รูปแบบการสร้างเสริมทักษะชีวิตและวิชาชีพบนฐานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนสำหรับเยาวชน

Main Article Content

ต้องรัก จิตรบรรเทา
ทศพล พงษ์ต๊ะ
สุชาติ ลี้ตระกูล
ภูริพัฒน์ แก้วศรี

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของรูปแบบการสร้างเสริมทักษะชีวิตและวิชาชีพบนฐานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนสำหรับเยาวชน กลุ่มตัวอย่าง คือ เยาวชนอายุ 15 - 25 ปี คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 200 คน เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ หลักสูตรการสร้างเสริมทักษะชีวิตและวิชาชีพบนฐานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพจากผู้เชี่ยวชาญ 20 ท่าน และแบบวัดทักษะชีวิตและวิชาชีพสำหรับเยาวชน ซึ่งผ่านการตรวจสอบคุณภาพจากผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำทางเดียว และการเปรียบเทียบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธี Least Significant Differences (LSD) ผลการวิจัย พบว่า ค่าเฉลี่ยทักษะชีวิตและวิชาชีพก่อนการทดลองอยู่ในระดับน้อย (M = 2.00) หลังการทดลองอยู่ในระดับมาก (M = 4.06) และติดตามผลอยู่ในระดับมาก (M = 4.33) แสดงว่า รูปแบบการสร้างเสริมทักษะชีวิตและวิชาชีพมีผลให้เยาวชนมีทักษะชีวิตและวิชาชีพที่ดีขึ้น โดยทักษะชีวิตและวิชาชีพของเยาวชนระยะติดตามผลสูงกว่าหลังการทดลอง และหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

How to Cite
จิตรบรรเทา ต. ., พงษ์ต๊ะ ท. ., ลี้ตระกูล ส. ., & แก้วศรี ภ. . (2023). รูปแบบการสร้างเสริมทักษะชีวิตและวิชาชีพบนฐานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนสำหรับเยาวชน. วารสารปาริชาต, 36(3), 37–51. https://doi.org/10.55164/pactj.v36i3.262932
บท
บทความวิจัย

References

Kammanee, T. (2012). Pedagogical science: knowledge for effective learning process management, 6th edition. Bangkok: Chulalongkorn University Printing House.

BCC Thai. (2020). Corona virus: origin, symptoms, treatment and prevention of COVID-19. Retrieved from: https://www.bbc.com/thai/features-51734255.

Ministry of Foreign Affairs. (2017). Announcement of the Ministry of Foreign Affairs on Measures for Stakeholder Participation. Bangkok: Ministry of Foreign Affairs.

Office of Registration Administration. (2017). Number of populations in Chiang Rai province in 2017. Retrieved from: https://www.bora.dopa.go.th/snbt

Clark Carter, D. (2005). Catalogue of parametric tests. In Everitt, B. S. & Howell, D. C. (Eds.). Encyclopedia of Statistics in Behavioral Science Vol. 1(pp 207-227). Chichester: Wiley.

Kaemkate, W. (2012). Research methodology in behavioral sciences. Bangkok: Chulalongkorn University Printing House.

Stevens, P. (2002). Applied Multivariate Statistics for the Social Sciences. 4th edition. Mahwah, NJ: Lawrence Erlbaum Associates.

Srichaliaw, T., Jomhongbhibhat, B., & Gumjudpai, S. (2017). Life Skills Development for Prathomsuksa 4 - 6 Students Using Participatory Action Research. Journal of Graduate Studies Valaya Alongkron Rajabhat University, 11(2), 61-74.

Jinda, C. (2017). Holistically Integrative Research for Life Skill Development of High School Students. [Doctoral of Philosophy], Burapha University

Nokkeaw, P. (2019). Life and Career Skills in the 21st Century of Secondary 3 (grade 9) Students in Samut Prakan Province. [Master’s thesis], Rajamangala University of Technology Thanyaburi.

Bennis, W. G. (1966). Changing organization. New York: McGraw-Hill.

Corey, G. (2012). Theory and practice of counseling and psychotherapy. 4th edition. Belmont, CA: Brooks/Cole.