Domestic Violence on Songkhla Lake Basin Area

Main Article Content

ปพนธีร์ ธีระพันธ์

Abstract

บทคัดย่อ


            ความรุนแรงในครอบครัวเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อการเป็นอยู่และความสุขของสมาชิกในครอบครัว ทั้งยังส่งผลต่อสังคมส่วนรวม ผู้วิจัยเล็งเห็นว่าปัญหาความรุนแรงในครอบครัวเป็นปัญหาที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในเขตจังหวัดพัทลุงซึ่งเป็นสถานที่ที่ผู้วิจัยทำงานอยู่ ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ผู้วิจัยมุ่งศึกษาปัญหาความรุนแรงในครอบครัวในเขตพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาฝั่งตะวันตก โดยมีวัตถุประสงค์การวิจัย 3 ประการ คือ (1) เพื่อสำรวจถึงการมีอยู่และสาเหตุของความรุนแรงในครอบครัวในเขตพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาฝั่งตะวันตก (2) เพื่อสำรวจลักษณะของความรุนแรงในครอบครัวในเขตพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาฝั่งตะวันตก และ (3) เพื่อสำรวจกระบวนการจัดการแก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัวในเขตพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาฝั่งตะวันตก


การศึกษานี้เป็นการศึกษาแบบผสม ซึ่งมีทั้งการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณและการวิเคราะห์เอกสารทางกฎหมายที่เกี่ยวข้อง โดยเริ่มจากการเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างในเขตพื้นที่ศึกษาแล้วจึงนำมาวิเคราะห์กับเอกสารทางกฎหมายต่อไป


ผลการศึกษาพบว่า (1) ความรุนแรงในครอบครัวเกิดขึ้นเกินกึ่งหนึ่งในครอบครัวของผู้ที่อาศัยอยู่ในเขตเดียวกันกับกลุ่มตัวอย่าง โดยลักษณะของความรุนแรงในครอบครัวส่วนใหญ่ เป็นการด่าทออย่างรุนแรง ทำร้ายร่างกายทั้งที่ไม่เป็นและเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ และบังคับให้กระทำการใดๆโดยมิชอบด้วยกฎหมาย (2) ผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวส่วนใหญ่ ได้แก่ ภรรยา รองลงมา คือ สามี โดยมีอัตราการเกิดความรุนแรงเฉลี่ย 18 ครั้งต่อปี (3) สาเหตุของการใช้ความรุนแรงในครอบครัว 3 อันดับแรก ได้แก่ การดื่มสุราหรือเสพสิ่งเสพติด ความเครียดจากการทำงาน และการขาดความรักความเข้าใจกันในครอบครัว (4) เมื่อเกิดปัญหาความรุนแรงในครอบครัว ผู้ถูกกระทำหรือผู้พบเห็นจะไม่ดำเนินการอย่างใดๆ เพื่อจัดการกับปัญหาความรุนแรงในครอบครัว รองลงมากลุ่มตัวอย่างบางส่วนจะแจ้งปัญหาความรุนแรงดังกล่าวต่อผู้ใหญ่บ้านหรือกำนัน (5) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เห็นว่าการป้องกันปัญหาความรุนแรงในครอบครัวควรจะเริ่มจากการเสริมสร้างความรักความเข้าใจของสมาชิกในครอบครัวต่อกัน รองลงมาควรแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่ และมีการส่งเสริมให้ชุมชนมีกิจกรรมหรือโครงการเพื่อป้องกันปัญหาความรุนแรงในครอบครัว และ (6) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ไม่ทราบขั้นตอนการดำเนินการตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ.2550 เพื่อจัดการกับปัญหาความรุนแรงในครอบครัว


จากการศึกษา ผู้วิจัยเห็นว่าควรศึกษาถึงรูปแบบที่เหมาะสมและความพร้อมของการระงับข้อพิพาททางเลือก เช่น การไกล่เกลี่ยความขัดแย้งโดยบุคคลที่สาม หรือการใช้กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ (Restorative Justice) ต่อเนื่องจากงานวิจัยฉบับนี้ต่อไป


 


คำสำคัญ : ความรุนแรงในครอบครัว พัทลุง ทะเลสาบสงขลา


 


 


 


 


 


 


 


 


Abstract


            Domestic violence has caused the significant impacts of being and having happiness in a family. This violence also has the effects on society. Domestic violence, therefore, a very important problem, especially in Phattalung where the author has been working. This study has three main objectives. First, it aims to survey and analyze for the existence and the causes of domestic violence. Second, it aims to survey and analyze the characteristics of domestic violence, and last, this study aims to seek the proper process and solution when domestic violence occurs on those areas.


            This study was conducted by using the mixed method. It started from collecting the questionnaire, followed by analyzing with related laws.


            The study reveals that, first, domestic violence has occurred more than half to the families living on the studied areas which there are blaming, assault, battery and forcing to do something unwillingly. Second, it shows that the victims mostly are wives and husbands facing with domestic violence eighteen times per year in average. Third, the first three causes of exercising domestic violence are consuming alcohol and drugs, stressness on work and lack of love and understanding among family members. Fourth, when domestic violence occurs the victims and the witnesses have decided not to act or response in order to solve this violence, some samples, however, have decided to inform the problem to the village headmen and the subdistrict headmen. Fifth, the majority considers that the domestic violence protecting means should be exercised by promoting the understanding among family members, enforcing laws against drugs, and having supporting family activities in the communities. Last, the majority does not perceive about the process under the Domestic Violence Victim Protection Act B.E.2550.


According to the study, the author suggest that there should be further study on the proper form of mediation or the proper form of using restorative justice. The study should, moreover, include its readiness.


 


Keywords: Domestic Violence, Phattalung, Songkhla Lake

Article Details

How to Cite
ธีระพันธ์ ป. (2016). Domestic Violence on Songkhla Lake Basin Area. Parichart Journal, 29(2), 155–168. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/parichartjournal/article/view/69469
Section
Research Articles