การศึกษาอุปสงค์ของผู้บริโภคต่อผักปลอดภัยในอำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยตัวกำหนดอุปสงค์ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผักปลอดภัยของกลุ่มเกษตรกรในอำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นวิจัยเชิงสำรวจ เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงใช้วิธีการสุ่มแบบกำหนดตัวอย่าง การวิเคราะห์ใช้สถิติพรรณนาและถดถอยเชิงพหุ เครื่องมือคือแบบสอบถาม พบว่าระดับความคิดเห็นของปัจจัยที่ส่งผลต่ออุปสงค์การบริโภคผักปลอดภัย ได้แก่รายได้ ราคา รสนิยม ราคาของสินค้าอื่นที่เกี่ยวข้อง การคาดการณ์ด้านราคา ข้อมูลข่าวสาร นโยบายภาครัฐ อยู่ในระดับมาก การวิเคราะห์วิธี Stepwise พบว่าข้อมูลข่าวสาร การศึกษา รายได้ นโยบายภาครัฐ ราคาของสินค้าอื่นที่เกี่ยวข้อง อายุ ราคา มีอิทธิพลต่ออุปสงค์ต่อราคาผักปลอดภัย มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกัน สถานภาพสมรสมีความสัมพันธ์แปรผกผัน การวิเคราะห์อุปสงค์ต่อรายได้ ข้อมูลข่าวสาร รายได้ ราคา การคาดการณ์ด้านราคา รสนิยม มีอิทธิพลต่ออุปสงค์ต่อรายได้มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกัน ส่วนการวิเคราะห์อุปสงค์ต่อราคาสินค้าชนิดอื่น การคาดการณ์ นโยบายภาครัฐ การศึกษา รายได้ ข้อมูลข่าวสาร และอายุ มีอิทธิพลต่ออุปสงค์ต่อราคาสินค้าชนิดอื่นมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกัน อาชีพมีความสัมพันธ์แปรผกผันกับอุปสงค์ต่อรายได้และอุปสงค์ต่อราคาสินค้าชนิดอื่น ในการกำหนดนโยบายพัฒนาจังหวัดสามารถนำผลการวิเคราะห์ผู้บริโภคที่มีความสนใจต่อผักปลอดภัย ความต้องการตลาดผักปลอดภัย เพื่อส่งเสริมและให้ความรู้ความเข้าใจต่อเกษตรกรเพื่อให้ชุมชนในอำเภออื่น ๆ ได้มีโอกาสเพิ่มรายได้
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Kasetsart University Promotion and Training Office. n.d. Growing vegetables safe from toxins. http://eto.ku.ac.th/neweto/e-book/plant/herb_gar/save_veg.pdf.
National News Bureau of Thailand. (2018, July 19). Phetchabun Province Continuing to develop to be a model province for food safety quality system. https://thainews.prd.go.th/th/news/detail/TNSOC6107190010091.
Mingmaneenakin, W. (2016). Principles of microeconomics (20th ed.). Thammasat University Publisher.
Chintrakulchai, S., & Tangsangasaksri, S. (2019). Introduction to microeconomics. Thammasat University Publisher.
Pakotiprabha, S. (2005). Microeconomics. Kasetsart University Publisher.
Pongkitworasin, S. (2018). Introduction to microeconomics, analysis and application. Publishing House of Chulalongkorn University.
Rungruengphon, W. (2020). Textbook of marketing principles (10th ed.). Thammasat University Publisher.
Vanichbancha, K. (2021). Statistics for research (13th ed.). Publishing House of Chulalongkorn University.
Prasith-rathsint, S. (2003). Research methodology for social science (12th ed.). Samlada.
Jinsorn, V. (2011). Factor affecting purchase decision toward non -toxic vegetables of consumers in Bangkok. Faculty of Business Administration. Rajamangala University of Technology Thanyaburi.
Thai Health Promotion Foundation. (2020, February 4). Research report on Consumption behavior and willingness to pay for safe fruits and vegetables of Thai people. https://dol.thaihealth.or.th/Media/Index/0c409251-4446-ea11-80e8-00155d09b41f.
Roongsang, A. (2012). Factors influencing consumer’ purchasing behavior on organic vegetables in Bangkok Metropolis. Independent Study Master of Business Administration (maketing Management). Graduate School of Srinakahrinwirot University.
Koseeyarat, N. (2010). The study of organic vegetable consumption demand of health shop consumer, Siriraj Bangkok Noi, Bangkok. Program of Public and Private Management Graduate School. Silpakorn University.