การพัฒนาการเรียนรู้และการจัดการเรียนการสอนแบบโครงงานเป็นฐาน เพื่อการสร้างสรรค์ผลงานด้านการออกแบบกราฟิก

Main Article Content

ทิชพร นามวงศ์

Abstract

การจัดกระบวนการเรียนการสอนในอดีตจนถึงปัจจุบัน ตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาลจนถึงระดับอุดมศึกษา ผู้สอนโดยส่วนมากยังคงจัดการเรียนการสอนแบบมีผู้สอนเป็นศูนย์กลาง เน้นบรรยายเนื้อหาตามตำรา และผู้เรียนเรียนรู้ด้วยท่องจำ ซึ่งทำให้ผู้เรียนขาดการบูรณาการทางความรู้ และพัฒนาการในด้านการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง คิดเอง ทำเอง การส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ และกระบวนการคิดสร้างสรรค์ได้ด้วยตนเองนั้น ผู้สอนจะต้องมีกลยุทธ์การสอน วิธีการ กิจกรรม และสิ่งสนับสนุนการให้แก่ผู้เรียน ซึ่งการนำทฤษฎีการจัดการเรียนการสอนแบบโครงงานเป็นฐานมาใช้ สามารถช่วยผู้สอนแก้ไขปัญหาดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ผู้สอนจะเป็นผู้กำหนดกิจกรรมและโครงงานแก่ผู้เรียน และผู้เรียนจะดำเนินการสร้างโครงงานกราฟิกตามกระบวนการออกแบบ 8 ขั้นตอน (1) ศึกษาค้นคว้า (research) (2) วางแผน (plan) (3) แผนที่ความคิด (mind map) (4) สร้างแรงบันดาลใจ (inspiration) (5) สเก๊ตช์ภาพโครงร่างและหยาบ (thumbnail and rough sketch) (6) ออกแบบ (design) (7) ประเมินผลและปรับปรุง (evaluation and revision) และ (8) นำเสนอผลงาน (presentation) โดยผู้สอนจะเป็นปรึกษาคอยช่วยเหลือให้คำแนะนำ ผู้เขียนได้แสดงถึงรายละเอียดเกี่ยวกับหลักการและกระบวนการเรียนการสอน ซึ่งผู้สอนสามารถนำไปสอนและปฏิบัติได้จริง ด้วยวิธีการจัดการเรียนการสอนนี้ จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการคิดสร้างสรรค์และเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง

 

LEARNING DEVELOPMENT AND PROJECT–BASED LEARNING MANAGEMENT TO ENHANCE CREATIVE GRAPHIC DESIGN PROJECT

In the past, the instructional management of kindergarten to higher education was student centered approach. Lecturing by textbook was always used in the class while the students learned by reading and memorizing. The learners had no chance to integrate the knowledge by learning acquisition. The learners did not learn by doing or thinking as present time. To enhance the learning process and creative thinking, the instructors should have the strategies, methodology, activities to support the learners to gain those of characteristics. The learning theory of project-based learning is one of instructional managements to solve these problems. The instructors identify the learning activities, and assign the learning project for the students to learn by thinking and doing project. The learners will do the creative graphic design project according to the process of 8 design steps: (1) Research (2) Plan (3) Mind map (4) Inspiration (5) Thumbnail and Rough Sketch (6) Design (7) Evaluation and Revision (8) Presentation. The instructors take a role as a facilitator to give advices to the learners. The author mentioned the description of project–based learning management for the instructors to apply in the class. This learning management is absolutely able to enhance the creative thinking skill and learning achievement for the learners.

Article Details

How to Cite
นามวงศ์ ท. (2016). การพัฒนาการเรียนรู้และการจัดการเรียนการสอนแบบโครงงานเป็นฐาน เพื่อการสร้างสรรค์ผลงานด้านการออกแบบกราฟิก. Ph.D. In Social Sciences Journal, 6(3), 1–10. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/phdssj/article/view/68233
Section
Academic Article