นโยบายการปฏิบัติต่อคนต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองชาวเกาหลีเหนือ

Main Article Content

บญญาภา นกกริ่ม
ศิรภัสสรศ์ วงศ์ทองดี
วิเชียรโชติ สุกโชติรัตน์
กฤษฎิ์ศักดิ์ วิชชารยะ

Abstract

การศึกษาวิจัย เรื่อง “นโยบายการปฏิบัติต่อคนต่างด้าวหลบหนีเข้า เมืองชาวเกาหลีเหนือ” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยผลักและปัจจัยดึงที่ ทำให้ชาวเกาหลีเหนือหลบหนีออกจากประเทศ ศึกษาขบวนการหลบหนีเข้า เมืองของชาวเกาหลีเหนือในการเดินทางจากเกาหลีเหนือผ่านจีนมายังไทยและ ผลกระทบที่ไทยได้รับ ศึกษาปัจจัยความพร้อมของภาครัฐในการแก้ไขปัญหา คนต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง ตลอดจนปัญหา อุปสรรค ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ในการแก้ไขปัญหาคนต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองชาวเกาหลีเหนือของรัฐเพื่อ นำไปกำหนดนโยบายที่เหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์ โดยใช้การ สัมภาษณ์เชิงลึก (Indepth Interview) กับผู้ให้ข้อมลู สำคัญ (Key Informants) และการสำรวจด้วยแบบสอบถาม (Questionnaire) กับกลุ่มตัวอย่างที่เป็น ข้าราชการตำรวจที่ปฏิบัติตามนโยบายของรัฐในพื้นที่จังหวัดเชียงราย รวมจำนวนทั้งสิ้น 375 ราย โดยผลการศึกษาและอภิปรายผลในการศึกษาวิจัย ครั้งนี้ได้นำเสนอเป็น 3 ประเด็น พบว่า

ด้านปัจจัยผลักและปัจจัยดึง โดยปัจจัยผลักที่ทำให้ชาวเกาหลีเหนือ หลบหนีออกจากประเทศ คือสภาพสังคมที่เกิดจากปัญหาความอดอยาก สภาพ ปัญหาเศรษฐกิจที่ตกต่ำ สภาพสิ่งแวดล้อมและภูมิศาสตร์ที่พื้นที่ส่วนใหญ่เป็น ภูเขาไม่สามารถทำการเกษตรผลิตอาหารให้เพียงพอกับความต้องการภายใน ประเทศ ต้องการหนีระบอบการปกครองแบบคอมมิวนิสต์ที่ผู้นำใช้อำนาจ เบ็ดเสร็จ และสุดท้ายทำให้เกิดละเมิดสิทธิมนุษยชน สิ่งเหล่านี้เป็นแรงบีบให้ ชาวเกาหลีเหนือจำนวนมากพยายามหาทางหลบหนีออกนอกประเทศมาเป็น ระยะเพื่อต้องการแสวงหาชีวิตใหม่ยังประเทศเกาหลีใต้หรือประเทศที่สาม ส่วน ปัจจัยดึงคือ รัฐบาลเกาหลีใต้มีนโยบายการปรองดองและสหรัฐอเมริกา มีนโยบายอ้าแขนรับชาวเกาหลีเหนือที่ลี้ภัยโดยถือว่าชาวเกาหลีทั้งหมดเป็น พี่น้องกัน แต่สิ่งที่น่าสนใจกว่านั้นคือ ประเทศไทยเป็นเป้าหมายการเดินทาง เข้ามาเพื่อขอลี้ภัย เพราะจังหวัดเชียงรายมีภูมิประเทศที่มีพรมแดนติดต่อกับ เพอื่ นบ้านระยะทางยาวทำ ให้เป็นจุดอ่อนที่ผู้หลบหนีเข้าเมืองใช้เป็นช่องทางหลบหนี เข้าประเทศไทยอีกเป็นจำนวนมากและโดยปกติคนไทยจะมีนิสัยโอบอ้อมอารี และสงสารคน ถ้าเห็นชาวเกาหลีเหนือเดินทางมาลำบากก็จะให้ความช่วยเหลือด้านขบวนการหลบหนีเข้าเมืองนั้นโดยหลังเดินทางเข้าประเทศจีนก็จะติดต่อนายหน้าชาวจีน ให้ช่วยพาเดินผ่านประเทศจีนเพื่อเดินทางมายงั ประเทศไทย ส่วนผู้ที่ ไม่มีเงินหลังเดินทางหลบ หนีเข้าประเทศจีนแล้ว จะหางานทำเพื่อเก็บเงินหรือแต่งงานกับชาวจีนเพื่อทำงานเก็บเงินเป็น ค่าใช้จ่ายในการเดินทางหรือเป็นค่า นายหน้าในการเดินทางตามแต่ที่ตกลงกันประมาณ 150,000 – 300,000 บาท ทำให้เกิดผลกระทบด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและด้าน ภาระงบประมาณและการดูแลในระหว่างรอส่งไปประเทศที่สาม ส่วนด้านปัจจัยความพร้อม ของภาครัฐในการแก้ไขปัญหาคนต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง และมาตรการการจัดการคนต่างด้าว หลบหนีเข้าเมืองชาวเกาหลีเหนือไม่บรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ พบว่า ในภาพรวมอยู่ใน ระดับน้อยและระดับของปัญหาอยู่ในระดับมาก โดยกลุ่มตัวอย่างเห็นด้วยมากที่สุดที่จะให้ รัฐบาลไทยใช้นโยบายในการสกัดกั้น/ป้องกันคนต่างด้าวจากประเทศเกาหลีเหนือในการหลบ หนีเข้าเมือง เพราะพบว่าปัจจัยความพร้อมของภาครัฐมีความสัมพันธ์กับนโยบายของรัฐบาล ไทยในการสกัดกั้น/ป้องกันคนต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองไปปฏิบัติให้สำเร็จ อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ 0.05 กล่าวคือ ถ้าปัจจัยความพร้อมในด้านนโยบายของรัฐ ด้านข้าราชการ ผู้ปฏิบัติงาน ด้านหน่วยงาน และด้านทรัพยากรองค์การมีมากขึ้นจะทำให้ปริมาณของรัฐบาล ไทยในการสกัดกั้น/ป้องกันคนต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองเพิ่มขึ้นตามไปด้วย

มีข้อค้นพบจากการศึกษาวิจัยที่น่าสนใจหลายประการ คือ (1) การอพยพของ ชาวเกาหลีเหนือเมื่อหลบหนีออกมาได้แล้วจะไปตั้งถิ่นฐานในประเทศปลายทางอย่างถาวร ไม่มีการย้อนกลับไปประเทศตนอีก ซึ่งแตกต่างจากการอพยพของชาวพม่า ลาวและกัมพูชา ส่วนใหญ่เมื่อถึงระยะเวลาหนึ่งก็จะเดินทางกลับประเทศตนเอง (2) การหลบหนีเข้าเมืองของ ชาวเกาหลีเหนือจะเกิดวงจรเหล่านี้ตลอดไปวงจรเหล่านี้จะเกิดขึ้นไม่ได้ถ้าไม่มีคนให้ความร่วม มือ และมีการเกี่ยวข้องกับขบวนการค้ามนุษย์และเรื่องของผลประโยชน์คนที่จะทำเรื่องอย่าง นี้ต้องเป็นคนที่มีอำนาจระดับประเทศ หรือเป็นประเทศที่มีอำนาจมาก (Power of Big Country) ซึ่งสอดคล้องกับผลการวิจัยของ ดรัสวัต เลอวงศ์รัตน์ พบว่าการหลบหนีเข้าเมือง อาจมีเครือข่ายโยงใยกับผู้ย้ายถิ่นเก่านายจ้างทั้งในถิ่นต้นทางและปลายทางเพราะการมีเครือข่าย จะช่วยให้มีการลดต้นทุนการย้ายถิ่นสำหรับการเดินทางอันประกอบด้วยค่าเดินทาง ค่านายหน้า และเงินค่าหัวที่ผู้ย้ายถิ่นหลบหนีเข้าเมืองจะต้องจ่ายให้แก่ผู้จัดการและผู้อำนวยความสะดวก ในการเดินทาง (3) ขบวนการส่งเงินให้ความช่วยเหลือชาวเกาหลีเหนือเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายใน การเดินทางหลบหนีออกจากประเทศ ถือว่าเป็นเรื่องการเมืองระหว่างประเทศ (4) ทฤษฎีการ ย้ายถิ่นของพม่า ลาวและกัมพูชาจะนำมาใช้กับการย้ายถิ่นของชาวเกาหลีเหนือไม่ได้เพราะ เป็นคนละความคิด ถ้ารัฐจะแก้ไขปัญหาการหลบหนีเข้าเมืองของชาวเกาหลีเหนือต้องคิด นโยบายที่แตกต่างจากการหลบหนีเข้าเมืองของชาวพม่า ลาว และกัมพูชา และ (5) ประเทศไทยไม่มีนโยบายที่ชัดเจน และการจัดการขั้นเด็ดขาด จนเกิดปัญหาในการทำงาน คือ ขาดแคลนล่ามแปลภาษา เสียเวลาในการดำเนินคดี และเสียค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดี โดยเปล่าประโยชน์ ซึ่งการแก้ไขปัญหาเบ็ดเสร็จทำได้ยาก เพราะต้นเหตุของปัญหาอยู่ที่เกาหลีเหนือเป็นสำคัญดังนั้นสำหรับผู้ที่จะทำ การศึกษาวิจัยครั้งต่อไปควรศึกษาเปรียบเทียบ นโยบายรัฐ และมาตรการที่ใช้จัดการกับปัญหาการหลบหนีเข้าเมืองของชาวเกาหลีเหนือ กับ นโยบายรัฐและมาตรการที่ใช้จัดการกับการหลบหนีเข้าเมืองของชาวพม่า ลาว และกัมพูชา และศึกษาความแตกต่างของการหลบหนีเข้าเมืองของชาว พม่า ลาว กัมพูชา กับการหลบหนี เข้าเมืองของชาวเกาหลีเหนือ

 

The Policy on North Korean Immigrants Smuggling.

The study “The Policy on North Korean Immigrants Smuggling” aims to study push and pull factors contributing to the emigration of North Koreans from their home country and the movement of these illegal immigrants which travels from North Korea to Thailand via China. It will also assess the impact of the said problem on Thailand by focusing on the preparedness factors of the government in solving this problem together with any obstacles encountered. The study will present policy recommendations which help define appropriate policies and respond to the real situation. Methodologically, this study relies on in-depth interview with key informants and questionnaire with the sample group of 270 police officers who implement the government policy in Chiang-rai Province. Findings and discussion of this research can be concluded into 3 main points.

For push and pull factors, the research finds that the push factors resulting in the emigration of North Koreans from the country are poor social conditions – famine, economic, recession, and geographical terrain of the country, which is mostly mountainous, resulting in insufficient food production to meet domestic need. Some also desire to escape from the Communist regime with dictatorship and frequent occurrence of human rights violation. These factors have pressured a number of North Korean nationals to exit the country and seek new life in South Korea or a third country. Regarding pull factors, these are solidarity policy of South Korea and the policy of the United States to welcome North Korean asylum seekers based on the principle of all Korean brotherhoods. However, more interestingly, Thailand has been the destination for these asylum seekers because Chiang-rai has its long geographical borders connecting with neighbouring countries. This is the weak point of which many illegal immigrants take advantage to enter Thailand. The trait of Thai people also plays a role as Thais are most of the time generous and cares about others. If Thais witness harsh conditions of North Korean immigrants, they will provide care for them. For the movement of these illegal immigrants, after they arrive in China, they will contact brokers who will assist them travel from China to Thailand. For those who lack sufficient fund after arriving in China, they will work to save money or get married with Chinese nationals in order to generate savings for the journey or broker fee which is estimated between 150,000 – 300,000 baht. The travel of these illegal immigrants undeniably affects international relations and causes financial burdens for taking care of the immigrants while waiting to be sent to the third countries. With regard to the state of preparedness of government to manage North Korean illegal immigrants, it is found that this has not met the objective. It can be said that overall the state of preparedness is low while the seriousness of problem is high. The sample group mostly agrees that the Thai Government implement policy to intercept and prevent illegal entry of North Korean nationals. It is also found that the state of preparedness of the government correlates with the success of Thai Government’s policy to intercept and prevent illegal immigration at 0.05 significance. In other words, if the preparedness factors of the government in terms of personnel, implementing agencies and agencies’ resources increases, the capability of the Thai government in preventing foreign illegal immigrants will also increase.

Finding Discussion There are a number of interesting research findings as follows: (1) When North Koreans were able to leave the country and permanently settle in their final-destination countries, they will not return to their home country. (2) The illegal immigration of North Koreans will continue to occur as a cycle. This cycle can not happen without people who give help and the involvement of human-trafficking groups with interest. It is possible that those in this cycle must be powerful individuals in countries or even powerful countries themselves. This supports research findings of darutwat louewongrat which found that illegal migration may be linked to the network of former illegal immigrants and employers from both the country of origin and of final destination. This is because the network will help cut cost of migration including travel, broker fee, and other fee which illegal immigrants must pay to their travel facilitators. (3) For the groups that send money to support the movement of North Koreans, this act has certain involvement with international politics. (4) The underlying concept for the exodus of Myanmar, Laotian and Cambodian nationals cannot be applied to the case of North Korean migration as they are based on a totally different concept. If the state wishes to solve this problem, it must come up with a policy which is different from the case of Myanmar, Laotian and Cambodian immigrants. (5) Thailand lacks clear policies and decisive measures which result in working difficulties such as the lack of interpreters, time waste during the legal processes, and expense for legal processes. It is difficult to see a complete solution to this problem as the root cause of the problem lies on North Korea, the country of origin. Therefore, for those who are interested in further research, it is recommended to engage in a comparative study on state policy and measures to deal with the illegal immigration of North Koreans and Myanmar, Laotian and Cambodian nationals. It is also possible to compare the nature and pattern of these two groups’ illegal immigration.

Article Details

How to Cite
นกกริ่ม บ., วงศ์ทองดี ศ., สุกโชติรัตน์ ว., & วิชชารยะ ก. (2015). นโยบายการปฏิบัติต่อคนต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองชาวเกาหลีเหนือ. Parichart Journal, 26(1), 94–109. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/parichartjournal/article/view/42946
Section
Academic Article