“คู่กรรม”กับความคิดของผู้เสพ ที่มีต่อภาพลักษณ์ของชาวญี่ปุ่น และความเป็นญี่ปุ่น
Main Article Content
Abstract
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษานวนิยายเรื่องคู่กรรมและการนำ�มาผลิตซ้ำ�ในสื่อแขนงอื่น ได้แก่ ละครโทรทัศน์ ภาพยนตร์ และละครเวที ว่ามีอิทธิพลในการสร้างทัศนคติของคนในสังคมไทยที่มีต่อภาพลักษณ์ของชาวญี่ปุ่นและความเป็นญี่ปุ่นอย่างไร โดยใช้ทฤษฎีสายนีโอ-มาร์กซิสม์ทางด้านอุดมการณ์ครอบงำ�ของอันโตนิโอ กรัมชี และ โรลองด์ บาร์ตส์ เป็นฐานคิดในการศึกษาวิจัย พบว่าสื่อชนิดต่างๆ รวมถึงสื่อวรรณกรรมล้วนเป็นตัวกลางถ่ายทอดความคิดหรืออุดมการณ์ของผู้เขียนไปยังผู้อ่านหรือผู้รับสาร รวมทั้งมีอิทธิพลที่จะสามารถครอบงำ�ผู้รับสารให้มีความคิดคล้อยตามได้ โดยผู้เขียนได้สอดใส่แนวคิด อุดมการณ์ ความเชื่อของตนโดยนำ�เสนอผ่านทางสัญญะ ให้ผู้อ่านคล้อยตามโดยไม่รู้สึกตัวและไม่ทันได้ตั้งคำ�ถาม ซึ่งก็คือ “มายาคติ” ที่ได้ผ่านกระบวนการผลิตสร้างความหมายบางอย่างขึ้นมา โดยผู้เขียนเลือกที่จะนำ�เสนอแต่มุมมองเฉพาะแง่บวกของญี่ปุ่น และอุดมการณ์ทหารนิยม รวมทั้งผู้เขียนยังทำ�ให้ผู้อ่านมองข้ามอดีตและประวัติศาสตร์ที่เป็นมุมมองด้านลบ ให้มองเห็นเฉพาะภาพและความหมายในแบบที่ผู้เขียนต้องการจะสื่อไปยังผู้รับสารนั่นเองโดยมีเป้าหมายในการสถาปนาแนวความคิดของตนให้กลายเป็นวัฒนธรรมหรือชุดความคิดหนึ่งของสังคม ถ่ายทอดแนวคิดของตนผ่านทางวรรณกรรมที่มีรูปแบบเพื่อความบันเทิงและได้รับความนิยมมากจนถูกนำ�มาผลิตซ้ำ�ในสื่อแขนงอื่น ทำ�ให้ยิ่งสามารถสื่อสารไปยังประชาชนในวงกว้างมากขึ้น และยิ่งเป็นการตอกย้ำ�ซ้ำ�เติมความหมายดังกล่าวให้กลายเป็นความจริงเสมือน รวมทั้งทำ�ให้เกิดความยินยอมพร้อมใจคล้อยตามได้โดยง่าย
Article Details
How to Cite
ศิระสาตร์ เ. (2016). “คู่กรรม”กับความคิดของผู้เสพ ที่มีต่อภาพลักษณ์ของชาวญี่ปุ่น และความเป็นญี่ปุ่น. Parichart Journal, 23(2), 41–50. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/parichartjournal/article/view/70090
Section
Research Articles