แนวทางปฏิรูปกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการฝ่ายรัฐสภา

Main Article Content

จเร พันธุ์เปรื่อง
ไพศิษฐ์ พิพัฒนกุล

Abstract

ดุษฎีนิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการฝ่ายรัฐสภา ซึ่งบัญญัติให้มีการจัดระเบียบบริหารราชการฝ่ายรัฐสภาเพื่อรองรับและสนับสนุนการปฏิบัติหน้าที่ของรัฐสภา พร้อมทั้งปัญหาที่เกิดขึ้นจากการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการฝ่ายรัฐสภา ทั้งในส่วนที่เกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ การจัดระบบงาน การบริหารงานบุคคล และวิธีการงบประมาณของส่วนราชการในสังกัดรัฐสภา ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพของรัฐสภา สภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา ตลอดจนแนวทางในการปฏิรูปกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการฝ่ายรัฐสภา เพื่อใช้สำหรับการปฏิรูประบบราชการของฝ่ายนิติบัญญัติให้สามารถสนับสนุนการปฏิบัติหน้าที่ของรัฐสภา สภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยการเสนอให้แก้ไขกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการฝ่ายรัฐสภา ส่วนของระเบียบวิธีวิจัย ได้ทำการวิจัยโดยการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย การวิจัยเอกสารที่เกี่ยวกับวรรณกรรมทางกฎหมายมหาชน รัฐธรรมนูญ และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการบริหารราชการฝ่ายรัฐสภาของไทยและของต่างประเทศ การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิชาการ และบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการฝ่ายรัฐสภา และการประชุมระดมสมองผู้ที่เกี่ยวข้องกับการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการฝ่ายรัฐสภา เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่ได้จากการวิจัยเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึก ควบคู่ไปกับการหาแนวทางในการแก้ไขปัญหา

ผลการวิจัย พบว่า มีปัญหาเกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการฝ่ายรัฐสภาเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการสังกัดรัฐสภา การจัดระบบงาน การบริหารงานบุคคล และวิธีการงบประมาณของส่วนราชการสังกัดรัฐสภา จำเป็นต้องปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการฝ่ายรัฐสภา เพื่อให้มีส่วนราชการสังกัดรัฐสภา 3 ส่วนราชการ คือ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการทั่วไปของสภาผู้แทนราษฎรที่เป็นงานการประชุมสภาผู้แทนราษฎรและงานการประชุมรัฐสภา สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา และสำนักงานรัฐสภา มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการทั่วไปของรัฐสภาในส่วนที่เกี่ยวกับงานช่วยอำนวยการ งานวิชาการ และงานองค์การรัฐสภาระหว่างประเทศ

 

GUIDELINE FOR MODIFYING THE LAW ON THE ADMINISTRATION OF PARLIAMENT

In this dissertation, the researcher examines the Law on the Administration of Parliament design to accommodate and support parliamentary performance. The researcher also investigates problems arising from enforcing the law on parliamentary administration. These problems involve the authority, duties, the organization of personal management system, and the budgeting procedures of government agencies under the jurisdiction of parliament. All of these affect the efficiency in which the bicameral Parliament-the House of Representatives and the Senate-conduct its affairs. As such, the researcher studies different approaches to making changes in the law. Accordingly, the researcher believes that these changes would introduce reform in the legislative body’s bureaucracy that would be conductive to greater efficiency in the work of Parliament. In this light, then the researcher proposes amending the Law on Parliamentary Administration. In regard to research methodology, the researcher employed qualitative research methods. This consisted of documentary research on the literature of public law, the Constitution and the law bearing on parliamentary administration in both the jurisdiction of the Kingdom of Thailand and selected foreign jurisdictions. In addition, the researcher conducted in-depth interviews with experts, academics and other persons concerned with enforcing the law on parliamentary administration. Brainstorming was carried out with the aforementioned parties engaged in enforcing the law in this domain for the purpose of establishing whether the information obtained through documentary research and in-depth interview was correct. If the accuracy of this information was assured, then it could be used in the course of searching for approaches conducive to solving salient problems in parliamentary administration.

In the researcher’s view, it is necessary to amend the law governing three government agencies under the jurisdiction of Parliament. The Secretariat of the House of Representatives exercises authority over general parliamentary affairs, especially sittings of the House of Representatives and sittings of the Parliament. The Secretariat of the Senate wields authority over general affairs impinging on the sittings of the Senate. The Secretariat of the Parliament projects authority over the general affairs of the Parliament related to administration, the work of technical experts, and inter-parliamentary affairs.

Article Details

How to Cite
พันธุ์เปรื่อง จ., & พิพัฒนกุล ไ. (2016). แนวทางปฏิรูปกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการฝ่ายรัฐสภา. Ph.D. In Social Sciences Journal, 6(2), 112–123. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/phdssj/article/view/66711
Section
Research Article