การพัฒนารูปแบบผู้นำแบบมุ่งเน้นให้ความช่วยเหลือ (SERVANT LEADERSHIP) สำหรับหัวหน้างานระดับต้นในโรงงานอุตสาหกรรมเสื้อผ้าสำเร็จรูป

Main Article Content

อภินันท์ บุษบก
ศิริบูรณ์ สายโกสุม

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาหัวหน้างานระดับต้น เพราะเป็นบุคลากรที่มีส่วนสำคัญยิ่งต่อ การเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตให้สามารถแข่งขันกับคู่แข่งในระบบเศรษฐกิจได้ แต่ยังขาดภาวะผู้นำแบบ มุ่งเน้นให้ความช่วยเหลือ การวิจัยนี้จึงต้องการสร้างรูปแบบการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มเพื่อพัฒนาภาวะผู้นำ แบบมุ่งเน้นให้ความช่วยเหลือสำหรับหัวหน้างานระดับต้นในโรงงานอุตสาหกรรมเสื้อผ้าสำเร็จรูป โดยใช้ ระเบียบวิธีการวิจัยและพัฒนา ศึกษาแนวคิด ทฤษฎีและงานวิจัยจากหนังสือ ตำรา เอกสาร นำมาสร้างรูป แบบภาวะผู้นำ และให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบกับการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน อันดับที่ 2

กลุ่มตัวอย่างเป็นหัวหน้างานระดับต้น ในโรงงานอุตสาหกรรมเสื้อผ้าสำเร็จรูปกลุ่มบริษัทซาบีน่า จำกัด (มหาชน) 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ใช้ในการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน จำนวน 160 คน ซึ่งสุ่มแบบชั้นภูมิ ตามสัดส่วนจาก 5 โรงงาน กับกลุ่มที่ใช้ทดลองและหาประสิทธิผลของรูปแบบการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มที่ สร้างขึ้นจำนวน 24 คน ซึ่งสุ่มแบบง่ายจากหัวหน้าระดับต้นกลุ่มแรกที่ได้คะแนนภาวะผู้นำน้อยกว่าคะแนน เปอร์เซ็นต์ไทล์ที่ 25 และสุ่มแบบง่ายอีกครั้งแบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 12 คน ข้อมูลเก็บด้วยการส่งแบบสอบถามวัดภาวะผู้นำแบบมุ่งเน้นให้ความช่วยเหลือตามแนวคิดของ Patterson 7 องค์ประกอบคือ ความรักอย่างประเสริฐ ความถ่อมตน การเห็นแก่ประโยชน์คนอื่น การมีวิสัยทัศน์ ความ ไว้วางใจ การให้บริการ และการให้อำนาจ มีลักษณะข้อความคำถามเป็นแบบประเมินค่าตามแบบลิเคิร์ท 5 ตัวเลือก มีความเชื่อถือได้โดยมีค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่า 0.94 ผลการวิจัยพบว่า

รูปแบบผู้นำแบบมุ่งเน้นให้ความช่วยเหลือสำหรับหัวหน้างานระดับต้น ในโรงงานอุตสาหกรรมเสื้อผ้า สำเร็จรูป มีเนื้อหาและวิธีการพัฒนาตามแนวคิดของ Patterson และทฤษฎีการให้คำปรึกษาแบบกลุ่ม ทางจิตวิทยา ซึ่งทั้ง 7 องค์ประกอบ ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่ 2 ให้ค่า χ2, AGFI, CFI, RMSEA อยู่ในเกณฑ์ที่ให้ความหมายว่า องค์ประกอบ 7 ด้านของภาวะผู้นำนั้นสอดคล้องกับข้อมูลเชิง ประจักษ์ และเมื่อนำรูปแบบไปทดลองใช้ ผลพบว่า หัวหน้างานระดับต้นในกลุ่มทดลองหลังทดลองมีภาวะ ผู้นำแบบมุ่งเน้นให้ความช่วยเหลือทั้งโดยรวมและรายด้านสูงเพิ่มขึ้นกว่าก่อนการทดลองและสูงเพิ่มขึ้นกว่า กลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิตที่ระดับ 0.001

 

THE DEVELOPMENT OF SERVANT LEADERSHIP MODEL FOR FRONT LINE MANAGERS IN GARMENT FACTORY

The purpose of this research is to develop the competency of the front line managers who play the vital role in increasing an efficiency in production of organizations, which lead to be competitive advantage in the economy, but they still lack the servant leadership. Therefore, this research aimed to establish the group counseling model to develop this servant leadership for the front line managers in the garment factory. This model was constructed on the basis of the research and development by undertaking such the previous literature reviews and research studies as academic books and articles, then building this group counseling program accordingly. After that the specialists approved the second order confirmatory analysis from the empirical research.The two sample groups drawn from population were the front line manager from 5 factories of the Sabina Public Company Limited, the first sample group for confirmatory factor analysis consisting of 160 samples using proportional stratified random sampling and the second sample group for the empirical test to find out the efficiency of the group counseling model, which were drawn using a simple random method from the front line managers who achieved the leadership score of less than 25th percentile. Then they were selected again using the simple random technique and divided into the experiment group and the control group. Each consists of 12 people.

The data collection was undertaken in a form of an evaluative questionnaire employing the Likert 5 point scales with the alpha coefficient of 0.94.

The findings into the model of the front line managers servant leadership in garment factories that covered Patterson’s theory and practice and the theory of the servant leadership for the group counseling model disclosed that the second confirmatory factor analysis showed the implication of \chi ^{2}, AGFI, CFI, RMSEA of 7 components to be conformed with the evidence based research. After this group counseling program regarding to the servant leadership was tested to the sample groups, the finding disclosed that the front line managers in the experiment group had both an overall level and individual level of servant leadership after test higher than the ones before the test. in addition, this experiment group had a higher servant leadership at the significance of 0.001 than the control group.

Article Details

How to Cite
บุษบก อ., & สายโกสุม ศ. (2016). การพัฒนารูปแบบผู้นำแบบมุ่งเน้นให้ความช่วยเหลือ (SERVANT LEADERSHIP) สำหรับหัวหน้างานระดับต้นในโรงงานอุตสาหกรรมเสื้อผ้าสำเร็จรูป. Ph.D. In Social Sciences Journal, 6(S), 139–152. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/phdssj/article/view/67252
Section
Research Article