การส่งเงินกลับบ้าน : แรงงานไทยเชื้อสายมลายู ในประเทศมาเลเซีย

Main Article Content

สุทธิพร บุญมา

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการส่งเงินกลับบ้านของ แรงงานไทยเชื้อสายมลายูที่ทำงานในประเทศมาเลเซียให้กับครอบครัวใน จังหวัดชายแดนภาคใต้ และศึกษาการจัดการเงินกลับบ้านของครอบครัว แรงงานไทยเชื้อสายมลายูในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย โดยใช้วิธี การวิจัยเชิงพรรณนาซึ่งเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งเชิงคุณภาพจากการสัมภาษณ์ และข้อมูลเชิงปริมาณจากการสำรวจ ผลการศึกษา พบว่า ส่วนใหญ่แรงงาน ไทยเชื้อสายมลายูที่ทำงานในประเทศมาเลเซียทำการส่งเงินกลับบ้านให้ ครอบครัวในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเฉพาะแรงงานที่มีสถานภาพสมรส แล้ว จำนวนเงินที่ส่งเงินกลับบ้านของแรงงานให้ครอบครัวในจังหวัดชายแดน ภาคใต้เฉลี่ย ปีละ 69,478.26 บาทต่อปี หรือคิดเป็นร้อยละ 35.94 ของราย ได้แรงงานจากการทำงานในประเทศมาเลเซีย โดยใช้วิธีการส่งเงินกลับบ้าน อย่างไม่เป็นทางการผ่านเครือข่ายของพวกเขา ครอบครัวของแรงงานนำเงิน ส่งกลับบ้านไปใช้ในการบริโภคในชีวิตประจำวัน และการบริโภคเพื่อการพัฒนา ทุนมนุษย์ มีเพียงเล็กน้อยที่นำเงินไปใช้เพื่อการลงทุนเพื่อการผลิต นอกจาก การส่งเงินกลับบ้านให้ครอบครัวในจังหวัดชายแดนภาคใต้แล้ว แรงงานยังมี การเก็บเงินออมเป็นของตัวเอง โดยการเปิดบัญชีเงินฝากของตนเองใน ประเทศไทย ผลการศึกษานี้สามารถนำมาใช้พัฒนานโยบายในการสนับสนุน การย้ายถิ่นกับการพัฒนาของจังหวัดชายแดนภาคใต้ผ่านการส่งเงินกลับบ้าน และการใช้เงินส่งกลับบ้านของครอบครัวแรงงานในการพัฒนาจังหวัดชายแดน ภาคใต้ต่อไป

 

Remittances : Malay-Thai Workers in Malaysia

The purposes of the project are to study the remittance behaviors of Malay-Thai migrant workers in Malaysia to their families in the border provinces of southern Thailand and management of remittances among Malay-Thai migrant workers’ families in the border provinces of southern Thailand. This study is designed to include a qualitative study with in-depth interviews and a quantitative study in the survey among migrant workers and their families. The results of the study show that most of Malay-Thai migrant workers in Malaysia had sent home in remittances, in particular categories of married migrant workers. Remittance’s average is about 69,478.26 baht per year or 35.94 percent of their income per year. Most migrant workers sent money home through informal channels with their networks. The remittances are spent for consumption investment in everyday life and activities of human capital investment, some of them are used for productive investment. However, some migrant workers had accumulated saving bank accounts in Thailand. Recommendation for the government and developing agencies is to provide issues relating to Malay-Thai migrant workers, such as remittance-transfer options and promoting the links between migration and development through the benefit of remittance among worker’s family in the border provinces of southern Thailand

Article Details

How to Cite
บุญมา ส. (2015). การส่งเงินกลับบ้าน : แรงงานไทยเชื้อสายมลายู ในประเทศมาเลเซีย. Parichart Journal, 26(1), 74–93. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/parichartjournal/article/view/42944
Section
Academic Article