ปัจจัยที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในกลุ่มวิชาทางเศรษฐศาสตร์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
Main Article Content
Abstract
Factor effecting learning achievement in economic subjects of bachelor students from Rajamangala University of Technology Rattanakosin
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อทำการศึกษาสภาพโดยทั่วไปต่อการจัดการเรียนการสอนใน รายวิชาเศรษฐศาสตร์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ และ ศึกษาหาปัจจัยที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในกลุ่มวิชาทางเศรษฐศาสตร์ของนักศึกษาระดับ ปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data) จากนักศึกษาคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชมงคล รัตนโกสินทร์ในพื้นที่ศาลายา พื้นที่บพิตรพิมุขฯ และวิทยาเขตวังไกลกังวล ที่ผ่านการศึกษาในรายวิชาเศรษฐศาสตร์จุลภาค เศรษฐศาสตร์มหภาค เศรษฐศาสตร์วิเคราะห์ จำนวน 379 ราย โดยผลการวิจัย พบว่า ชั้นปี สาขาวิชา มีความสัมพันธ์กับผล การเรียนในกลุ่มวิชาเศรษฐศาสตร์ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.01 โดยนักศึกษาที่ผ่านการเรียน เศรษฐศาสตร์จุลภาค และกลุ่มวิชาวิเคราะห์มาแล้วจะมีผลการเรียนอยู่ในกลุ่มเกรด A สูงกว่านักศึกษาประจำปี 2555 ที่ยังไม่ผ่านการเรียนในวิชาดังกล่าว และจะมีผลการเรียนในกลุ่มวิชาเศรษฐศาสตร์แตกต่างกันอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญ 0.01 ขณะที่ลำดับความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระด้านปัจจัย ส่วนบุคคลกับผลการเรียนในกลุ่มวิชาเศรษฐศาสตร์นั้น พบว่าชั้นปีกับการเรียนในกลุ่มวิชาเศรษฐศาสตร์ จุลภาคมีความสัมพันธ์กับผลการเรียนในกลุ่มวิชาเศรษฐศาสตร์มากที่สุดด้วยขนาด 0.21 (คราเมอร์วี เท่ากับ 0.21) รองลงมาคือ สาขาวิชามีความสัมพันธ์ขนาด 0.19 (คราเมอร์วี = 0.19) การทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านจิตวิทยากับผลการเรียนที่ได้จากการศึกษาในกลุ่ม วิชาเศรษฐศาสตร์ พบว่าแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์มีความสัมพันธ์ทางบวกกับผลการเรียนที่ได้จาก การศึกษาในกลุ่มวิชาเศรษฐศาสตร์ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05