Changes and the Creation of “Rural”Democratization in Bantai Community
Main Article Content
Abstract
การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ ภายใต้ระบบและความสัมพันธ์ทางการผลิต และการเป็น
ผู้ประกอบการใหม่ ที่เชื่อมต่อกับระบบตลาดอย่างซับซ้อนและหลากหลาย ส่งผลสำคัญ
ต่อการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งแห่งที่ โครงสร้างความรู้สึก สำนึก ตัวตนที่สัมพันธ์กับการเมือง
และความเป็นพลเมือง และมีส่วนสำคัญทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการจัดตั้งทางสังคม
ของการเมืองในสถาบันและนอกสถาบัน ไปสู่ความสัมพันธ์เชิงเครือข่ายในแนวราบ
ที่เทียมหน้าเทียมตามากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งบทบาทของกลุ่ม/ องค์กรชุมชน ได้เข้าไป
มีบทบาทในการตรวจสอบ ควบคุม และกำกับ ทำให้พื้นที่การเมืองท้องถิ่นเปิดกว้าง
สร้างพื้นที่/ ชีวิตสาธารณะ สำหรับการต่อรองเพื่อการจัดการทรัพยากร การสร้าง
วัฒนธรรม และชุดความสัมพันธ์ที่คงเส้นคงวามากขึ้น
อย่างไรก็ดี ในท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงเพื่อเปลี่ยนผ่าน ชุมชนจำเป็นต้องแสวงหา
กฎเกณฑ์ กติกา และชุดความสัมพันธ์แบบใหม่ เพื่อจัดระเบียบชุมชนให้เข้าที่เข้าทาง
สร้างการอยู่ร่วม/ แบ่งสันปันส่วนที่เท่าเทียม รวมถึงการส่งเสริม สนับสนุนการประกอบ
การทางเศรษฐกิจในระดับชุมชนท้องถิ่น การจัดตั้งสถาบันเรียนรู้เพื่อการประกอบการ
การออกแบบ/ สถาปนาโครงสร้างการเมืองท้องถิ่นให้เข้าสู่เจตนารมณ์การจัดการตนเอง
จะเป็นการเสริมแรงผลักดันอันมหาศาลต่อการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง และการเคลื่อนไหว
สู่ประชาธิปไตยที่เสมอภาค เท่าเทียม และเป็นธรรมสำหรับทุกชั้นชนในสังคม