การจัดการโลจิสต์การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม จังหวัดนครปฐม

Main Article Content

ชัยฤทธิ์ ทองรอด

Abstract

การวิจัยนี้ใช้รูปแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) และการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการท่องเที่ยว ศึกษาความพึงพอใจต่อระบบการจัดการโลจิสติกส์การท่องเที่ยวจังหวัดนครปฐม และศึกษาการมีส่วนร่วม ของชุมชมและผู้มีส่วนได้เสีย (Stake Holder) ต่อการจัดการโลจิสติกส์การท่องเที่ยวจังหวัดนครปฐม ข้อมูล ที่ได้จะเป็นแนวทางให้ผู้บริหาร ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องหาแนวทางในการพัฒนาระบบโลจิติกส์การท่องเที่ยวให้สอด รับกับความต้องการเพื่อให้นักท่องเที่ยวมีความพึงพอใจและเดินทางมาท่องเที่ยวที่จังหวัดนครปฐมในโอกาส ต่อไป

สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ (Frequency) ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) สถิติค่าที (t-test) วิเคราะห์ความแปรปรวนทาง เดียว (One-way ANOVA) ผลการวิจัย พบว่า นักท่องเที่ยวที่เดินมานครปฐมส่วนใหญ่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร เคยมานครปฐมแล้ว 2-3 ครั้ง มากับ ครอบครัว มาด้วยรถยนต์ส่วนตัว เลือกพักอาศัยที่โรงแรม ค้นคว้าหาข้อมูลจากเว็บไซต์/โซเซียลมีเดีย วัตถุประสงค์หลักในการท่องเที่ยวคือ ทำบุญไหว้พระ เหตุผลที่มาท่องเที่ยวนครปฐมเพราะมีแหล่งท่องเที่ยว เชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมน่าสนใจ ค่าใช้จ่ายต่อครั้ง 1,000-2,000 บาท สถานที่ที่เคยไปแล้วคือ พุทธ มณฑล พระปฐมเจดีย์ และพิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทย ในอนาคตนักท่องเที่ยวจะกลับมาท่องเที่ยวจังหวัดนครปฐม อีกและจะแนะนำผู้อื่นให้มาท่องเที่ยวนครปฐม

ความพึงพอใจต่อการจัดการโลจิสติกส์การท่องเที่ยวจังหวัดนครปฐมภาพรวมนักท่องเที่ยวพึงพอใจ ในระดับมาก ส่วนด้านที่นักท่องเที่ยวพึงพอใจมากที่สุด ได้แก่ การเคลื่อนไหวด้านสารสนเทศ ความสะดวก สบายที่ได้รับจากการท่องเที่ยว การเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว ส่วนด้านที่ นักท่องเที่ยวพึงพอ ใจมาก ได้แก่ สิ่ง ดึงดูดใจด้านการท่องเที่ยว การไหลเวียนทางด้านการเงิน และการไหลทางกายภาพ ตามลำดับ

 

Logistic Management as Historical and Cultural of Tourism in Nakhon – Pathom Province.

This research is combined between qualitative and quantitative research. The objectives of this research are to study the tourism behavior, satisfaction of community and stakeholder to tourism logistic management system in Nakhon Pathom Province. in addition to study the community participation therefore the data would be the administration guideline so the related person could find the guideline of logistic system development of tourism to deliver the demand and matched to tourist’s satisfaction to make sure that to visit in Nakhon Pathom Province next time

Data analysis statistic such as Frequency, Percentage, Mean, Standard Deviation, t-test and One-way ANOVA result found that mainly tourists in Nakhon Pathom Province were to live in Bangkok ever been there around 2-3 times and coming with their family by own car and rest in hotel additional they found information from website/ social media. The majority objective of tourism in there was to make merit. The reason why they went to Nakhon Pathom Province was it had historical tourism and cultural interesting in and expenditure around 1,000 – 2,000 Baht per time. The population places were Buddhist diocese, Phra Pathomm Chedi and Thai Human Imagery Museum. In forward, tourist will be back in Nakhon Pathom Province again and they might suggest other person go to there

Overview of satisfaction with logistic management of tourism in Nakhon Pathom Province was tourists satisfied with high level, most satisfied in term of information, comfortable, accessing to tourist location while the tourists were satisfied with high level such as tourist attraction, the flow of financial and physical flow respectively.

Article Details

How to Cite
ทองรอด ช. (2016). การจัดการโลจิสต์การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม จังหวัดนครปฐม. Ph.D. In Social Sciences Journal, 6(1), 125–135. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/phdssj/article/view/67033
Section
Research Article