อิทธิพลคั่นกลางแบบอนุกรมของทุนทางปัญญาและการเป็นผู้ประกอบการในการถ่ายทอดวัฒนธรรมองค์การสู่ผลการดำเนินงานสำหรับอุตสาหกรรมต่อตัวถังรถโดยสาร

Main Article Content

ธัญนันท์ บุญอยู่
นิภา รุ่งเรืองวุฒิไกร
มนตรี พิริยะกุล
นภาพร ขันธนภา

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวัฒนธรรมองค์การ ทุนทางปัญญา การเป็นผู้ประกอบ การ และผลการดำเนินงานขององค์การ ตลอดจนศึกษาทุนทางปัญญาและการเป็นผู้ประกอบการในฐานะ ตัวแปรคั่นกลางแบบอนุกรมที่เชื่อมโยงวัฒนธรรมองค์การสู่ผลการดำเนินงานของวิสาหกิจขนาดย่อมใน อุตสาหกรรมต่อตัวถังรถโดยสารไทย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณ คือ ผู้ประกอบการอุตสาหกรรม ต่อตัวถังรถโดยสาร จำนวน 100 ตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ การวิเคราะห์ด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์สมการโครงสร้าง โดยใช้โปรแกรม PLS Graph 3.0 ส่วนการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก (in-depth interview) กับผู้ประกอบการอุตสาหกรรมต่อตัวถังรถโดยสาร จำนวน 9 คน เพื่อยืนยันกรอบแนวความคิดที่ ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมาจากการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง และนำผลการวิจัยมาสรุป อภิปรายผลและให้ข้อ เสนอแนะเพิ่มเติมในรูปของการวิเคราะห์เชิงพรรณนา

ผลการวิจัยเชิงปริมาณ พบว่า วัฒนธรรมองค์การ ทุนทางปัญญา การเป็นผู้ประกอบการ และ ผลการดำเนินงานขององค์การมีค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาองค์ประกอบของแต่ละปัจจัยเป็น รายด้าน พบว่า วัฒนธรรมองค์การ ทุนทางปัญญา การเป็นผู้ประกอบการ และผลการดำเนินงานขององค์การ ทุกด้านมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากเช่นกัน

ผลการวิเคราะห์ตัวแบบสมการโครงสร้างปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลการดำเนินงานขององค์การ พบว่า วัฒนธรรมองค์การมีอิทธิพลทางตรงต่อทุนทางปัญญา (TE = 0.553) และผลการดำเนินงานของ องค์การ (TE = 0.277) และมีอิทธิพลทางอ้อมต่อการเป็นผู้ประกอบการ (TE = 0.357) และผลการดำเนิน งานขององค์การ (TE = 0.143) ส่วนทุนทางปัญญามีอิทธิพลทางตรงต่อการเป็นผู้ประกอบการ (TE = 0.646) และมีอิทธิพลทางอ้อมต่อผลการดำเนินงานขององค์การ (TE = 0.259) และส่วนการเป็นผู้ประกอบการมี อิทธิพลทางตรงต่อผลการดำเนินงานขององค์การ (TE = 0.401)

ผลการวิจัยเชิงคุณภาพ พบว่า วัฒนธรรมองค์การ ทุนทางปัญญา การเป็นผู้ประกอบการ และผล การดำเนินงานขององค์การสอดคล้องกับการวิจัยเชิงปริมาณ นอกจากนี้แล้วยังได้ข้อค้นพบที่เป็นทฤษฎีที่ สร้างจากข้อมูล (ทฤษฎีฐานราก) คือ ผลการดำเนินงานขององค์การ (firm performance) ได้รับอิทธิพล จากการจัดการเชิงกลยุทธ์ (strategy management) และการสนับสนุนจากภาครัฐ (government support) โดยมีเทคโนโลยี (Technology) เป็นปัจจัยที่อาจเปลี่ยนความสัมพันธ์ระหว่างการสนับสนุนจาก ภาครัฐและผลการดำเนินงานขององค์การ

 

Serial Mediated Effects of Intellectual Capital and Entrepreneurship in Transmitting Organizational Culture to Performance of Bus Body Industry

This research aimed to study organizational culture, intellectual capital, entrepreneurship, and organizational performance, including study intellectual capital and entrepreneurship as serial mediated variables connecting organizational culture to the performance of Thai medium enterprise in bus body industry. Sample groups used for this quantitative research were 100 samples of bus body industry entrepreneurs. Tools used in this research were questionnaires. Statistics used in this research were analyses by percentage, standard deviation, and PLS Graph 3.0 structural equation analysis. On the other hand, the qualitative research, in-depth interviews were used with 9 bus body industry entrepreneurs to confirm the researcher’s research framework developed from studies of related literature. Later, the research results were summarized, discussed, and suggestions were given in a form of descriptive analysis.

Quantitative research results found that organizational culture, intellectual capital, entrepreneurship, organizational performance, had an averaged total at a high level. When aspects of each variable were considered, it was found that organizational culture, intellectual capital, entrepreneurship, and organizational performance, all had an averaged value at a high level, too.

The results of the analysis of the model of the structural equation of the factors effecting the organizational performance found that organizational culture had direct influence to intellectual capital (TE = 0.553) and organizational performance (TE = 0.277) and indirect influence to entrepreneurship (TE = 0.357) and organizational performance (TE = 0.143). On the other hand, intellectual capital had direct influence to entrepreneurship (TE = 0.646) and had indirect influence to organizational performance (TE = 0.259). In addition, entrepreneurship had direct influence to organizational performance (TE = 0.401).

Qualitative research results found that organizational culture, intellectual capital, entrepreneurship, and organizational performance conformed to the results of the quantitative research. Besides, there was a basic theoretical discovery that organizational firm performance was influenced by strategy management and government support, by which technology might be the factor in changing relationship between government support and organizational performance.

Article Details

How to Cite
บุญอยู่ ธ., รุ่งเรืองวุฒิไกร น., พิริยะกุล ม., & ขันธนภา น. (2016). อิทธิพลคั่นกลางแบบอนุกรมของทุนทางปัญญาและการเป็นผู้ประกอบการในการถ่ายทอดวัฒนธรรมองค์การสู่ผลการดำเนินงานสำหรับอุตสาหกรรมต่อตัวถังรถโดยสาร. Ph.D. In Social Sciences Journal, 6(1), 78–94. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/phdssj/article/view/67007
Section
Research Article