ความรุนแรง ในครอบครัวมุสลิม ต.สะเตง อ.เมือง จ.ยะลา : ศึกษาสาเหตุและวิธีการแก้ไข

Main Article Content

อาหะมะกอซี กาซอ
บะห์รุดดีน บินยูโซ๊ะ
สะมะแอ บือราเฮง

Abstract

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาความรุนแรงใน ครอบครัวมุสลิม สาเหตุปัญหาความรุนแรงในครอบครัวมุสลิม และแนวทาง ในการแก้ปัญหาความรุนแรง เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยได้รวบรวมข้อมูล จากเอกสารที่เกี่ยวข้องและจากการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 30 คน ประกอบด้วยประธานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดยะลา ผู้นำศาสนา ผู้นำชุมชน หัวหน้าบ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัดยะลา และผู้ถูกกระทำ ความรุนแรงในครอบครัว ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลได้ดำเนินแบบอุปนัย และ นำเสนอผลการวิเคราะห์ในรูปแบบรายงานเชิงพรรณนา จากการวิจัยพบว่า สภาพความรุนแรงในครอบครัวมุสลิมในพื้นที่ ตำบล สะเตง อำเภอ เมือง จังหวัด ยะลา เกิดการทะเลาะวิวาทกันระหว่างสามีกับภรรยาบ่อยครั้ง ส่วน สาเหตุของความรุนแรง พบว่า สามีไม่ให้ค่าเลี้ยงดูแก่ภรรยา สามีติดยาเสพติด การหึงหวง สามีได้แต่งงานกับภรรยาคนที่สอง และสามีใช้อำนาจ หยิ่งยโสใน ตำแหน่ง ส่วนลักษณะความรุนแรงในครอบครัว พบว่า มีการตบตี เตะต่อย กักขังภรรยาไว้ในห้อง และจุดไฟเผาตามร่างกาย ส่วนแนวทางในการแก้ไข ปัญหา พบว่า นักสังคมสงเคราะห์เป็นผู้ดูแลบำบัดฟื้นฟูในด้านจิตใจ อิหม่าม และประธานชุมชนจะเป็นผู้ที่ไกล่เกลี่ยให้กลับคืนดีระหว่างสามีและภรรยา

 

The Violence of Muslim Family In T. Sating, A. Muang Yala A Case Study : Causes And Solution

Ahamakosee kasor, Bahruddin Binyusoh, and Samaae Burahing

The objectives of the research are to study the state overall of violence in Muslim families, to study causes and problem of violence, and to study solution approach of violence. The data analyses are collected from interviews to analysis researcher used inductive analysis and present the result of data analysis in descriptive form of 30 respondents from interviews of President of Yala Islamic Committee, religion leaders, community leaders, the leader of Yala Children House and Family,victims of family violence. The research found that: the state overall of violence in Muslim families in T. Sateng, A. Muang, Yala Province because of contention between husbands and wives therefore the husbands did not care for family, and husbands involvement because of drugs, the jealousy together, the husbands had extra married, and to use over power on their wife and pride, The overall figure of violence are beating, slapping, kicking, room detention and body burning. The solving the problem of violence is psychological rehabilitation by psychologist, Imam and community leader is mediation to reconcile between husband and wife.

Article Details

How to Cite
กาซอ อ., บินยูโซ๊ะ บ., & บือราเฮง ส. (2015). ความรุนแรง ในครอบครัวมุสลิม ต.สะเตง อ.เมือง จ.ยะลา : ศึกษาสาเหตุและวิธีการแก้ไข. Parichart Journal, 26(3), 130–143. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/parichartjournal/article/view/43005
Section
Academic Article