Adolescent and Cultural Violent in Muang District, Satun Province
Main Article Content
Abstract
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบความรุนแรงและปัจจัยที่กำหนดการใช้ความรุนแรง ตลอดจนศึกษาการจัดการต่อความรุนแรงเชิงวัฒนธรรมของวัยรุ่น การเก็บข้อมูลใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก ประกอบด้วย วัยรุ่นที่มีอายุระหว่าง 15-25 ปี จำนวน 8 คน เจ้าหน้าที่ตำรวจ สถานีตำรวจภูธรเมืองสตูลและสถานีตำรวจภูธรฉลุง จำนวน 6 คน ผู้ปกครองของวัยรุ่นที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 8 คน และกำนัน หรือผู้ใหญ่บ้าน หรือผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ตำบลหรือหมู่บ้านที่เกิดเหตุ จำนวน 5 คน พบว่า
1.รูปแบบความรุนแรงในวัยรุ่นมีหลายลักษณะ ในฐานะเหยื่อจากการกระทำความรุนแรง ผู้กระทำความรุนแรง และเหยื่อและผู้กระทำความรุนแรงในเวลาเดียวกัน 2.ปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดการใช้ความรุนแรง พบว่า ครอบครัว เพื่อน โรงเรียน กิจกรรม ชุมชน บทบาทองค์กรทางศาสนา และความเข้มแข็งของผู้นำ เมื่อโครงสร้างทางสังคมอ่อนแอก่อให้เกิดความรุนแรงเชิงโครงสร้างและถูกพัฒนาเป็นความรุนแรงเชิงวัฒนธรรม ส่งผลต่อระบบความคิด ความเชื่อ ของชุมชนและวัยรุ่น ก่อให้เกิดความรุนแรงทางตรง และ 3.การจัดการต่อความรุนแรงของวัยรุ่น พบว่า มีกระบวนการจัดการสองรูปแบบ คือ วัยรุ่นจัดการกันเอง และการจัดการของผู้มีอำนาจตั้งแต่ผู้บริหารระดับจังหวัดตลอดจนผู้นำในชุมชน