The Separations and Their Rolesin Samutthakhot Kham Chan

Main Article Content

ชลดา เรืองรักษ์ลิขิต

Abstract

บทคัดย่อ


เป็นเรื่องน่าสนใจที่พบว่ามีเรื่องการพลัดพรากจำนวนมากในเรื่องสมุทรโฆษคำฉันท์ซึ่งเป็นวรรณคดีโบราณเรื่องหนึ่งของไทย มีทั้งการพลัดพรากของตัวละครเอกและของตัวละครประกอบการพลัดพรากของตัวละครประกอบนั้นพบเมื่อ รณาภิมุขวิทยาธรถูกแย่งชิงภรรยาไป ทำให้เขาต้องกำสรดโศกและคร่ำครวญแสดงความทุกข์สาหัสที่ได้รับน่าสังเกตว่ากวีไม่ได้ให้พระสมุทรโฆษผู้เป็นตัวเอกฝ่ายชายของเรื่องคร่ำครวญอย่างรณาภิมุขวิทยาธร ทั้งนี้เพื่อรักษาภาพลักษณ์ของพระสมุทรโฆษไม่ให้อ่อนแอจนเกินไป ส่วนการคร่ำครวญถึง 2 ครั้งนางพินทุมดีผู้เป็นตัวเอกฝ่ายหญิงเมื่อพลัดพรากจากพระสมุทรโฆษนั้นได้รับการขับเน้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการครวญครั้งหลังนั้นกินใจมาก ด้วยเหตุที่การพลัดพรากมักนำความทุกข์ให้แก่ตัวละครต่างๆอยู่เสมอ ทำให้เห็นความสัมพันธ์อย่างแนบแน่นระหว่างการพลัดพรากกับการนำเสนอจุดสุดยอดของเรื่องซึ่งมีถึง 2 ครั้ง ได้แก่ ความทุกข์ของตัวละครเอกทั้งฝ่ายหญิงและชายเมื่อพรากจากกัน ความทุกข์เพราะพรากจากรักครั้งแรกเกิดจากการกระทำของพระโพเทพารักษ์ ส่วนครั้งที่สองเกิดจากขอนขาดกลางทะเลเพราะลมพายุ นอกจากนี้ ผลการศึกษาทำให้พบว่าการพลัดพรากมีบทบาทสำคัญมากทั้งต่อการดำเนินเรื่อง ต่อตัวละคร ต่อการสร้างสีสันให้แก่เนื้อหา และต่อแก่นเรื่องซึ่งนำเสนอการใช้สติปัญญาของตัวละครหญิงที่แก้ปัญหาเรื่องความทุกข์ที่เกิดจากการพรากรักและทำให้ได้พบคนรักที่พลัดพรากจากกันไปได้อีกครั้ง


Abstract


      It is interesting to note that several separations are found in the story of Samutthakhot Kham Chan, one of Thai classical Literature. Both the separation of the main and supporting characters in the works are observed. For example, the separation of Ranaphimuk Witthayathon with his wife who had been abducted causes his grief. He moans and groans in deep sorrow. It is also noticeable that the poet does not present the moan in distress of the hero, Phra Samutthakhot, for keeping the hero’s image, not being too weak. For the heroine, Phinthummadi, two times of her lamentations after departing from Phra Samutthakhot are also conveyed. However, the second time, her moan is very touching. As the separations always cause lamentations for the various characters, the close relationship between these separations and the two climaxes presented in the story, the suffering of the hero and the heroine from being separated from each other, are also revealed. The first climax is caused by the guardian god of the Pho Tree and the second is caused by the division of the log into two parts due to the storm in the sea. Additionally, the important roles of these separations are disclosed. Their roles are evident in the story continuity, in the characters, in making some colorful incidents in the story, and in its theme which presents the heroine’s wisdom in addressing suffering caused by separation from her lost beloved or husband and in successfully searching for him.

Article Details

How to Cite
เรืองรักษ์ลิขิต ช. (2016). The Separations and Their Rolesin Samutthakhot Kham Chan. Parichart Journal, 29(2), 1–29. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/parichartjournal/article/view/69460
Section
Special articles