มาตรการทางกฎหมายในการกำหนดความรับผิดของผู้มีสัตว์เลี้ยงในความครอบครอง
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพปัญหากฎหมายในการกำหนดความรับผิดของผู้มีสัตว์เลี้ยงในความครอบครองของไทย (2) ศึกษาและเปรียบเทียบกฎหมายความรับผิดของผู้มีสัตว์เลี้ยงในความครอบครองของไทยกับต่างประเทศ (3) ร่างกฎหมายความรับผิดของผู้มีสัตว์เลี้ยงในความครอบครองของไทย และ (4) ประเมินร่างกฎหมายความรับผิดของผู้มีสัตว์เลี้ยงในความครอบครองของไทย ผู้วิจัยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ การวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์เจาะลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 38 คน และการสนทนากลุ่มจำนวน 12 คน และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาและเปรียบเทียบ
ผลการวิจัย พบว่า ความรับผิดของผู้มีสัตว์เลี้ยงในความครอบครองของประเทศไทยยังไม่มีการกำหนดคำนิยาม“สัตว์เลี้ยง” และแบ่งประเภทของสัตว์เลี้ยงให้ชัดเจน รวมทั้งความรับผิดของเจ้าของหรือผู้ครอบครองตามประเภทของสัตว์เลี้ยงที่ก่อให้เกิดความเสียหาย ส่วนในกรณีสัตว์เลี้ยงก่อเหตุรำคาญหรือเจ้าของนำสัตว์เลี้ยงไปปล่อยให้กลายเป็นสัตว์ไม่มีเจ้าของนั้นมีบทลงโทษในสถานเบาเมื่อเปรียบเทียบกับต่างประเทศ ดังนั้น จึงต้องกำหนดให้มีการขึ้นทะเบียนสัตว์เลี้ยง การออกกฎหมายกลางเพื่อให้ท้องถิ่นนำไปปฏิบัติได้ กำหนดอำนาจหน้าที่แก่เจ้าหน้าที่และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้ชัดเจน ตลอดจนการนำมาตรการทางปกครองมาใช้บังคับเพิ่มเติม
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความวิชาการ บทความวิจัย และบทวิจารณ์หนังสือในวารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์ เป็นความคิดเห็นของผู้เขียน มิใช่ของคณะผู้จัดทำ และมิใช่ความรับผิดชอบของสมาคมปรัชญาดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง (กรณีการทำวิจัยในมนุษย์ ผู้วิจัยต้องผ่านการอบรมจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ และนำหลักฐานมาแสดง)
References
Chantara-Opakorn, A. (1988). Infrastructure of law. In. A collection of articles on the occasion of the 60th anniversary of Dr. Preedee Kasemsup (pp. 95-108). Thammasat University, Faculty of Law. [In Thai]
Department of Livestock Development. (2019). Pet register. Retrieved from http://164.115.40.46/petregister [In Thai]
Lertdhamtewe, P. (2015). The constitution guarantees and protects fundamental rights in the environment. Office of the Constitutional Court. [In Thai]
Nuntatripob, N. (2018). Pet registration and social and environmental dimensions. Retrieved from https://dl.parliament.go.th/backoffice/viewer2300/web/viewer.php [In Thai]
Setthabutr, J. (2013). Principles of civil law on torts (8th ed.). Thammasat University, Faculty of Law, Project of Textbooks and Documents Used in Teaching. [In Thai]
Supanit, S. (2010). Explanation of the civil and commercial code on infringement (7th ed.). Niti Bannakan. [In Thai]
Wannasang, P. (1984). Liability for tort under the civil and commercial code. Thammasat Law Journal, 14(4), 78-91. [In Thai]