The Development of Orphan’s Quality of Life Affected by Unrest Situations

Main Article Content

กนกนวล กาญจนเพชร
ชนิษฎา ชูสุข

Abstract

การวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการดำเนินงานขององค์การ บริหารส่วนตำบลกอลำ อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี ในการพัฒนาคุณภาพชีวิต ของเด็กกำพร้าที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบ โดยใช้วิธีวิจัย เชิงคุณภาพ ด้วยการสัมภาษณ์กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 50 คน การศึกษา พบว่า สถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2547 เป็น สาเหตุหนึ่งที่เกิดปัญหาเด็กกำพร้าในตำบลกอลำ ทั้งเด็กไทยพุทธและไทยมุสลิม ที่ขึ้นทะเบียนไว้กับองค์การบริหารส่วนตำบลกอลำ ในปี 2555 มีจำนวนทั้งสิ้น 135 คน หลังจากสูญเสียบิดา เด็กจะอยู่กับมารดา หรือกรณีสูญเสียทั้งบิดาและ มารดาในคราวเดียวกัน เด็กก็จะอาศัยอยู่กับครอบครัวญาติฝ่ายมารดา ซึ่งึ ส่วนมาก มีฐานะยากจน มีรายได้ไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่าย ทำให้การดูแลเด็กกำพร้าเป็น ภาระหนักของครอบครัว องค์การบริหารส่วนตำบลกอลำ ได้ดำเนินโครงการ “ฟื้นฟูจิตใจเด็กกำพร้า และเด็กอนาถาตำบลกอลำ” นับแต่ปี 2547 เป็นต้นมา โดยมีรูปแบบการดำเนินโครงการฯ 3 ด้านหลัก ดังนี้ 1) กิจกรรมด้านการ สังคมสงเคราะห์ เป็นการช่วยเหลือสงเคราะห์ในด้านปัจจัยสี่ ที่ช่วยเหลือ ครอบครัวอุปถัมภ์เด็กกำพร้า หรือมารดาที่ต้องดูแลเด็กกำพร้าโดยลำพัง รวมถึง การให้ทุนการศึกษาแก่เด็กกำพร้า 2) กิจกรรมอบรมให้ความรู้ คือ การอบรม คุณธรรม จริยธรรม และความรู้ทั่วไปที่เป็นประโยชน์แก่เด็กกำพร้า 3) กิจกรรม นันทนาการ เป็นกิจกรรมที่ช่วยเสริมสร้างพลังใจของเด็กกำพร้า ปัญหาและ อุปสรรคในการดำเนินงานของ อบต.กอลำ ในด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตของ เด็กกำพร้า สรุปได้ดังนี้ 1) ความกังวลใจและความรู้สึกไม่มั่นคงของเด็กกำพร้า 2) ทัศนคติของหลาย ๆ ฝ่าย ที่มีต่อเด็กกำพร้า นับแต่ ครอบครัวที่ให้การอุปการะ เลี้ยงดู ไปจนถึงหน่วยงานในพื้นที่ 3) ปัญหาด้านโครงสร้าง อำนาจหน้าที่ และ กฏระเบียบราชการที่ไม่รองรับต่อปัญหา โดยเฉพาะในส่วนขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น


 


The Development of Orphan’s Quality of Life Affected by Unrest Situations


Kanoknual Kanjanapech and Chanisada Choosuk


The objective of this qualitative research was to study the how does Kolam Sub-district Administrative Organisation (SAO), Pattani Province, perform the task on orphanage children’s quality of life development. The data collection methods included semi-structured interviews, group interviews, and observation. The key informants comprised with the six groups of : 1) 10 representatives of local agencies 2) 3 representatives of local charity foundation 3) 5 local leaders 4) 2 local religion leaders (both Muslim and Buddhism) 5) 10 representatives of family-hosted taking care the orphans and 6) 20 orphans. The results show that the unrest situations in three Southern Boarder Provinces, since 2004, have created the problems of orphans. The numbers of Muslim and Buddhism orphans registered at Kolam SAO were 135 in 2013. After their father passed away, they have lived with their mother. For the case that their parents passed away, they have to live with their mother’s family. Most of orphans live in the poor foster family. Kolam SAO, therefore, has initiated the project targeting on orphans in healing, supporting, and consulting to enhance their livelihoods since 2004. This project can be categorized into 3 main items: 1) the social welfare task in providing the four necessary basic needs and the scholarship for the orphans; 2) the training course to educate the orphans including moral, ethics, and general knowledge; and 3) the amusement activities to encourage and inspire the orphans. The difficulties in undertaking this task, however, include: 1) the orphans’ worry and insecure feeling. 2) The perception towards the orphans’ supporting from various involved actors i.e. the family and other local relevant agencies. 3) The troubles caused by bureaucratic structures, responsibilities, and rigid rules and regulations occurring in the bureaucratic system.

Article Details

How to Cite
กาญจนเพชร ก., & ชูสุข ช. (2015). The Development of Orphan’s Quality of Life Affected by Unrest Situations. Parichart Journal, 27(2), 64–81. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/parichartjournal/article/view/43051
Section
Academic Article