Speech Acts from Soul Recalling in Therapeutic Ceremonies of the Phu-Thai Shamans
Main Article Content
Abstract
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาวัจนกรรมจากคำเรียกขวัญใน พิธีกรรมรักษาโรคของหมอเหยาชาว ผู้ไทยใน 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกาฬสินธ์ุ นครพนม สกลนคร และมุกดาหาร การเรียกขวัญในพิธีกรรมรักษาโรคนี้ ชาวผู้ไทยเรียกว่า “พิธีเหยา” เป็นการเรียกขวัญของคนไทยที่เก่าแก่ที่สุด การ ประกอบพิธีประกอบด้วยลำดับวัจนกรรม 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1.การไหว้ผีและ เชิญผีลงมาจากสวรรค์ 2.การลำส่องดูอาการป่วยและไต่ถามหาสมุฏฐานของ ความเจ็บป่วย 3.การลำปั่วเพื่อ อ้อนวอนร้องขอจากผีให้ช่วยปัดเป่าโรคภัยออก ไปจากผู้ป่วย 4.การเรียกขวัญของผู้ป่วยให้กลับคืนมา และ 5.การลาผีและส่ง ผีกลับคืนสู่สวรรค์ ในงานวิจัยนี้ใช้ข้อมูลจากบทร้องเรียกขวัญ จำนวน 12 บท ผู้วิจัยเก็บข้อมูลภาคสนามจากหมอเหยา จำนวน 12 คน บทร้องที่นำมา วิเคราะห์นี้ใช้ทฤษฎีวัจนกรรมของ จอห์น อาร์.เซอร์ล (1969) แบ่งวัตถุประสงค์ ออกเป็น 2 ข้อ คือ 1.วัจนกรรมตรงตามคำ โดยพิจารณาจากวัจนกรรมที่ มีคำกริยาบ่งชี้การกระทำ 2.วัจนกรรมอ้อม โดยศึกษาความสัมพันธ์ของรูป ประโยคและหน้าทที่ในประโยคซึ่ง ผู้พูด จะแฝงเจตนาที่แท้จริงซึ่งจะไม่ตรงกับรูป ประโยค ผู้ฟังต้องตีความจากบริบทในขณะสนทนา จากการศึกษาพบว่า หมอเหยา ใช้วัจนกรรมปลอบประโลมใจมากทที่สุด และมีการใช้วัจนกรรมกลุ่มต่าง ๆ ได้แก่ การบอกกล่าว การชี้นำ การผูกมัด การแสดงความรู้สึก และการแถลงการณ์ สำหรับการใช้วัจนกรรมอ้อมนั้น มีการใช้ประโยคที่เป็นคำถาม แต่มีเจตนาเพื่อ บอกเล่าหรือขอร้องให้ขวัญของผู้ป่วยกลับมาเข้าร่าง เพื่อจะได้หายเป็นปกติ รวมทั้งมีการใช้วัจนกรรมปลอบประโลมใจ แต่ใช้รูปประโยคเป็นคำสั่งห้าม งาน วิจัยนี้ได้ผลสรุปที่สอดคล้องกับแนวคิดทฤษฎีวัจนกรรมที่ว่า “คำพูดก่อให้ เกิดการกระทำ” เพราะในบทร้องเรียกขวัญ หมอเหยาสามารถใช้คำพูดเพื่อ สร้างขวัญและกำลังใจให้ผู้ป่วยกลับมาเป็นปกติได้
Speech Acts from Soul Recalling in Therapeutic Ceremonies of the Phu-Thai Shamans
Alonkorn Itdhiphol, Wilaiwan Khanittanan and Surasit Thairat
The objective of the research was to study Speech Acts from Soul Recalling in Therapeutic Ceremonies of the Phu-Thai Shamans in 4 provinces of Thailand : Kalasin , Nakorn Phanom , Sakon Nakhon and Muk Dahan. The Soul Recalling in Therapeutic Ceremonies of the Phu-Thai Shamans called Yao Ritual (healing rite) is the oldest Thai healing rite. This refelect the belief in spirits of Phu-thai, especially in Phi-Fa Paya Tian (the most powerfull spirit), The ritual procedure consists : 1. Inviting and worskiping spirit from the heaven 2 Examing (Lam Song) and investigating the cause of the sickness. 3. Diagnosing patient 4. Recalling patient’s soul and 5.Saying goodbye and asking the spirit to return to heaven. This research is based on the data (ritual songs) of 12 soul recalling speech acts collected from Moh Yao (shamen or medium of the ritual). The data were analyzed by John R. Searl’s speech acts theory (1969) in 2 aspects: performative verb and indirect speech acts (implied meaning of utterances). The results showed that the soul calling speech acts of Phu-Thai shamen in therapeutic ceremonies procedure was the same in all 4 prvinces. It was found that Moh Yao used the speech acts to reassure the patients most. The speech acts used were : assertives , directives, commissives and declaratives. In terms of indirect speech acts, questioning with purpose of asserting or soul recalling was used. In addition, reassuring in from of prohibiting utterances was used. The results and conclusion of this research correspond to the speech acts theory as “Speech makes acts”. It can be proved by the speech used by Moh Yoa to encourage and reassure the patients.