มาตรการทางกฎหมายเพื่อรองรับอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรมหรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี

Main Article Content

ปรัชญ์ชา กระมลนิติธรรม
สุขสมัย สุทธิบดี

Abstract

การวิจัยเรื่องมาตรการทางกฎหมายเพื่อรองรับอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรมหรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) หลักการความเป็นมา และมาตรการที่บัญญัติในอนุสัญญา (2) ศึกษาเปรียบเทียบมาตรการทางกฎหมายเพื่อรองรับอนุสัญญาของประเทศไทยกับต่างประเทศ (3) เสนอแนะแนวทางแก้ไขมาตรการกฎหมายของประเทศไทยเพื่อรองรับกับอนุสัญญาดังกล่าว โดยใช้วิธีการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพศึกษาจากเอกสารทางวิชาการงานวิจัยต่างๆ และเก็บข้อมูลภาคสนามโดยการใช้การสัมภาษณ์เจาะลึกจากผู้ทรงคุณวุฒิ

ผลการวิจัย พบว่า อนุสัญญา มีโครงสร้างของเนื้อหาที่ครอบคลุมถึงหลักการและพันธกรณีข้อผูกพันของรัฐภาคี  ทั้งภาคสารและวิธีสบัญญัติ วัตถุประสงค์ มุ่งเน้นในการป้องกัน และลงโทษต่อการกระทำทรมาน ซึ่งกระทำโดยเจ้าพนักงานรัฐ หรือบุคคลอื่นที่กระทำในนามของเจ้าพนักงานหรือการยุยง หรือโดยความยินยอม หรือรู้เห็นเป็นใจของเจ้าพนักงานรัฐ หรือบุคคลที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่แทน และยังครอบคลุมถึงการปฏิบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย, ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี รัฐภาคีบัญญัติต้องบัญญัติกฎหมายให้สอดคล้องเพื่อให้อนุสัญญามีผลบังคับใช้อย่างเป็นรูปธรรม ประเทศไทย ปัจจุบันมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการต่อต้านการทรมานมากกว่า 20  ฉบับ และยังพบว่า บทบัญญัติยังไม่สอดคล้องกับอนุสัญญา ดังนั้น หากจะต้องแก้ไขกฎหมายแต่ละฉบับให้สอดคล้องก็จะต้องบัญญัติหลักการเช่นเดียวกันในกฎหมายทุกฉบับ การตราขึ้นเป็นกรณีพิเศษจะมีความเหมาะสมและไม่ซ้ำซ้อนเกินความจำเป็น พระราชบัญญัติที่จะตราขึ้นนั้น ควรมีแนวทาง ดังนี้ ในภาคสารบัญญัติ บัญญัติมาตรการ เช่น กำหนดบทนิยาม การทรมาน และบทนิยามอื่นๆ การไม่อาจอ้างเหตุเกี่ยวกับพฤติการณ์พิเศษใดเพื่อการทรมาน การกำหนดความผิดการทรมาน การพยายาม การสนับสนุน หรือการรู้เห็นเป็นใจ หรือการมีส่วนร่วมการทรมาน การกำหนดบทลงโทษ เช่น กระทำทรมานต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 3 ปี ถึง 20 ปี และปรับเป็นเงินตั้งแต่ห้าหมื่นถึงหนึ่งแสนบาท การกำหนดอายุความ 20 ปี

 

LEGAL MEASURES TO SUPPORT THE CONVENTION AGAINST AND OTHER CRUEL INHUMAN OR DEGRADING TREATMENT OR PUNISHMENT

This investigation is Legal Measures to Support the Convention Against and Other Cruel, Inhuman or Degrading Treatment or Punishment is concerned to (1) The principle, background and the measures provided in the convention (2) Comparison of legislative measures to support the convention of the international (3) Suggest the solutions of legal measures to support the convention. Use qualitative research method from various academic research and field trip data collection by in-depth interview the experts as the key informants.

The finding as found that detainees have the structure of the material covers the principles and obligations of stages parties’ obligations both the substance and procedure of law. The objective as to focuses on prevention and punish of torture that done by state officials, other person acting on behalf of the officer, the instigator, the consent, the acquiescence of public official, a person assigned to duty instead. That also covers the practice or cruel, inhuman and degrading treatment dignity.  State law requires the parties to the convention of pact in accordance with the legislation in force at the concrete laws. Currently, there are laws against torture more than 20 patents and also found that the provision does not comply according to the pact in Thailand. Therefore the low needs to be modified to fit each would have the same legal principles in every issue. Enacted a special case should be appropriate and not unnecessarily redundant. Act to be enacted; it should approach the matter in the law. Law measures, such as the definition of torture and other definitions may not claim any special circumstances about to torture. The claim could not define the offense of torture to try to support or acquiescence and participation in torture. To impose sanctions, such as torture, imprisonment ranging from three to 20 years and a fine of five thousand to one hundred thousand baht. The age limits of 20 years and start counting the age when the offense suffered. Do not listen to the evidence obtained by torture were used as evidence in litigation and principles transported onward extradition. In terms of, the department of statistics act, such as the authority of the Committee against Torture. The Department of Rights and Liberties Protection Department of Justice serves as administrative offices. The investigation questioned the authority to prosecute torture and determining remedies.

Article Details

How to Cite
กระมลนิติธรรม ป., & สุทธิบดี ส. (2016). มาตรการทางกฎหมายเพื่อรองรับอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรมหรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี. Ph.D. In Social Sciences Journal, 6(2), 150–175. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/phdssj/article/view/66722
Section
Research Article