จากแวววันถึงตะวันชิงพลบ : การปลดปล่อยตนเองจากพันธนาการทางสังคม

Main Article Content

ปาริชาต คงสังข์

Abstract

        งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาวรรณกรรมที่มีตัวละครเอกหญิงแสดงพฤติกรรมที่แสดงออกถึงการปลดปล่อยตนเองจากพันธนาการทางสังคมโดยศึกษาจากวรรณกรรมซึ่งเป็นผลงานของโบตั๋นจำ�นวน 2 เรื่อง ได้แก่ นวนิยายเรื่องแวววัน และ ตะวันชิงพลบ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการนำ�แนวคิดเรื่องการปลดปล่อยผู้หญิงของ ซีโมน เดอ โบวัวร์ มาปรับใช้ในการวิเคราะห์นวนิยายใน4 ประเด็น ได้แก่ การปลดปล่อยตนเองด้วยการศึกษา การประกอบอาชีพ การไม่แต่งงาน และการไม่เป็นแม่ โดยนำ�นวนิยายทั้ง 2 เรื่องมาเปรียบเทียบกัน พร้อมนำ�เสนอผลการศึกษาแบบพรรณนาวิเครา
        ผลจากการนำ�นวนิยายทั้ง 2 เรื่อง มาเปรียบเทียบกัน พบว่า ตัวละครเอกหญิงในเรื่องแวววันมีวิธีปลดปล่อยตนเองตามแนวคิดของซีโมน เดอ โบวัวร์ ครบทั้ง 4 ประเด็น ได้แก่ ประเด็นการปลดปล่อยตนเองด้วยการศึกษา การประกอบอาชีพ การไม่แต่งงาน และการไม่เป็นแม่ ส่วนตัวละครเอกหญิงในเรื่องตะวันชิงพลบมีวิธีปลดปล่อยตนเองเพียง 2 ประเด็น ได้แก่ การปลดปล่อยตนเองด้วยการศึกษาและการประกอบอาชีพ ส่วนประเด็นการไม่แต่งงานและการไม่เป็นแม่ไม่สอดคล้องกับแนวคิดของซีโมน เดอ โบวัวร์ เพราะตัวละครมีแนวโน้มว่าจะแต่งงานและอาจจะมีลูกในอนาคต ส่วนผลตอบรับจากสังคมที่มีต่อการปลดปล่อยตนเองของผู้หญิงทั้ง 4 ประเด็น พบว่า สังคมไทยยังไม่ยอมรับในประเด็นการปลดปล่อยตนเองจากการแต่งงานและการเป็นแม่ เนื่องจากเมื่อเวลาผ่านไปกฎเกณฑ์ทางสังคมได้ผ่อนคลายความเคร่งครัดลง ดังนั้น แนวคิดเรื่องการปลดปล่อยผู้หญิงตามแนวคิดของ ซีโมน เดอ โบวัวร์ จึงปรากฏในเรื่องแวววันชัดเจนกว่าเรื่องตะวันชิงพลบ

Article Details

How to Cite
คงสังข์ ป. (2016). จากแวววันถึงตะวันชิงพลบ : การปลดปล่อยตนเองจากพันธนาการทางสังคม. Parichart Journal, 23(2), 29–39. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/parichartjournal/article/view/70089
Section
Research Articles