วัฒนธรรมองค์กรกับความสำเร็จในการบริหาร: เปรียบเทียบสองวัฒนธรรมองค์กร

Main Article Content

บวร ประพฤติดี

Abstract

บทความวิชาการวิเคราะห์ความสำคัญของวัฒนธรรมองค์กรที่ส่งผลกระทบต่อวัฒนธรรมการ ทำงานของคนในองค์กรที่แตกต่างกันโดยเปรียบเทียบลักษณะวัฒนธรรมสององค์กรคือระบบราชการและ ระบบธุรกิจจุดอ่อนระบบราชการคือมีวัฒนธรรมอำนาจ ส่งผลต่อปัญหาประสิทธิภาพการทำงานบริการ ของข้าราชการ ตัวอย่างเช่นไม่ทำงาน (Delay) การทำงานมีสองมาตรฐาน (Double Standard) ใช้อำนาจ (Discretionary Power) ไม่สนใจงานบริการประชาชน (Low Quality of Customer Service) การทุจริต ในหน้าที่ราชการ (Bureaucratic Corruption) แม้ว่ามีการปรับโครงสร้างมีกฎหมายปฏิรูประบบราชการ ใหม่ (Reform) ขององค์กรรัฐ ที่นำต้นแบบการบริหารเชิงธุรกิจมาสร้างคนเก่งยุคใหม่ในระบบราชการก็ ไม่ได้แสดงให้เห็นภาพรวมของประสิทธิภาพการทำงานของข้าราชการว่าดีขึ้นหรือมีประสิทธิภาพเทียบเท่า ระบบการปฏิบัติงานในภาคธุรกิจ

ในขณะที่องค์การธุรกิจเน้นวัฒนธรรมองค์การแนวราบผู้นำขับเคลื่อนและผลักดันวัฒนธรรมองค์กร ให้สมาชิกขององค์การปรับเปลี่ยนและนำไปใช้ในการทำงานอย่างมีประสิทธิผลและมีประสิทธิภาพ ตัวอย่าง เช่นความซื่อสัตย์ คุณภาพ ประสิทธิภาพ ความรับผิดชอบ การบริการอย่างรวดเร็วเป็นวัฒนธรรมองค์การที่ พัฒนาเป็นตราหรือภาพลักษณ์สินค้า (Brand) เพื่อการแข่งขันในตลาดธุรกิจ วัฒนธรรมองค์กรจึงเป็นกลไก ความสำเร็จในการบริหารองค์กรธุรกิจ เพราะวัฒนธรรมองค์กรได้เชื่อมโยง (Alignment) พลังความไว้วางใจ ร่วมกันของทุกๆคนที่ทำงานในองค์กร (Shared Organization Trust)เมื่อใดก็ตามค่านิยมบุคลากรรวมกัน เป็นหนึ่งกับค่านิยมองค์กร องค์กรจะเป็นองค์กรวิสัยทัศน์ ที่มีศักยภาพในการบริหาร อาจเรียกว่าองค์กร ที่มีหนึ่งยุทธศาสตร์ (One Strategy) และปัจจัยสำเร็จขององค์กรภาคธุรกิจที่สำคัญยิ่ง คือการมีผู้นำการ เปลี่ยนแปลงเป็นหัวหน้าขับเคลื่อนวัฒนธรรมองค์กรที่นำไปสู่การขายสินค้าและบริการอย่างมีประสิทธิผล และมีประสิทธิภาพ สร้างความพึงพอใจให้ลูกค้าและมีกำไร

 

This article is an attempt to analyze the importance of organization culture upon organizational performance by comparing two different organizations: bureaucracy and business. The weakness of the bureaucracy is its power culture which impinges in efficiency , double standard, discretionary power, low quality performance and most importantly corruption. Though, the government has put an effort to rebuild and reform bureaucratic structure to improve performance by using private sector model. The reform so far does not hit the major point of improving bureaucratic performances as compared to business sector.As a matter of fact.

In comparison, business organization performs on horizontal culture to serve its customers. The leaders of business organization have duty to enforce business culture such as honesty, quality, efficiency, accountability and quick delivery of services to improve business performances. Its culture has become organization branding to persuade its customers and to compete with others for better goods and services.Organization culture is considered a strategic weapon for business achievement because the organization culture has been aligned with trust values. Whenever employee’s values align with organization values, the organization will be called visionary organization or one strategy organization. Finally, transformational leader existing in business organization has become a major factor to transform business culture toward organization achievement with customer satisfaction and profit.

Article Details

How to Cite
ประพฤติดี บ. (2016). วัฒนธรรมองค์กรกับความสำเร็จในการบริหาร: เปรียบเทียบสองวัฒนธรรมองค์กร. Ph.D. In Social Sciences Journal, 5(2), 1–13. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/phdssj/article/view/68686
Section
Academic Article