, Land Development Department.
Community Technology Bureau. (2012). Document for a workshop in the curriculum of “Testing and quality controlling local soil”. Community Technology Bureau, Department of Science Service (DSS), Ministry of Science and Technology.
Suppasityothin, O. (n.d.). Area potential analysis of Thung Ma Heaw for productivity efficiency using appropriate land use determination method.
Khunthon, S. (2003). Properties of clays used as raw materials in local pottery in North Eastern Thailand. Kasetsart University.
Bordeepong, S., Phansuke, P., & Sukolrat, A. (2019). Study of mineralogy, chemical composition and physical properties of clays from local pottery areas in Rongang Community, Pattani Province. Rachamangala Research Journal. 13(1), 17-29.