ศึกษาความพึงพอใจของนิสิตที่มีต่อการเรียนการสอนรายวิชา ทักษะดนตรีในระดับปริญญาตรี สาขาวิชาดุริยางคศาสตร์ (สากล) มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตสงขลา
Main Article Content
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนิสิต ที่มีต่อการเรียนการสอนรายวิชาทักษะดนตรี สาขาวิชาดุริยางคศาสตร์(สากล) มหาวิทยาลัยทักษิณ ชั้นปีที่ 1 - ชั้นปีที่ 4 ที่ลงทะเบียนเรียนและตอบ แบบสอบถาม จำนวน 144 คน จากประชากรที่ใช้ในการศึกษา จำนวน 166 คน คิดเป็น ร้อยละ 86.75 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ใน การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ร้อยละค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ โดยผลการวิจัยพบว่า ความพึง พอใจของนิสิตที่มีต่อการเรียนการสอนรายวิชาทักษะดนตรีในภาพรวม มีระดับ ความพึงพอใจในระดับมาก ในรายด้านพบว่าด้านที่มีค่าเฉลี่ยระดับความพึง พอใจมากที่สุด คือ ด้านที่ 2 ด้านการจัดการเรียนการสอนของอาจารย์ รองลง มาคือ ด้านที่ 1 ด้านนิสิต และในรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยระดับความพึง พอใจมากที่สุด คือ ข้อที่ 2.10 ผู้สอนเปิดโอกาสให้ผู้เรียนซักถามและแสดง ความคิดเห็น รองลงมา คือ ข้อที่ 2.2 ผู้สอนเป็นแบบอย่างที่ดี และ ข้อที่ 2.3 ผู้สอนแจ้งวัตถุประสงค์และเนื้อหารายวิชาตามประมวลรายวิชาชัดเจน ส่วน ความพึงพอใจของนิสิตที่มีต่อการเรียนการสอนรายวิชาทักษะดนตรี ในระดับ ชั้นปีที่จำแนกตามกลุ่มเครื่องมือเอก พบว่าความพึงพอใจของนิสิต ในภาพรวม ที่มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด คือ กลุ่มเครื่องมือเอก กลุ่ม 1 Piano และกลุ่มเครื่องมือเอกที่มีความพึงพอใจของนิสิตในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ใน ระดับมาก ได้แก่ กลุ่มเครื่องมือเอก กลุ่ม 2 Classic Guitar กลุ่ม 3 Woodwind, กลุ่ม 4 Bass/Jazz, กลุ่ม 5 Electric Guitar, กลุ่ม 6 High Brass, กลุ่ม 7 Low Brass, กลุ่ม 8 Drum Set, กลุ่ม 9 Voice และ กลุ่ม 11 String
Study the Students’ Satisfactions of Studying Practicum in Bachelor’s Degree, Bachelor of Art (Western Music), Thaksin University
The purpose of this research is to study 144 (86.75%) from 166 students studying in musical practicum in international music faculty, year 1-4 in Thaksin University, Songkhla. The tools used in this research are questionnaire. The statistic used to analyze the data is percentage, frequency, average, standard deviation. Data analyzed by computer. The result of this research shows that the overall image of the students satisfaction in musical practicum is in high average. Considering in each section, the highest average is the 2nd section, the satisfaction in educating, and the next is the 1st section, Students Section. Considering in each point, the highest average is in the point 2.10, the professor gives the chance to be questioned, the next is the point 2.2, the professor is a role model, the next is the point 2.3, the professor informs the purpose of the practicum very clear. The result of comparison the students satisfaction in musical practicum in the education year which has major musical equipment classifying shows that the students who learn piano have highest average in satisfaction level, group 2 classical guitar, group 3 Woodwind, group 4 Bass/Jazz, group 5 Electric Guitar, group 6 High Brass, group 7 Low Brass, group 8 Drum Set, group 9 Voice and group 11 String are in high average satisfaction level.