ผลงานสร้างสรรค์ประติมากรรมชุด ผิดที่ผิดทาง

Main Article Content

พัทรา ผดุงสุนทรารักษ์

Abstract

วัฒนธรรมชาวสยามตั้งแต่อดีตกาลผูกพันอยู่กับสายน้ำ ในวรรณกรรมชั้นสูงและพื้นบ้าน มักพบเห็นนการแสดงออกเกี่ยวกับน้ำ สัญลักษณ์ทางน้ำ หลักฐานที่ชัดเจนคือการใช้ “งู” หรือ “นาค” เป็นสัญลักษณ์แทนน้ำ การสร้างบ้านยกพื้นสูงเพื่อระบายความชื้น รู้จักปรับตัวให้กลมกลืนกับ ธรรมชาติแวดล้อม แต่ผลพวงจากการพัฒนาให้ทันสมัยด้วยกระแสบริโภคนิยมที่ไร้ขอบเขต ได้ทำลายระบบนิเวศจนเสียความสมดุล เกิดภาวะเรือนกระจกที่ส่งผลกระทบต่อดินฟ้าอากาศทั่วโลก ฤดูกาลที่เคยหมุนเวียนตามวงจรธรรมชาติกลับไม่อาจคาดหมายได้ในปัจจุบัน การบริหารประเทศ ด้วยการรวมความเจริญทุกๆ ด้านไว้ในเมืองหลวงเพียงแห่งเดียว เป็นการพัฒนาที่มีความเสี่ยงสูง โดยเฉพาะเมื่อเกิดภัยพิบัติ แม้ว่าข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับภัยพิบัติเป็นที่รับรู้กันโดยทั่วไป แต่ผู้บริหาร ประเทศไม่ตระหนักในการเตรียมเผชิญปัญหาและเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบที่เกิดในวงกว้าง ไม่มี แผนแก้ปัญหาในระยะยาว เกิดความเหลื่อมล้ำที่ขาดหลักธรรมาภิบาล และประเมินสถานการณ์ที่ คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงต่อการเผชิญกับภัยพิบัติที่นับวันจะทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ความไม่เตรียมพร้อมเหล่านี้จึงเป็นความ “ผิดที่ผิดทาง” และการใช้เทคโนโลยีไม่สอดคล้องกับปัญหา การพัฒนาเมืองหลวงอย่างไร้ทิศทางมีแนวโน้มจะเป็นแบบอย่างที่ผิดพลาดให้กับเมืองอื่นๆ การศึกษา ต้นเหตุแห่งปัญหาให้รอบด้านและการพัฒนาแบบมีส่วนร่วมน่าจะเป็นหนทางที่ทุกๆ ฝ่ายนำมา ปฏิบัติร่วมกัน

 

Sculpture Creation in Misplace

In the past, people learned to live in harmony with the environment, local people used the wisdom accumulated by their ancestors to manage natural resources as can be seen in terms of their daily activities, such as work and festivals. Unfortunately, the developing world has changed today’s people to puts strong pressure on building new industrial, commercial, residential and transport infrastructure. A long-held confidence in technology has lulled us into thinking we are immune to the natural disasters. But the Great Flood of 2011 has clearly shown that technology has failed us. Our faith in big bags, levees, and channelization works was misplaced. Accordingly, we have to ask if we truly know how to handle technology and decide what it has done to enhance your life or detract from it. People should address the need that strengthens compliance and enforcement for good governance that leads to sustainable development.

Article Details

How to Cite
ผดุงสุนทรารักษ์ พ. (2015). ผลงานสร้างสรรค์ประติมากรรมชุด ผิดที่ผิดทาง. Parichart Journal, 25(3), 147–155. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/parichartjournal/article/view/42931
Section
Academic Article