การพัฒนาระบบการสอบสวนคดีอาญาของไทย

Main Article Content

สมนึก เขมทองคำ
สุขสมัย สุทธิบดี

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาเกี่ยวกับระบบการสอบสวนคดีอาญาของไทย (2) เพื่อเปรียบเทียบระหว่างระบบการสอบสวนคดีอาญาของไทยกับต่างประเทศ (3) เพื่อยกร่างกฎหมาย เกี่ยวกับระบบการสอบสวนคดีอาญาของไทย และ (4) เพื่อประเมินร่างกฎหมายเกี่ยวกับระบบการสอบสวน คดีอาญาของไทย โดยวิธีการศึกษาใช้วิจัยเชิงคุณภาพ อันประกอบด้วย การค้นคว้าเอกสารทั้งของไทยและ ต่างประเทศ การเก็บข้อมูลภาคสนามโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกและการจัดประชุมสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านกฎหมายเพื่อรับฟังความคิดเห็น

จากการศึกษา พบว่า ประเทศไทยมีหลักการดำเนินคดีอาญาโดยแยกอำนาจการสอบสวนออกจาก อำนาจการฟ้องร้องและให้เจ้าพนักงานที่ไม่มีความเชี่ยวชาญด้านกฎหมายและไม่มีหน้าที่ดำเนินคดีในชั้นศาล มาทำการสอบสวนคดีอาญา ทั้งที่ประเทศไทยยึดถือระบบการดำเนินคดีอาญาโดยรัฐและมีพนักงานอัยการ ทำหน้าที่ดำเนินคดีอาญาในชั้นศาล แต่กลับไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายให้อำนาจพนักงานอัยการเข้าร่วม ทำการสอบสวนหรือเข้าควบคุมการสอบสวนคดีอาญาได้ตั้งแต่เริ่มต้นคดี ทำให้การสอบสวนของเจ้าหน้าที่ ฝ่ายอื่นมีความบกพร่องหรือได้ข้อเท็จจริงไม่ตรงต่อความจริงที่เกิดขึ้น จึงเป็นเหตุให้มีคดีเข้าสู่พิจารณาของ ศาลจำนวนมากและผลของการพิจารณาก็มีการยกฟ้องเป็นจำนวนมากเช่นกัน

ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาเปรียบเทียบระบบการสอบสวนของประเทศในภาคพื้นยุโรปและประเทศที่ได้นำเอา ระบบการสอบสวนคดีอาญาของประเทศในภาคพื้นยุโรปมาปรับใช้ได้แก่ ประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ประเทศสาธารณรัฐฝรั่งเศส ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศญี่ปุ่น และประเทศสาธารณรัฐเกาหลี พบว่า ประเทศเหล่านั้นได้ยึดถือระบบการดำเนินคดีอาญาโดยรัฐ ซึ่งจะมีพนักงานอัยการเป็นผู้แทนรัฐในการดำเนิน คดี โดยมีหน้าที่สอบสวนและฟ้องร้องคดี จึงทำให้ได้ข้อเท็จจริงเพียงพอพิสูจน์ให้เห็นว่าจำเลยมีผิด

 

THE DEVELOPMENT OF CRIMINAL INQUIRY SYSTEM OF THAILAND

This research study Objective (1) to study problems related to the criminal inquiry of Thailand (2) to compare the system of international criminal inquiry of Thailand. (3) to draft legislation on the criminal inquiry of Thailand and (4) to evaluate the draft law on the criminal inquiry of Thailand. The study used qualitative research methods. This includes research papers in both Thailand and overseas. The field data collected by in-depth interviews and focus group meetings to receive expert legal opinion.

The study found that Thailand has the authority to inquiry criminal proceedings separate from the prosecution and the person does not have legal expertise, and no duty to inquiry criminal cases prosecuted in the courts. The country adheres to the system of criminal proceedings by the state prosecutor and a criminal act instead of the state. But no provision of law authorizing the prosecutor to attend the inquiry or control of criminal case from the start. The inquiry of another officer with disabilities do not match the facts that occurred. This is why there is an inquiry into the court, and many consider it a result of the dismissal as a lot as well.

The researchers studied Comparative inquiry of European countries and countries that have adopted the system of criminal inquiry, including European countries to apply. Federal Republic of Germany French Republic United States Japan And the Republic of Korea Those countries that have upheld the criminal prosecution by the state. This is a public prosecutor, represented the state in litigation. It is responsible for inquiry and prosecution. It has enough facts to prove that the defendant is guilty.

Article Details

How to Cite
เขมทองคำ ส., & สุทธิบดี ส. (2016). การพัฒนาระบบการสอบสวนคดีอาญาของไทย. Ph.D. In Social Sciences Journal, 6(S), 97–109. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/phdssj/article/view/67243
Section
Research Article