ธรรมาภิบาลในการจัดการสิ่งแวดล้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรณีศึกษาเทศบาลตำบลศรีธาตุ จังหวัดอุดรธานี

Main Article Content

ณัชทิชา จันทร์อินทร์
จุฑารัตน์ ชมพันธุ์

Abstract

การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยในอดีตที่ผ่านมา กล่าวได้ว่าเป็นการ พัฒนาที่มุ่งเน้นด้านเศรษฐกิจเป็นหลัก ส่งผลให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมจากการพัฒนาที่ไม่สมดุลและไม่ยั่งยืน ด้วยเหตุนี้จึงนำไปสู่การแสวงหาแนวทางแก้ไขปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่ การจัดการสิ่งแวดล้อม อย่างมีธรรมาภิบาล งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาธรรมาภิบาลในการจัดการ สิ่งแวดล้อม ปัญหาและอุปสรรค รวมถึงเสนอแนวทางในการส่งเสริมธรรมาภิบาลในการจัดการสิ่งแวดล้อม ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรณีศึกษาเทศบาลตำบลศรีธาตุ จังหวัดอุดรธานี เก็บรวบรวมข้อมูลโดย การสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างกับผู้มีส่วนได้เสีย

ผลการศึกษาพบว่า เทศบาลตำบลศรีธาตุมีการจัดการสิ่งแวดล้อมโดยคำนึงถึงความต้องการของ ประชาชนและผลประโยชน์ต่อส่วนรวมเป็นหลัก โดยนำต้นทุนของท้องถิ่น ได้แก่ ต้นทุนทางสังคม ต้นทุน ทางทรัพยากร และต้นทุนทางวัฒนธรรม มาประยุกต์ในการจัดการสิ่งแวดล้อม โดยได้รับความร่วมมือและ การยอมรับจากประชาชนเป็นอย่างดี เทศบาลตำบลศรีธาตุยึดหลักการจัดการสิ่งแวดล้อมที่สอดคล้องกับ หลักธรรมาภิบาลทั้ง 7 หลักการ ได้แก่ หลักนิติธรรม หลักคุณธรรม หลักความโปร่งใส หลักการมีส่วนร่วม หลักความรับผิดชอบ ประสิทธิภาพและประสิทธิผล และความยั่งยืน ซึ่งถือว่าเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เทศบาล ตำบลศรีธาตุมีความโดดเด่นและประสบความสำเร็จในการจัดการสิ่งแวดล้อม

 

Good Governance in Environmental Management of Local Authority: A Case Study Seetart Municipality, Udonthani

The management of the natural resources and the environment in Thailand in the past was carried out in order to support economic development. This led to environmental problems due to unbalanced and un-sustainable development. As a result, methods for efficiently solving these environmental problems were sought. One of the solutions was good governance in environmental management. The present qualitative research aimed at studying good governance in environmental management, the problems and obstacles, and proposing approach to promote good governance in environmental management for the local authority in Seetart municipality, Udonthani. Data were collected via in-depth interviews with stakeholders.

The results showed that in managing the environment, the Seetart municipality placed emphasis on the people’s needs and the public’s benefits. The local capital including social capital, resource capital, and cultural capita was applied to the environmental management. The Seetart municipality received good cooperation and acceptance from the people, as they conformed to the seven principles of good governance: equity, integrity, transparency, public participation, accountability, efficiency and effectiveness, and sustainability. These principles in turn helped make the Seetart municipality an outstanding local authority as well as a highly-successful organization in terms of environmental management.

Article Details

How to Cite
จันทร์อินทร์ ณ., & ชมพันธุ์ จ. (2016). ธรรมาภิบาลในการจัดการสิ่งแวดล้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรณีศึกษาเทศบาลตำบลศรีธาตุ จังหวัดอุดรธานี. Ph.D. In Social Sciences Journal, 5(3), 31–51. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/phdssj/article/view/67257
Section
Research Article