Social And Cultural Changes Among The Sakai Ethnic : A Case Study of the SakaiEthnic in Tamot District, Phatthalung Province

Main Article Content

วรชัย วิริยารมภ์
ปุรินทร์ นาคสิงห์
ฉัตรวรรณ พลเพชร

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิถีการดำรงชีวิต สังคมและ วัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธ์ุซาไก และเพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศ ที่มีผลต่อการดำรงชีวิตกลุ่มชาติพันธ์ุซาไกด้านปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิต โดย ใช้วิธีการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ การลงพื้นที่ภาคสนาม สัมภาษณ์ประกอบการ สังเกตแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วมจากผู้ให้ข้อมูลหลักคือ กลุ่มชาติพันธ์ุซาไก ที่อาศัยในพื้นที่บริเวณเทือกเขาบรรทัด อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง จำนวน 10 คน และผู้ให้ข้อมูลซึ่งเป็นผู้ที่มีความสัมพันธ์กับซาไกในพื้นที่ จำนวน 10 คน คือ เจ้าหน้าที่รัฐ และประชาชนในพื้นที่ ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มชาติพันธุ์ซาไก ในพื้นที่เขาบรรทัด ตำบลตะโหมด เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีวิถีการดำรงชีวิตแบบ พึ่งพาธรรมชาติในการตอบสนองความต้องการพื้นฐานมาตั้งแต่ในอดีตจนถึง ปัจจุบัน แต่เมื่อภาครัฐส่งเสริมนโยบายการพัฒนาใน พ.ศ. 2504 ประกอบกับ การเปิดป่าสัมปทานทำให้มีการตัดถนน และเพิ่มสาธารณูปโภคพื้นฐานไปยัง ชนบท ทำให้การเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรป่าไม้สะดวกขึ้น ระบบ ทรัพยากรป่าไม้ของเทือกเขาบรรทัดซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของซาไกได้รับผลกระทบ ทำให้ระบบนิเวศป่าไม้เสื่อมโทรม เมื่อป่าเกิดความเสื่อมโทรม ส่งต่อการดำรงชีวิต ของซาไก เนื่องจากซาไกใช้ทรัพยากรในการตอบสนองความต้องการพื้นฐานใน การดำรงชีวิต จากการศึกษาพบว่า ผลจากการเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศส่งผล ให้ปัจจัยพื้นฐานด้านอาหารของซาไกเปลี่ยนไป เนื่องจากปริมาณอาหารจำพวก มันและสัตว์ป่าลดลง ทำให้ซาไกรับเอาวัฒนธรรมการกินอาหารสำเร็จรูป เช่น ข้าวสาร ปลากระป๋อง เข้ามาผสมผสานกับการกินแบบดั้งเดิมเพื่อความอยู่รอด นอกจากนี้ จากการที่ซาไกมีการติดต่อกับชาวบ้านในพื้นที่มากขึ้น ทำให้เกิดการ ผสมกลมกลืนทางวัฒนธรรมด้านการแต่งกาย ซึ่งมีลักษณะคล้ายคนเมืองมากขึ้น แต่ปัจจัยด้านที่อยู่อาศัยและยารักษาโรคของซาไกในพื้นที่ ยังคงรูปแบบดั้งเดิม การคงอยู่ดังกล่าวเป็นการธำรงไว้ ซึ่งอัตลักษณ์กลุ่มชาติพันธุ์ซาไกให้คงอยู่ โดย ปราศจากการแทรกแซงจากหน่วยงานภาครัฐเหมือนซาไกกลุ่มอื่น


 


Social And Cultural Changes Among The Sakai Ethnic : A Case Study of the Sakai Ethnic in Tamot District, Phatthalung Province


Worrachai Wiriyaromp, Purin Naksing and Chattrawan Phonphet


This research aims to study to the lifestyle changes of the Sakai Ethnic. The fundamental factor as a result from ecology changes. Use the way to study to anthropology by fieldwork, interview, participation and non-participation observation from the main contributors . They were ten Sakai Ethnic who live at Buntad mountain range Tamot district, Phatthalung province and ten contributors that related with Sakai, the officials and the people in this area. The results of this study showed that The Sakai Ethnic in Buntad Mountain Range in Tamot district was one tribe who depend life style on to respond their fundamental needs from past time to now a day. Because of the government campaign the development policy in 2504 B.E. In this time there were deforestation monopoly. There were road and public unity construction to countryside area. It made easy to use profit from forest. The forest resources on Buntad Mountain Range which was The Sakai Ethnic’s home got effective results. It made this forest was damage. It got effective results to The Sakai Ethnic’s life style because they use natural resources for responding their fundamental needs. To study changing of ecology got effective result to fundamental living factor. From this study, we founded that the ecology changing made fundamental sector of food changed. Due to potatoes and wild animals were decreased, they absorbed ready to eat food culture such as rice, canned fish to combine with native culture for alive. The result of connection between The Sakai Ethnic and local neighbors made combination in clothing culture but the resident and disease cure had still in their ancient style. It was The Sakai Ethnic’s identity stability without intervention from government and other Sakai.

Article Details

How to Cite
วิริยารมภ์ ว., นาคสิงห์ ป., & พลเพชร ฉ. (2015). Social And Cultural Changes Among The Sakai Ethnic : A Case Study of the SakaiEthnic in Tamot District, Phatthalung Province. Parichart Journal, 27(2), 82–103. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/parichartjournal/article/view/43053
Section
Academic Article