Change of Urban Morphology and Conservation Guidelines for Songkhla Historic Town
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงภูมิสัณฐานและรูปแบบมรดกสถาปัตยกรรม และเป็นพื้นฐานนำไปสู่ข้อเสนอแนะแนวทางการอนุรักษ์โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปริมาณร่วมกับการวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการศึกษาพบว่า เมืองประวัติศาสตร์สงขลาเป็นเมืองท่าการค้าทางทะเลอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เมืองสงขลาหัวเขาแดง เมืองสงขลาแหลมสน และเมืองสงขลาบ่อยาง รวมทั้งมีความหลากหลายของกลุ่มวัฒนธรรมไทย จีน มุสลิม และรูปแบบมรดกสถาปัตยกรรมที่หลากหลายดังปรากฎเป็นหลักฐานมาจนถึงปัจจุบัน ลักษณะภูมิศาสตร์และการกระจายตัวของชุมชนที่มีการเชื่อมโครงข่ายถนนเพื่อเป็นทางสัญจรส่งผลต่อรูปแบบผังเมืองและการสร้างอาคารในลักษณะต่อเนื่องแบบ “ตึกแถว” ปัจจุบันเมืองประวัติศาสตร์สงขลาประสบปัญหาการพัฒนาอย่างขาดความเข้าใจในพื้นที่และขาดแนวทางอนุรักษ์ก่อให้เกิดผลกระทบแก่มรดกสถาปัตยกรรม ดังนั้นการศึกษานี้จะนำไปใช้เพื่อทำความเข้าใจการตั้งถิ่นฐานของชุมชน รวมไปถึงการเสนอแนวทางการอนุรักษ์และควบคุมการเปลี่ยนแปลงที่เหมาะสมเพื่อรักษาคุณค่ามรดกสถาปัตยกรรมของพื้นที่เอาไว้ได้
คำสำคัญ: เมืองประวัติศาสตร์สงขลา ภูมิสัณฐาน การอนุรักษ์
Abstract
The objective of this research is to study change of urban morphology and the styles of architectural heritage in order to provide some advice on proper conservation methods. This research employed both qualitative and quantitative research methodology. The result of the study reveals that Songkhla historic town has continuously been a trading seaport since the time of Songkhla at Hua Khao Dang, to Songkhla Lam Son and to Sonkhla Bo Yang. Songkhla is rich in its cultural diversity from Thai, Chinese, and Muslim groups with a variety of styles in its architectural heritage which is evidently in the present time. The geographical setting and the distribution of the community which is connected via a road network impacted the city plan and caused clusters of continuous buildings known as “row houses”. Presently architectural heritage is facing a few problems. The development in the historic town area is done without understanding of the local context nor conservation guideline. Consequently, the development has caused some negative impact on architectural heritage. This study, therefore, seeks to understand the community settlement in Songkhla Historic town and provide some guidelines for conservation and development control suitable with the context in order to conserve and maintain the value of the local architectural heritage.
Keywords: Songkhla Historic Town, Urban Morphology, Conservation