ศึกษาสภาพการจัดการของเกษตรผู้ปลูกแก้วมังกรในตำบลร่องจิกอำเภอภูเรือ จังหวัดเลย

Main Article Content

อารีรัตน์ ภูธรรมะ

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาสภาพการจัดการของเกษตรกรผู้ปลูกแก้วมังกร ในตำบลร่องจิก อำเภอภูเรือ จังหวัดเลย และ (2) เพื่อเปรียบเทียบสภาพการจัดการของเกษตรกรผู้ปลูกแก้วมังกร ในตำบลร่องจิก อำเภอภูเรือ จังหวัดเลย จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลของเกษตรกร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณครั้งนี้ คือ เกษตรกรผู้ปลูกแก้วมังกร ในตำบลร่องจิก อำเภอภูเรือ จังหวัดเลย จำนวน 205 ตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .946 สถิติที่ใช้ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ สถิติ t-test independent และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (ANOVA) และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยรายคู่ด้วยวิธี LSD และทำการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างกับเกษตรกรผู้ปลูกแก้วมังกรที่มีประสบการณ์ปลูกมานาน 30 คน

ผลการวิจัย พบว่า

1. ผลการศึกษาสภาพการจัดการของเกษตรผู้ปลูกแก้วมังกร ตำบลร่องจิก อำเภอภูเรือ จังหวัดเลย โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก ด้านการนำ ด้านการควบคุม ด้านการวางแผน และ ด้านการจัดองค์การ ตามลำดับ

2. ผลการเปรียบเทียบสภาพการจัดการของเกษตร จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลของเกษตรกร พบว่า เกษตรกรที่มี เพศอายุ และระยะเวลาดำเนินธุรกิจแก้วมังกร แตกต่างกัน มีสภาพการจัดการโดยภาพรวมไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และเกษตรกรที่มีระดับการศึกษาที่แตกต่างกัน มีสภาพการจัดการโดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณารายคู่ในด้านการควบคุม เกษตรกรที่มีระดับการศึกษาประถมศึกษาแตกต่างกับเกษตรกรที่มีระดับการศึกษา ปวส./ปวท. หรือเทียบเท่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

3. ผลจากการสัมภาษณ์เกษตรกรผู้ปลูกแก้วมังกรเกี่ยวกับการจัดการให้ประสบผลสำเร็จ พบว่า ด้านการวางแผน เกษตรกรต้องมีการวางแผนทางการเงินและบุคลากร ด้านการจัดองค์การ เกษตรกรต้องจัดแบ่งหน้าที่ในการทำงาน ด้านการนำ เกษตรกรต้องมีความรู้ในการปลูกแก้ว ด้านการควบคุม เกษตรกรต้องควบคุมการทำงาน ได้แก่ การทำบัญชี รายงานผลการดำเนินงาน ควบคุมการทำงานของบุคลากร การผลิต และการตลาด

 

SRATE OF FARMERS’ DRAGON FRUIT MANAGEMENT FROM RONGJIK SUB-DISTRICT, PHURUA DISTRICT, LOEI PROVINCE

This research aimed (1) to study state of farmers’ dragon fruit management from Rongjik sub-district, Phurua district, Loei province and (2) to compare these state classified by their personal factors. Samples were 205 dragon fruit farmers from Rongjik sub-district, Phurua district, Loei province. Research tool was a rating scale questionnaire with its reliability at .946. Statistics used was frequency, percentage, mean, SD, t-test independent, ANOVA, and LSD for a pair test. 30 informants who had experienced in dragon fruit plants were interviewed using the structured interview form for qualitative technique.

The results found that:

1. Dragon fruit management by farmers from Rongjik sub-district, Phurua district, Loei province was at a high level. The highest aspect was Initiative followed by Control and Planning while the lowest was Organizational Management

2. A comparison of the dragon fruit management classified by their personal factors showed that: Farmers with different genders, ages, and duration of business operation had entirely indifferent state in management of dragon fruit business with a statistical significance at 0.05 level., and Farmers with different educational background had wholly indifferent state in management of dragon fruit business. When considering the pair test for Control, farmers with primary education differed from farmers with secondary education or diploma equivalence with a statistical significance at 0.05.

3. Results from the interviews found that: Financial plans, and operational plan for plantation, seeding, harvesting, transportation, quality control and market supply are Planning. Providing responsibilities for farmers regarding their physical structure, competence and keen areas were Organizational Management. Knowledge of dragon fruit business, giving suggestions, job assignment, cooperation, job motivation and job concentration for fruitful business success were Initiative. 3.4 Job supervision, accounting, operational report, production and marketing scheme were Control.

Article Details

How to Cite
ภูธรรมะ อ. (2016). ศึกษาสภาพการจัดการของเกษตรผู้ปลูกแก้วมังกรในตำบลร่องจิกอำเภอภูเรือ จังหวัดเลย. Ph.D. In Social Sciences Journal, 6(2), 176–193. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/phdssj/article/view/66723
Section
Research Article