Wayang Kulit of Narathiwat: Local Knowledge for Development1

Main Article Content

มะกาดาฟี หะยีตา
สุธาสินี บุญญาพิทักษ์
เมธี ดิสวัสดิ์

Abstract

บทความนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาองค์ความรู้ท้องถิ่นมลายู “วายังกูลิต” ในบริบท
จังหวัดนราธิวาส โดยสัมภาษณ์ปราชญ์ภูมิปัญญาของชุมชนเกี่ยวกับองค์ความรู้เรื่องวายังกูลิต
ควบคู่กับการศึกษา และวิเคราะห์เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการแสดงวายังกูลิต วิเคราะห์
ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาองค์ความรู้ท้องถิ่นวายังกูลิตในจังหวัด
นราธิวาสประกอบด้วย 1) ประวัติและความเป็นมา พบว่าการแสดงวายังกูลิตจังหวัด
นราธิวาส มีต้นแบบมาจากวายังยาวอของประเทศอินโดนีเซีย มีลักษณะแตกต่างจากหนัง
ตะลุงปักษ์ใต้ 2) องค์ประกอบในการแสดงวายังกูลิต ประกอบด้วย โต๊ะดาแล ดาแลมูดอ
ปาเญาะ อุปกรณ์ ในการแสดงวายังกูลิต ได้แก่ อีบูวอแย บือแจ๊ะหรือไอแจ๊ะ กากะวอแย
ปางง เจอรีตอ ล????ำดับและหลักปฏิบัติในการแสดง 3) พิธีกรรมและความเชื่อ ประกอบด้วย
ความเชื่อเกี่ยวกับการเบิกโรงหรือไหว้ครู ความเชื่อเกี่ยวกับรูปหนัง ความเชื่อเกี่ยวกับ
ศาสนา และความเชื่อเกี่ยวกับการแสดง และ 4) ประโยชน์และสภาพวายังกูลิตในปัจจุบัน
พบว่า วายังกูลิตเป็นการแสดงที่ให้ความบันเทิง อีกทั้งมีการสอดแทรกวิถีชีวิต ตลอดจน
ส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมให้กับสังคม ซึ่งวายังกูลิตในปัจจุบันอยู่ในสภาพที่เสี่ยงต่อการ
สูญหายไปจากท้องถิ่น อันเนื่องมาจากสาเหตุหลายประการ ดังนั้น จึงควรมีการเก็บ
รวบรวมข้อมูล ซึ่งเป็นอีกหนทางหนึ่งในการอนุรักษ์ และสามารถน????ำไปพัฒนาต่อยอดใน
อนาคตได้

Article Details

How to Cite
หะยีตา ม., บุญญาพิทักษ์ ส., & ดิสวัสดิ์ เ. (2017). Wayang Kulit of Narathiwat: Local Knowledge for Development1. Parichart Journal, 30(1), 51–73. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/parichartjournal/article/view/83409
Section
Research Articles