Development Of Electronic Learning 8E Based On Connectivism Model For Virtual University

Main Article Content

ปริญญา บรรณเภสัช

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนเชิงอิเล็กทรอนิกส์ 8E ตามแนวคิดคอนเน็ค                ติวิซึมสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี เพื่อศึกษาประสิทธิภาพรูปแบบการประเมินความเหมาะสมรูปแบบที่ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาหลังจากใช้รูปแบบการเรียนแบบใหม่และเปรียบเทียบคะแนนผลการเรียนและความคิดก่อนเรียนและหลังเรียนของนักศึกษาที่เรียนโดยใช้บทเรียนแบบใหม่และศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อรูปแบบการเรียนแบบใหม่ กลุ่มตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยจำนวน 100 คน ผู้วิจัยทดลองกับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 36 คน โดยวิธีจับสลากแบ่งกลุ่ม และใช้แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและแบบสอบถามความพึงพอใจที่สร้างขึ้นเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า บทเรียนเชิงอิเล็กทรอนิกส์ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด คือ 81.53/80.10 โดยผู้ใช้สามารถเข้าใจระบบและเนื้อหาได้โดยง่ายซึ่งระบบช่วยให้อาจารย์สามารถสอนนักศึกษาให้เข้าใจได้มากขึ้นนักศึกษาสามารถเตรียมตัวก่อนเรียนและทบทวนได้ตลอดเวลา และค่าเฉลี่ยคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนมีค่าเฉลี่ยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และนักศึกษามีความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้บทเรียนเชิงอิเล็กทรอนิกส์ด้วยรูปแบบการเรียนเชิงอิเล็กทรอนิกส์ที่พัฒนาขึ้นในระดับมาก และยังสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้ได้อย่างคุ้มค่าและประหยัด

Article Details

How to Cite
บรรณเภสัช ป. (2016). Development Of Electronic Learning 8E Based On Connectivism Model For Virtual University. Parichart Journal, 28(3), 63–81. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/parichartjournal/article/view/56026
Section
Research Articles