การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากเรื่องราวของความทุกข์ที่เสมือนนรกในใจคน
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหารูปแบบและแนวคิดที่ได้หลังจากการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์โดยใช้รูปแบบงานวิจัยเชิงคุณภาพและงานวิจัยเชิงสร้างสรรค์ที่มีการศึกษาข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้องกับหัวข้องานวิจัยการสัมภาษณ์ สื่อสารสนเทศ การสังเกตการณ์ เกณฑ์การสร้างมาตรฐานในการยกย่องบุคคลต้นแบบทางด้านนาฏยศิลป์และประสบการณ์ส่วนตัวของผู้วิจัย มาเป็นแนวทางในการวิเคราะห์สังเคราะห์และสร้างสรรค์ผลงานนาฏยศิลป์
ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบของนาฏยศิลป์สร้างสรรค์ในครั้งนี้แบ่งออกเป็น 8 องค์ประกอบการแสดง ได้แก่ (1) บทการแสดงที่ได้แรงบันดาลใจจากประสบการณ์ตรงของผู้วิจัยรวม 5 องก์ ประกอบด้วย องก์ 1 ความเหงา องก์ 2 ไม่ครบองค์ประกอบ องก์ 3 คิดไปเอง องก์ 4 ประเด็น ทุรนทุราย และองก์ 5 นรกในใจ (2) นักแสดงที่มีทักษะความสามารถที่แตกต่างกันทางด้านนาฏยศิลป์และด้านศิลปะการแสดง รวมจำนวน 2 คน (3) ลีลานาฏยศิลป์ใช้ลีลาการเคลื่อนไหวแบบในชีวิตประจำวัน เป็นลีลานาฏยศิลป์พื้นฐาน จากนั้นผู้วิจัยได้สร้างสรรค์ลีลานาฏยศิลป์จากรูปแบบนาฏยศิลป์ตามขนบจารีตประเพณีของตะวันออกและตะวันตก ประกอบด้วย รำไทย บัลเลต์ และภารตนาฏยัม (4) เสียงและดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดงเสียงจากเครื่องอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องซินธิไซเซอร์ (5) อุปกรณ์ประกอบการแสดงแคนวาสวาดภาพและขาตั้งวาดภาพ (6) เครื่องแต่งกายลายกราฟฟิก (7) แสง ใช้สีของแสงในการสร้างมิติการรับรู้ถึงสภาวะทางอารมณ์ สถานที่และเวลา และ (8) พื้นที่การแสดงใช้โรงละครในลักษณะ แบล็ค บ๊อกซ์ เธียเตอร์ นอกจากนี้ ผู้วิจัยยังได้คำนึงถึงแนวคิดที่ได้หลังจากการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากเรื่องราวของความทุกข์ที่เสมือนนรกในใจคน ทั้ง 5 ประการ ได้แก่ (1) เรื่องราวของความทุกข์ที่เสมือนนรกในใจคน (2) การสื่อสารกับผู้ชมที่เป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่ (3) ทฤษฎีและแนวคิดทางด้านนาฏยศิลป์และด้านทัศนศิลป์ (4) การใช้สัญลักษณ์ในผลงานนาฏยศิลป์ และ (5) ความคิดสร้างสรรค์ในผลงานนาฏยศิลป์ ซึ่งผลการทดลองทางด้านนาฏยศิลป์ในองค์ประกอบต่าง ๆ นั้น ได้ปรากฏขึ้นในผลงานการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากเรื่องราวของความทุกข์ที่เสมือนนรกในใจคนตรงตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ทุกประการ
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความวิชาการ บทความวิจัย และบทวิจารณ์หนังสือในวารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์ เป็นความคิดเห็นของผู้เขียน มิใช่ของคณะผู้จัดทำ และมิใช่ความรับผิดชอบของสมาคมปรัชญาดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง (กรณีการทำวิจัยในมนุษย์ ผู้วิจัยต้องผ่านการอบรมจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ และนำหลักฐานมาแสดง)
References
Boonrach, T. (2020, October 15). Personal interview. [In Thai]
Boonrach, T. (2021, April 16). Personal interview. [In Thai]
Charassri, N. (2020, October 17). Personal interview. [In Thai]
Charassri, N. (2021, April 16). Personal interview. [In Thai]
Department of Mental Health. (2020a). Gen Y/Gen Me, a large population in the digital era. Retrieved from https://dmh.go.th/news/view.asp?id=2293 [In Thai]
Department of Mental Health. (2020b). How to not be a person who thinks a lot. Retrieved from https://dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=30152 [In Thai]
Goetsch, S. P. (2020). Hainbach. Retrieved from https://www.hainbachmusik.com
Hajali, S. (2017). Abstract expressionism: A case study on Jackson Pollock’s Works. Journal of History Culture and Art Research, 5(4), 311-320.
Her Royal Highness Princess Sirivannavari Nariratana Rajakanya. (2019). SIRIVANNAVARI brand. Retrieved from https://www.vogue.co.th/fashion/article/hrhcollectionfw19 [In Thai]
Hook, S., & Taylor, E. (2020). November dance performed on new set, livestreamed. Retrieved from https://news.illinois.edu/view/6367/363338649
Ketprayoon, P. (2020, October 15). Personal interview. [In Thai]
Ketprayoon, P. (2020, October 16). Personal interview. [In Thai]
Kruekrongsuk, S. (2021). Perception of light and colour. Retrieved from https://th-th.facebook.com/butheatreofficial/posts/1250247051667735 [In Thai]
Kuanium, W. (2017). Soundscape composition: Spirit of Prang-koo. Master’s Thesis of Master (Music Research and Development), Silpakorn University. [In Thai]
Panomrak, J. (2021, April 16). Personal interview. [In Thai]
Pereira, S. (2018). The experience theater choreographed by Pina Bausch. Brazilian Journal on Presence Studies, 8(3), 487-521.
Pichet Klunchun and Body Language for 7 Decades of Human Rights. (2020). Retrieved from https://www.bangkokbiznews.com/lifestyle/911181 [In Thai]
Salinger, J. D. (1979). The catcher in the Rye. Little, Brown and Company.
Srisanya, K. (2021, April 16). Personal interview. [In Thai]
Sukee, P. (2019). LOR: Amalgamating Thai dance and western drama for constructing identity of Thai modern drama. Doctoral Dissertation of Philosophy (Thai Theater and Dance), Chulalongkorn University. [In Thai]
Sukee, P. (2022). Dear death. Retrieved from https://mgronline.com/entertainment/detail/9520000028527 [In Thai]
Vadhaditya, V. (2020, October 16). Personal interview. [In Thai]
Wongrajit, K. (2021). Permanent secretary for public health gave the main idea: The new generation of executives, the new generation, must be good, smart and happy. Retrieved from https://dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=30653 [In Thai]