การสอนและการเรียนรู้ธรรมชาติ ของวิทยาศาสตร์: กรณีศึกษา โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง
Main Article Content
Abstract
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการสอนธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ของครู วิทยาศาสตร์ และศึกษามุมมองธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ของครูและนักเรียน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง โดยใช้รูปแบบการวิจัยเป็นกรณีศึกษา ศึกษาครูวิทยาศาสตร์ จำนวน 2 คน และนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 2 ห้องเรียน (n=98) เป็นระยะเวลา 6 เดือน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้การสังเกตการสอนอย่าง มีส่วนร่วม การสัมภาษณ์ครูและนักเรียน และแบบ วัดมุมมองธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ของนักเรียน (VNOS-C) พัฒนาโดย Lederman และคณะโดยมี การตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาและเชิงอุปนัย ซึ่งผลการวิจัยพบว่า ครูวิทยาศาสตร์ทั้ง 2 คน ส่วนใหญ่มีการสอนวิชาวิทยาศาสตร์แบบบรรยาย เน้นการสอนเนื้อหา และ การเรียนเพื่อสอบแข่งขันเป็นสำคัญ ซึ่งมีครู 1 คน ที่สอนด้วยการสาธิตการทดลองในเนื้อหาที่สามารถ ทำการทดลองได้ บ้าง 4 ครั้ง และไม่มีการสอดแทรกธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ ในส่วนของมุมมอง ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ พบว่า ครูมีมุมมองที่สอดคล้องสมบูรณ์ (IV) ในบางประเด็นและ ในนักเรียนส่วนใหญ่มีมุมมองที่ไม่สอดคล้อง (NV) ในบางประเด็น
Teaching and Learning the Nature of Science: A Case Study of a Demonstration School.
The aims of this research are to study teachers’ understanding and practice of teaching nature of science and to investigate the ninth grade students’ views of nature of science (NOS) after formal instruction at a demonstration school in Bangkok. This project is a qualitative study and employs case study as a research design which took six months in the field. The participants included two science teachers and two classes of grade 9 students (n=98). The data gathering techniques/tools include participant observations, interviewing teachers and students and probing students’ view of nature of science by View of Nature of Science (Form C) developed by Lederman et al. Data was analyzed by content and inductive analysis. The results indicate that both science teachers generally employed lecturing in their teaching. The lessons were influenced by national test and university examination. One teacher occasionally used a demonstration. They notably put emphasis on the content rather than nature of science. In regard to the view of nature of science, the teachers held Informed Views some aspects of nature of science and most of the students held Naïve Views of nature of science some aspects.