กระบวนการเรียนรู้เพื่อการปลดปล่อย : บทเรียนจากกลุ่มแกนนำมุสลิม กรณีความขัดแย้ง โครงการท่อก๊าซไทย-มาเลเซีย (พ.ศ.2541-พ.ศ.2557)

Main Article Content

พรพันธุ์ เขมคุณาศัย

บทคัดย่อ

บทความนี้สะท้อนผลการถอดบทเรียนของกลุ่มแกนนำมุสลิม ที่ร่วมต่อต้านโครงการท่อก๊าซไทย-มาเลเซีย จำนวน 8 คน และสัมภาษณ์คนทำงานภาคประชาสังคมที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมอีก 1 คน รวม 9 คน พบสาระสำคัญ ดังนี้ 1) ประสบการณ์การเรียนรู้ของกลุ่มแกนนำมุสลิมเกิดจากการสร้างกระบวนการเรียนรู้ผ่านปฏิบัติการทางสังคมตลอดการต่อสู้ในรอบ 17 ปี (พ.ศ.2541-2557) 2) ชุมชนมุสลิมได้มองข้ามความเป็นเพศ ไปสู่การยอมรับศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ไม่ว่าผู้หญิงหรือผู้สูงอายุต่างมีศักยภาพเป็นผู้นำกลุ่มได้ 3) การเรียนรู้จากการถูกกระทำ นำไปสู่การเปลี่ยนมุมมองเกี่ยวกับรัฐ และความเชื่อเกี่ยวกับผู้นำศาสนา 4) ระบบส่งเสริมการเรียนรู้สำหรับคนที่มีความสามารถแตกต่างกัน ช่วยให้คนที่ขาดทักษะทางภาษามีความมั่นใจในการเรียนรู้ร่วมกับคนอื่น ๆ จนสามารถพัฒนาตนเองได้ และ 5) การเสวนาเป็นวิธีการเรียนรู้แบบหนึ่งที่ทำให้เกิดมุมมองใหม่ มีมโนทัศน์ใหม่ และนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงตนเอง

Article Details

How to Cite
เขมคุณาศัย พ. (2016). กระบวนการเรียนรู้เพื่อการปลดปล่อย : บทเรียนจากกลุ่มแกนนำมุสลิม กรณีความขัดแย้ง โครงการท่อก๊าซไทย-มาเลเซีย (พ.ศ.2541-พ.ศ.2557). วารสารปาริชาต, 29(1), 168–194. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/parichartjournal/article/view/49543
บท
บทความวิจัย