ความสามารถในการปรับตัวของอาจารย์อุดมศึกษา ท่ามกลางสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ในรอบ 1 ทศวรรษ (พ.ศ. 2547-2557)

Main Article Content

Karuna Daengsuwan
Saritpong Limpisathian
Choochat Phuangsomjit

บทคัดย่อ

หนึ่งทศวรรษของความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ (พ.ศ.2547-2557) เป็น
โจทย์ท้าทายให้อาจารย์อุดมศึกษาในพื้นที่ต้องทบทวนและปรับตัวการทำงานตาม
บทบาทหน้าที่ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อให้อุดมศึกษาสามารถ
ร่วมแก้วิกฤตของพื้นที่สู่สันติสุขที่ยั่งยืน การวิจัยเชิงบรรยายแบบสหสัมพันธ์นี้มี
วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสามารถในการปรับตัวและความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่
เป็นสิ่งเร้ากับการปรับตัวของอาจารย์อุดมศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ กลุ่มตัวอย่าง
คือ อาจารย์สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ปฏิบัติงานก่อน
มกราคม 2547 จำนวน 190 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือการวิจัย วิเคราะห์ข้อมูล
โดยหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์
ของเพียร์สันและการทดสอบไค-สแควร์ ผลการศึกษาพบว่า 1) ค่าเฉลี่ยของคะแนนการ
ปรับตัวอยู่ในระดับมีประสิทธิภาพทั้งการปรับตัวตามบทบาทหน้าที่โดยรวมและการ
ปรับตัวรายด้าน 2) สัมพันธภาพกับผู้ร่วมงาน สัมพันธภาพกับผู้บังคับบัญชา มีความ
สัมพันธ์กับการปรับตัวตามบทบาทหน้าที่โดยรวมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

Article Details

How to Cite
Daengsuwan, K., Limpisathian, S., & Phuangsomjit, C. (2018). ความสามารถในการปรับตัวของอาจารย์อุดมศึกษา ท่ามกลางสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ในรอบ 1 ทศวรรษ (พ.ศ. 2547-2557). วารสารปาริชาต, 31(2), 165–187. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/parichartjournal/article/view/158649
บท
บทความวิจัย

References

[1] ชุลีพร วิรุณหะ. (2549). เรียนรู้ประวัติศาสตร์ 3 จังหวัดภาคใต้. ใน ความรู้และความไม่รู้ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้. 15-24. กรุงเทพฯ: อุษาการพิมพ์.
[2] นิธิ เอียวศรีวงศ์. (2550). “สังเขปประวัติศาสตร์มลายูปตานี” ใน มลายูศึกษา ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับประชาชนมลายูมุสลิมในภาคใต้. 47-55. กรุงเทพฯ: อมรินทร์.
[3] สุรชาติ บำรุงสุข. (2550). วิกฤตใต้ สู้ด้วยยุทธศาสตร์และปัญญา. กรุงเทพฯ: เอดิสัน เพรสโพรดักส์.
[4] สุริชัย หวันแก้ว. (2550). คนชายขอบ: จากความคิดสู่ความจริง (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
[5] เอก ตั้งเจริญทรัพย์ และอรอร ภู่เจริญ. (2552). ปัญหาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้และข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย. กรุงเทพฯ:
วี. พริ้นท์.
[6] อาคม ใจแก้ว. (2553). “รูปแบบการบริหารที่เหมาะสมสำหรับพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้กับการประยุกต์ใช้”, วารสารสงขลานครินทร์ ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์. 16(6), พฤศจิกายน-ธันวาคม, 990-1011.
[7] สำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า. (2554). “รายงานปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้: บทวิเคราะห์และแนวทางแก้ปัญหาเชิงรุกที่ยั่งยืนด้วยสันติวิธีจากมุมมองของนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรชั้นสูงการเสริมสร้างสันติสุขชายแดนใต้ รุ่นที่ 1”. ใน สรุปการประชุมวิชาการสถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 11 เรื่อง ความขัดแย้ง ความชอบธรรม และการปฏิรูประบบรัฐ การจัดสรรผลประโยชน์ที่เป็นธรรมในสังคมไทย. 581-585. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.
[8] พรเพ็ญ คงขจรเกียรติ และรพีพรรณ สายัณห์ตระกูล. (2556). สันติภาพและยุติธรรมที่ยั่งยืน ประสบการณ์การทำงาน “โครงการพัฒนาการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมสำหรับประชาชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย”. กรุงเทพฯ: พี. เพรส.
[9] ศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธี มหาวิทยาลัยมหิดล. (2552). ชุมชนในสถานการณ์ความขัดแย้ง พลวัตและการพัฒนา. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
[10] จรัส สุวรรณเวลา. (2545). อุดมศึกษาไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
[11] ธวัช ชิตตระการ และคณะ. (2551). รายงานวิจัยการติดตามนโยบายการหลอมรวมสถาบันการศึกษาต่าง ๆ เป็นมหาวิทยาลัย กรณีศึกษา : มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.
[12] Roy, S.C. and Andrews, H. A. (1991). The Roy Adaptation Model: The Definitive Statement. Connecticut Appleton & Lange.
[13] Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3rd ed.). New York: Harper and Row.
[14] Hinkle, D.E, William, W. and Stephen G. J. (1998). Applied Statistics for the Behavior Sciences. (4th ed.). New York: Houghton Mifflin.
[15] สามารถ ทองเฝือ. (2556). “ครู ในสถานการณ์ไฟใต้ บนย่างก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน”, วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. 24(พิเศษ), (มกราคม-ธันวาคม). 13-28.
[16] ศรัณยธร คงศรีวรกุลชัย. (2551). ความเข้าใจต่อบทบาทหน้าที่กับการปรับตัวของตำรวจที่ปฏิบัติหน้าที่ในชายแดนภาคใต้. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาพัฒนาการ บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยรามคำแหง.
[17] ต่วนโรสณา โต๊ะนิแต ประชา ฤาชุตกุล และวิรัตน์ ธรรมาภรณ์. (2552). “ขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของครูในเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดยะลา” วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. 20(2), (กรกฎาคม-ธันวาคม). 260-275.
[18] ชุมศักดิ์ อินทร์รักษ์ และอ้อมใจ วงษ์มณฑา. (2552). “บทบาทสถาบันอุดมศึกษาที่มีอิทธิพลต่อการส่งเสริมวัฒนธรรมและค่านิยมของเยาวชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้”, วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. 20(2), กรกฎาคม-ธันวาคม, 162-179.
[19] กฤตยา อาชวนิจกุล กุลภา วจนสาระ และหทัยรัตน์ เสียงดัง. ความรุนแรงและความตายภายใต้นโยบายรัฐ: กรณีสามจังหวัดชายแดนภาคใต้. สืบค้นเมื่อ 1 กันยายน 2558, จาก http://www.ipsr.mahidol.ac.th.
[20] Schein, E. H. (1970). Organizational Psychology. (2nd ed). New Jersey Prentice-Hall.
[21] Hoy, W. K. and Miskel, C. G. (2008). Educational Administration: Theory Research and Practice. (8th ed.) New York: McGraw-Hill.
[22] วลัยพร ชววัฒนาพงศ์. (2548). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการปรับตัวของพยาบาลตำรวจวิชาชีพต่อระบบมาตรฐานคุณภาพโรงพยาบาลตำรวจ กรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพฯ: บัณฑิตศึกษา
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
[23] ทิพมาศ กาลิกา. (2546). ปัจจัยทางจิตสังคมที่สัมพันธ์กับความสามารถในการปรับตัวทางสังคมของคนพิการทางการเคลื่อนไหว. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (การวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์). กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
[24] วัฒนะ พรหมเพชร และสุวิมล นราองอาจ. (2552). “ภาวะสุขภาพจิตของครูในเขตพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้” วารสารสงขลานครินทร์ ฉบับสังคมศาสตรและมนุษยศาสตร์. 15(4). (กรกฎาคม-สิงหาคม). 631-658.
[25] ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี. (2557). สรุปสถานการณ์ความรุนแรงในรอบ 45 เดือน จังหวัดชายแดนภาคใต้ (ระหว่างเดือนมกราคม พ.ศ. 2547-กันยายน พ.ศ. 2550) ศูนย์เฝ้าระวังเชิงองค์ความรู้สถานการณ์ภาคใต้ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัย
สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. สืบค้นเมื่อ 20 เมษายน 2551, จาก http://www.deepsouthwatch.org/index.
[26] ซัรฟุดดีน หะยี. (2541). การเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับตัวแปรที่มีผลต่อขวัญในการปฏิบัติงานของครูอาสาสมัครการศึกษานอกโรงเรียนที่ปฏิบัติงานใน 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ระหว่างกลุ่มที่มีภูมิหลังต่างกัน. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต (การศึกษานอกระบบโรงเรียน). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.