Development of Knowledge Management Model for Quality Assurance in Education atPrincess of Naradhiwas University

Main Article Content

ทิพยวรรณ นิลทยา
สฤษดิ์พงษ์ ลิมปิษเฐียร
อรรณพ จีนะวัฒน์
ชุมศักดิ์ อินทร์รักษ์

Abstract

บทคัดย่อ


            วัตถุประสงค์การวิจัย เพื่อศึกษาสภาพการจัดการความรู้เพื่อการประกันคุณภาพการศึกษาในมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ พัฒนารูปแบบการจัดการความรู้เพื่อการประกันคุณภาพการศึกษา และศึกษาผลการทดสอบรูปแบบการจัดการความรู้เพื่อการประกันคุณภาพการศึกษาในมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ วิธีดำเนินการวิจัยมี 3 ระยะ คือ    1) ศึกษาสภาพการจัดการความรู้เพื่อการประกันคุณภาพการศึกษาในมหาวิทยาลัย ใช้วิธีการสอบถามจากผู้บริหาร อาจารย์ และบุคลากรที่เกี่ยวข้อง จำนวน 33 คน  2) ร่างและพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้เพื่อการประกันคุณภาพการศึกษา ด้วยการจัดสัมมนาผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 11 คน 3) ทดสอบรูปแบบ ด้วยการทดลองใช้ในคณะพยาบาลศาสตร์ เป็นเวลาหนึ่งปีการศึกษา และจัดกลุ่มสนทนาผู้ใช้รูปแบบจำนวน 12 คน  ผลการวิจัยพบว่า 1) การจัดการความรู้เพื่อการประกันคุณภาพการศึกษาในมหาวิทยาลัยมี 3 ลักษณะ คือ (ก) การประกันคุณภาพที่มีส่วนร่วมไปพร้อมกับการจัดการความรู้แบบมีแม่ทัพหน้า (ข) การประกันคุณภาพที่มีส่วนร่วมไปพร้อมกับการจัดการความรู้แบบการหลอมรวมทุกสถาบันตามเกณฑ์องค์ประกอบของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และ (ค) การประกันคุณภาพที่มีส่วนร่วมการจัดการความรู้ตามกลยุทธ์ของสถาบันและเกณฑ์สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาไปพร้อมกัน 2) ได้รูปแบบการจัดการความรู้เพื่อการประกันคุณภาพการศึกษา มี 2 ระดับ คือ ระดับมหาวิทยาลัย และระดับคณะ ผ่านการจัดการความรู้ที่มีการเชื่อมต่อองค์ประกอบ ขั้นตอน การจัดการความรู้และส่งผลต่อกันด้วยกระบวนการตามวงจรเดมมิ่ง องค์ประกอบการจัดการความรู้ คือ คน กระบวนการ และเทคโนโลยีสารสนเทศ ขั้นตอนการจัดการความรู้แบ่งเป็น 5 ขั้นตอน คือ การสร้างวิสัยทัศน์ความรู้ การกำหนดประเด็นความรู้ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การจัดเก็บความรู้ และการนำความรู้ไปใช้ 3) ผลการทดสอบรูปแบบ พบว่า รูปแบบโดยภาพรวมมีความเหมาะสม  และสามารถนำไปใช้ในสภาพจริง  มีความครอบคลุมการจัดการความรู้ทั้งในระดับมหาวิทยาลัยและคณะ  มีการถ่ายโยงการจัดการความรู้ที่มีการสื่อสารสองทางระหว่างมหาวิทยาลัยและคณะในทุกขั้นตอนของกระบวนการประกันคุณภาพการศึกษา  นอกจากนี้ผลจากการทดลองรูปแบบยังส่งผลดีต่อบุคลากรในหน่วยงาน ทำให้เกิดแนวคิดและมีขั้นตอนการดำเนินงานต่างๆ ระหว่างการประกันคุณภาพการศึกษาและการจัดการความรู้ร่วมกัน โดยเฉพาะด้านการวิจัย ซึ่งเป็นภาวะวิกฤตของมหาวิทยาลัยพบว่ามีผลการประเมินสูงขึ้น


 


คำสำคัญ: การจัดการความรู้ การประกันคุณภาพการศึกษา


 


 


 


 


 


 


 


Abstract


            The objectives of this research were 1) to study the state of knowledge management for educational quality assurance in the Princess of Narathiwat University; 2) to develop a model of knowledge management for educational quality assurance; and 3) to study the results of testing the model of knowledge management for educational quality assurance in the Princess of Narathiwat University. The research process comprised three stages.  Stage 1 was a study of the state of knowledge management for educational quality management in the Princess of Narathiwat University.  In this stage, the researcher conducted a survey of the state of knowledge management in the university by asking 33 personnel of the university including university executives, instructors, and concerned personnel.  Stage 2 was the drafting and development of a knowledge management model for educational quality assurance.  In this stage, the researcher organized a seminar involving 11 experts.  Stage 3 was the testing of the developed knowledge management model by trying out with the personnel of the Faculty of Nursing of the university for one academic year, and organizing a focus group discussion involving 12 users of the mode l) Research findings were as follows:  (1) Currently, there were three types of knowledge management for educational quality assurance in the Princess of Narathiwat University: (a) the participatory educational quality assurance together with knowledge management under the forefront supervisor; (b) the participatory educational quality assurance together with amalgamated knowledge management involving all work units based on the component criteria of the Commission of Higher Education Office; and (c) the participatory educational quality assurance together with knowledge management based on the institution’s strategy and criteria of the Commission of Higher Education Office. 2) As a result of the expert seminar, a knowledge management model for educational quality assurance was developed which comprised two levels, namely, the university level and the faculty level.  The knowledge management practices at the two levels were connected in both the components and steps of knowledge management and had effects on each other via the Deming Cyclebased process.  The knowledge management components comprisedthe personnel, process, and information technology; while the knowledge management steps comprised five following steps: the creation of knowledge vision, the determination of knowledge issues, the sharing and learning of knowledge, the storage of knowledge, and the application of knowledge. 3) Regarding results of model testing, it was found that the model as a whole was appropriate and was feasible for implementation.  The model was comprehensive and covered knowledge management both at the university and faculty levels, with connection and transfer of knowledge management via two-way communication between the university and the faculty in every step of educational quality assurance process.  Furthermore, results of the try-out of the model in internal and external educational quality assurance of the Princess of Narathiwat University also had positive impacts on the university personnel in terms of enabling them to get the ideas and operational steps of educational quality assurance together with knowledge management, especially in the upgrading of evaluation results on the aspect of research which had been a critical aspect in the function of the Princess of Narathiwat University.


 


Keywords: Knowledge Management, Educational Quality Assurance


 

Article Details

How to Cite
นิลทยา ท., ลิมปิษเฐียร ส., จีนะวัฒน์ อ., & อินทร์รักษ์ ช. (2016). Development of Knowledge Management Model for Quality Assurance in Education atPrincess of Naradhiwas University. Parichart Journal, 29(2), 131–153. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/parichartjournal/article/view/69468
Section
Research Articles