พฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของผู้สูงอายุ

Main Article Content

สุทธยา สมสุข

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์เฟซบุ๊กของผู้สูงอายุ
กระบวนการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ และความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์เฟซบุ๊กกับกระบวนการตัดสินใจซื้อ เก็บข้อมูลจากผู้สูงอายุในจังหวัดสงขลา ผลการวิจัยพบว่า ผู้สูงอายุใช้เฟซบุ๊กมานาน มากกว่า 2 ปี ใช้สัปดาห์ละ 5 – 6 ครั้ง เพื่อติดต่อกับคนในครอบครัว มีเพื่อนในเฟซบุ๊กมากกว่า 50 คน ส่วนใหญ่เป็นญาติพี่น้อง ใช้ในช่วงเวลาระหว่าง 16.01-18.00 น. และในที่พักอาศัยของตนเอง ใช้เฟซบุ๊กเพื่อติดตามการโพสต์ของญาติพี่น้อง กระบวนการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ของผู้สูงอายุขึ้นอยู่กับความถี่ในการใช้สื่อสังคมออนไลน์ จำนวนเพื่อนในเฟซบุ๊ก และสถานที่ที่นิยมใช้สื่อสังคมออนไลน์เฟซบุ๊ก ซึ่งทุกประเด็นมีความสัมพันธ์ในระดับปานกลางยกเว้นระยะเวลาในการใช้สื่อสังคมออนไลน์เฟซบุ๊กที่มี่ความสัมพันธ์ในระดับต่ำ ณ ระดับนัยสำคัญ 0.05 ข้อเสนอแนะจากงานวิจัย คือ ผู้สูงอายุที่มีเพื่อนในเฟซบุ๊กตั้งแต่ 50 คนขึ้นไปและใช้เฟซบุ๊กมากกว่าสัปดาห์ละครั้งเป็นกลุ่มที่มีการตัดสินใจซื้อผ่านระบบออนไลน์ โดยเฉพาะ เมื่ออยู่นอกบ้าน เป็นกลุ่มเป้าหมายที่น่าสนใจ

Article Details

How to Cite
สมสุข ส. (2020). พฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของผู้สูงอายุ. วารสารปาริชาต, 33(1), 62–77. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/parichartjournal/article/view/192059
บท
บทความวิจัย

References

Institute for Population and Social Research. (2018). Situation of the Thai elderly 2017. Mahidol University. (In Thai)

Positioning Magazine. (2019). Insight into the way of the media age “LINE-TV-FACEBOOK” Occupying the old age.Bangkok.Religion Information. Retrieved on September 5, 2018, from: https://positioningmag.com/1186242. (In Thai)

Pongwichai, S. (2015). Statistical analysis by computer. (25th ed.). Bangkok: Chulalongkorn Publishing House. (In Thai)

“Statistical Report of Songkhla Province”. (2017). Songkhla Provincial Statistical Office.

Wanichbancha, K. (2008). Using SPSS for Windows to analyze data. (11st ed.). Bangkok: The Thammasart Printing Factory. (In Thai)

Sumolonsan, S. (2017). Pre-post comparison and combined testing for research. Academic journal. Buriram: Buriram Rajabhat University. (In Thai)

Wiboonsek, M. (2013). Women behavior in Mueang Chiang Mai District towards social media marketing exposure Online Chiang Mai: Independent Study. Master of Business Administration, Chiang Mai: Chiang Mai University. (In Thai)

Saengchanada, S. (2013). Online social media and online consumer product purchasing process in Thailand. Khon Kaen: Independent research, Master of Business Administration, Khon Kaen: Khon Kaen University. (In Thai)

Nangyam, A. (2013). Social media Twitter behavior of Ramkhamhaeng University Students. Bangkok: Master of Arts (Mass Communication), Bangkok: Ramkhamhaeng University. (In Thai)

Siriwong, P. & Unhalekjit, B. (2017). Social media use of the elderly in the market area of Sam Phran Subdistrict, Sam Phran District, Nakhon Pathom Province. Research report, Bangkok: Silpakorn University. (In Thai)