Legal Status and Community Rights Protection
Main Article Content
Abstract
สถานะทางกฎหมายมีความสัมพันธ์กับั การเป็นผู้ทรงสิทธิตามกฎหมาย ภายใต้ระบบกฎหมายไทย กฎหมายได้ให้การยอมรับว่า “บุคคลธรรมดา” และ “นิติบุคคล” เป็น “ผู้ทรงสิทธิ” ตามกฎหมาย อย่างไรก็ดี พบว่า มีองค์ภาวะ บางลักษณะที่แม้กฎหมายจะได้ให้การรับรองสิทธิบางประการไว้แล้ว แต่ไม่มีนัย เป็นบุคคลตามที่กฎหมายรับรอง ได้แก่ ชุมชน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ได้ให้การรับรองสิทธิของชุมชนในการใช้สิทธิเรียกร้องใน กระบวนการยุติธรรม ครั้งเมื่อศึกษากฎหมายวิธีสบัญญัติตลอดจนทางปฏิบัติ กลับพบว่า ยังคงจำกัดอยู่แต่เฉพาะสิทธิในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมใน ทางปกครองเท่านั้น ไม่รวมถึงสิทธิเรียกร้องในกระบวนการยุติธรรมทางแพ่ง และทางอาญา ส่งผลถึงการเรียกร้องค่าเสียหายที่เกิดจากการกระทำของ เอกชนที่เกิดต่อชุมชน ซึ่งจำเป็นที่จะต้องตรากฎหมายให้สอดคล้องกับ รัฐธรรมนูญโดยคำนึงถึงหลักการมีส่วนร่วมของประชาชนในชุมชนเป็นสำคัญ
Legal Status and Community Rights Protection
Sartsada Wiriyanupong, Arnon Sriboonroj, Hataikarn Kamnerdpetch and Jiranan Satsavaree
It is known that legal status is related to be the rights holder. In Thai legal system, only person and juristic person are recognized as the rights holder. It has been found that community is not acknowledge as the rights holder even thought it has been recognized by law. Constitution of the Kingdom of Thailand, 2550 B.E. (2007) affirms the right of the community to sue state agencies in judicial system. This research found that community has the right to claim only in administrative justice system but not in civil and criminal justice system. It leads to affect on the right to compensate of community when there has been disputed between community and private agency. Consequently it is necessary to promulgate the law comply with the Constitution by consider the principle of people participation.