ศึกษาความพึงพอใจของนิสิต ที่มีต่อการเรียนการสอน รายวิชาดนตรีเพื่อคุณภาพชีวิต สาขาวิชาดุริยางคศาสตร์ (สากล) มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตสงขลา
Main Article Content
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ศึกษาความพึงพอใจของนิสิตที่มีต่อการเรียน การสอนรายวิชาดนตรีเพื่อคุณภาพชีวิตสาขาวิชาดุริยางคศาสตร์ (สากล) มหาวิทยาลัยทักษิณวิทยาเขตสงขลา กลุ่มตัวอย่างคือนิสิต ที่เลือกเรียนรายวิชา ดนตรีเพื่อคุณภาพชีวิตในเครื่องมือเปียโน สาขาวิชาดุริยางคศาสตร์ (สากล) คณะศิลปกรรมศาสตร์ 146 คน โดยใช้แบบสอบถาม เป็นเครื่องมือในการเก็บ ข้อมูลและสถิติเพื่อใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการวิจัยพบว่านิสิตส่วนใหญ่ที่ เลือกเรียนเปียโนเป็นเพศหญิง และนิสิตที่เลือกเรียนส่วนใหญ่เป็นนิสิตชั้นปี ที่ 3 โดยจากการสำรวจระดับความพึงพอใจ พบว่าด้านนิสิต และด้านอาจารย์ ผู้สอนมีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือระดับความพึง พอใจในระดับมาก คือ ด้านการวัดประเมินผล ด้านหลักสูตร ด้านความพร้อม ของเครื่องมือ สื่อ อุปกรณ์การเรียนการสอน และด้านการจัดกิจกรรมการเรียน การสอน ซึ่งจากการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาดนตรีเพื่อคุณภาพชีวิตนั้น ควรมีการพัฒนา แก้ไข ปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการ เรียนการสอนให้มีคุณภาพ มีความพร้อมทุกๆ ด้าน และเพื่อให้สอดคล้องต่อ ความต้องการของนิสิต ซึ่งจะทำให้นิสิตสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ อย่างมีความสุข
The Study Satisfaction of Students towards Learning Course Music for Life Quality Enhancement. Master of Arts (Western Music),Thaksin University
Rattikal Komloboll
This research aimed to examine students’ satisfaction of learning Music for Life Quality Course, Bachelor of Arts Program in Western Music, Thaksin University, Songkhla Campus. A sample was a group of 146 students learning Music for Life Quality Course, majoring in the piano, Bachelor of Arts Program in Western Music, Faculty of Fine and Applied Arts. Questionnaires were used for data and statistics analysis.
It was found that most of the students learning the piano were female and studying in the third year. The satisfaction survey result showed that the satisfaction for the students and the instructors were very high as for the measurement, the curriculum, the instruction media and the learning management were high. The learning management in Music for Life Quality Course should be developed, modified and improved continually for effective learning and according to the students’ desire which they could adapt for their daily lives.