มาตรการทางกฎหมายในการแก้ไขหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้สำหรับลูกหนี้ของสถาบันการเงินตามพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551

Main Article Content

เสถียร ดีเลิศประดิษฐ์
จรัล เล็งวิทยา

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์มาตรการทางกฎหมายในการแก้ไขหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้สำหรับลูกหนี้ของสถาบันการเงินตามพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551โดยการนำแนวนโยบายธนาคารแห่งประเทศไทยเกี่ยวกับการปรับโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงิน หลักความศักดิ์สิทธิของเจตนา หลักเสรีภาพในการทำสัญญา หลักมูลค่ายุติธรรมของหนี้หรือหลักประกัน การประนีประนอมยอมความ และกฎหมายของสาธารณรัฐประชาชนจีน มาใช้เป็นกรอบในการวิเคราะห์


ผลการวิเคราะห์ พบว่า พระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ยังไม่มีบทบัญญัติในการแก้ไขหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ลูกหนี้ของสถาบันการเงินเกี่ยวกับการปรับโครงสร้างหนี้ การบังคับชำระหนี้กับหลักประกัน เพื่อคุ้มครองสิทธิลูกหนี้และเจ้าหนี้สถาบันการเงิน จึงจำเป็นต้องมีมาตรการทางกฎหมายแก้ไขหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ลูกหนี้ของสถาบันการเงิน โดยการกำหนดบทบัญญัติเกี่ยวกับการปรับโครงสร้างหนี้ กำหนดสิทธิ หน้าที่ หลักเกณฑ์ ขั้นตอน วิธีการ ให้เจ้าหนี้สถาบันการเงินและลูกหนี้ผู้ที่เกี่ยวข้องถือปฏิบัติ และการชำระหนี้ต้องได้รับตามมูลค่ายุติธรรมของหนี้หรือหลักประกัน นำลักษณะสินทรัพย์หรือหนี้สิน การทำธุรกรรมและราคาตลาดของหลักประกันมาพิจารณา อีกทั้งเพื่อให้กระบวนการบังคับชำระหนี้ที่รวดเร็วขึ้นเจ้าหนี้ซึ่งเป็นสถาบันการเงินกับลูกหนี้สามารถไกล่เกลี่ยระงับข้อพิพาทหรือปรับโครงสร้างหนี้ โดยเจ้าหนี้สถาบันการเงินสามารถบังคับชำระหนี้เอากับหลักประกันของลูกหนี้ได้ด้วยการขอต่อศาลโดยไม่ต้องฟ้องคดีแพ่ง

Article Details

How to Cite
ดีเลิศประดิษฐ์ เ., & เล็งวิทยา จ. (2022). มาตรการทางกฎหมายในการแก้ไขหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้สำหรับลูกหนี้ของสถาบันการเงินตามพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551. วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์, 12(3), 616–627. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/phdssj/article/view/245417
บท
บทความวิชาการ

References

Accounting Standards for Business Enterprises No. 12 – Debt restructuring. (2022). Retrieved from http://www.gov.cn/xinwen/2019-05/31/5396338/files/793bf414d4294ba0b116fb4 69346114b.pdf

Bank of Thailand. (2022). Performance of the Commercial Banking System in 2020. Retrieved from https://www.bot.or.th/Thai/PressandSpeeches/Press/News2564/n1064t.pdf [In Thai]

Next year’s bank profit is higher than this year, keep an eye on NPL’s upward trend for the 9th consecutive year. (2022). Retrieved from https://www.prachachat.net/finance/news-828548 [In Thai]

Notification of the Bank of Thailand No. FNS. (01) W. 195/2018 Re: Debt restructuring. (2022). Retrieved from https://www.bot.or.th/Thai/FIPCS/Documents/FPG/2561/ThaiPDF/25610277.pdf [In Thai]

Sotthibandhu, S. (2017). Explanation of juristic acts-contracts (22nd ed.). Winyuchon. [In Thai]

Srijunpetch, S. (2016). Auditor and fair value auditing. Journal of Business Administration, The Association of Private Education Institutions of Thailand, 5(2), 9-15. [In Thai]

Tabbuttanon, P. (2017). Principles of private law. Krung Siam. [In Thai]