การสร้างหนังสือสารคดี เรื่อง เยือนถิ่นดินแดนตะโหมด เพื่อพัฒนาทักษะการอ่าน จับใจความของนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 5

Main Article Content

ประภาพร ปล้องอ่อน
พรพันธุ์ เขมคุณาศัย์
มาโนช ดินลานสกูล
สุธาสินี บุญญาพิทักษ์

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพหนังสือ สารคดี เรื่อง เยือนถิ่นดินแดนตะโหมด ตามเกณฑ์ 80/80 และ 2. เปรียบเทียบ ทักษะการอ่านจับใจความก่อนและหลังเรียน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านพรุนายขาว อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง ปีการศึกษา 2555 จำนวน 25 คน โดยวิธีสุ่ม แบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ หนังสือสารคดี แบบประเมินหนังสือสารคดี แผนการจัดการเรียนรู้แบบ ร่วมมือเทคนิค ซี ไอ อาร์ ซี และแบบทดสอบวัดทักษะการอ่านจับใจความ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การหาประสิทธิภาพ (E1 / E2) และสถิติทดสอบแบบที (t - test) ผลการวิจัย พบว่า หนังสือสารคดี เรื่อง เยือนถิ่นดินแดนตะโหมด มีประสิทธิภาพ 82.12/82.50 และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีทักษะการอ่านจับใจความ หลังเรียนด้วยหนังสือสารคดี เรื่อง เยือนถิ่นดินแดนตะโหมด สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

 

Construction of Documentary Book Entitled Visiting “ Tamod Area” for Development of Reading Comprehension Skill of Students in Prathomsueksa 5

Prapaporn Plong-on, Phornphan Khemakhunasai, Manoch Dinlansagoon and Suthasinee Boonyaphithak

The objectives of this research were to construct and determine the efficiency of a documentary book entitled visiting ‘Tamode Area’ based on the 80/80 standard criterion and to compare the students’ academic achievement before and after. The sample for the study consisted of 25 Prathomsueksa 5 students drawn according to the group sampling technique. The instrument used in the study included the constructed documentary, Cooperative Integrated Reading Comprehension (CIRC) learning management plans, a multiple-choice achievement for reading comprehension skill. The data were analyzed by such statistics as percentage, arithmetic means, standard deviations (S.D.) , E1 and E2 determination of the efficiency of the instruments and the comparison of differences by means of t-dependent test.

The findings of the study reveal that the constructed documentary book efficiency of 82.12/82.50, which is higher than the 80/80 set criterion, and after having been taught by the constructed documentary book the students show a significantly higher score than before being taught with the book at the 0.01 level.

Article Details

How to Cite
ปล้องอ่อน ป., เขมคุณาศัย์ พ., ดินลานสกูล ม., & บุญญาพิทักษ์ ส. (2015). การสร้างหนังสือสารคดี เรื่อง เยือนถิ่นดินแดนตะโหมด เพื่อพัฒนาทักษะการอ่าน จับใจความของนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 5. Parichart Journal, 26(3), 52–61. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/parichartjournal/article/view/42993
Section
Academic Article