ปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินงานระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม (ISO 14001) ของอุตสาหกรรมปิโตรเคมี: กรณีศึกษาบริษัทไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน)

Main Article Content

อลงกรณ์ อินทรทูต
จุฑารัตน์ ชมพันธุ์

Abstract

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการดำเนินงานและปัจจัยที่ส่งผลต่อระบบการจัดการสิ่ง แวดล้อม (ISO 14001) ของบริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) และเป็นแนวทางในการจัดทำระบบ ISO 14001 แก่องค์กรอื่น ๆ ได้อย่างเหมาะสม โดยการศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพได้ประยุกต์แนวคิดการประเมิน ผลเชิงระบบ (CIPP-I Model) มีวิธีเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interviews) กับเจ้าหน้าที่ด้านสิ่งแวดล้อมของบริษัทฯ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ผลการศึกษาพบว่าปัจจัยที่สำคัญมีดังนี้ 1) ด้านบริบท ได้แก่ การสนับสนุนจากนโยบายภาครัฐ กฎหมายและกฎระเบียบ การติดตามตรวจสอบของ หน่วยงานราชการ การมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชน ความต้องการของคู่ค้า การแข่งขันทางการตลาด ปัญหา ด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้น และข้อร้องเรียนจากชุมชน ส่วนปัจจัยด้านสภาวะทางเศรษฐกิจไม่มีผลต่อการ จัดการสิ่งแวดล้อมของบริษัท 2) ด้านปัจจัยนำเข้า ได้แก่ จำนวนและความรู้ความเข้าใจของบุคลากร การฝึก อบรมบุคลากร งบประมาณที่เพียงพอ เทคโนโลยีที่ทันสมัยเหมาะสม การสนับสนุนของผู้บริหาร วิสัยทัศน์ พันธกิจ และวัฒนธรรมของบริษัทฯ และระบบมาตรฐานอื่น ๆ 3) ด้านกระบวนการ มีการกำหนดนโยบาย วัตถุประสงค์ เป้าหมาย และวางแผนโครงการที่เหมาะสม ชัดเจน และสอดคล้องกัน มีหน่วยงานคอยควบคุม ตรวจสอบการดำเนินงานที่ชัดเจน นำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาช่วยในการบริหารจัดการ มีการสื่อสารกับ องค์กรและชุมชนภายนอกอย่างสม่ำเสมอพร้อมทั้งเปิดโอกาสให้ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงาน มีการ อบรมผู้รับเหมา การสร้างแรงจูงใจให้พนักงาน ซ้อมแผนฉุกเฉินอย่างสม่ำเสมอ ตรวจติดตามและประเมิน ผลอย่างสม่ำเสมอ และมีการทบทวนปรับปรุงอย่างสม่ำเสมอ 4) ผลที่ได้รับ พบว่าบริษัทฯ ดำเนินงานบรรลุ ได้ตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่ได้ตั้งไว้ และสภาพแวดล้อมภายในบริษัทฯ ดีขึ้นเป็นระเบียบมากยิ่งขึ้น 5) ด้านผลกระทบ พบว่าปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมในชุมชนลดลง ชุมชนมีทัศนคติที่ดีต่อบริษัทฯ มีการปฏิบัติ งานที่เป็นระบบและมีการนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้ามาใช้ พนักงานเกิดการพัฒนาความรู้ความสามารถ และ ความตระหนักด้านสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น ดังนั้นจึงสรุปว่า ปัจจัยเหล่านี้เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้การดำเนิน การจัดการสิ่งแวดล้อมให้สามารถประสบความสำเร็จได้

 

Factors affecting the implementation of Environmental Management System (ISO 14001) of Petrochemical industry: A Case study of IRPC Public Company Limited.

The purposes of this study were to investigate the implementation of the environmental management system by the IRPC Public Company Limited and the factors affecting such implementation, and to suggest to other organizations how to adopt an environmental management system effectively. This study employed the CIPP-I Model, which took into account the factors regarding the contexts, input and output, processes, and impacts of the IRPC’s environmental management system. Data were collected via In-depth Interviews with employees with experience involving the company’s environmental management operations, and stakeholders. The results of the study showed the factors affecting the IRPC Public Company Limited’s environmental management as follows. (1) The context factors included support from the government sector, related laws and regulations, monitoring by government units, the participation of community leaders, clients’ needs, marketing competition, existing environmental problems, and community complaints. It was found that economic conditions did not affect the company’s environmental management operations. (2) Among the input factors, the major factors were adequate number of staff members, the staff’s knowledge and understanding of the environmental management system, adequate trainings for the employees, adequate budget, modern and appropriate technology, support from the executives, the company’s visions, missions, organizational culture, and the integration of various standard control systems. (3) In terms of processes, the company was equipped with policies, purposes, goals, as well as appropriate, clear, and corresponding project plans. In the company there was a unit designated to supervise the implementation of the environmental management system, and information technology was used in the operations. There was constant communication between the company and the community and between the company and other organizations. The company offered opportunities for community participation, for example, training available for contractors. The employees were motivated, and there were regular emergency plan practice sessions. In addition, there was constant monitoring and evaluations as well as continuous reviews for improvement. (4) As for the output factors, the company was successful in following its goals regarding the management system, gaining in return a better and more orderly environment. (5) It was found that, as a result of the environmental management system, there was a decrease in the environmental problems in the community, the people in the community were satisfied and had more positive attitudes toward the company, the operations in the company became more systematic, new technology was employed, and the employees received opportunities for professional development and became more aware of the need for environmental management. In concluding, these factors are keys of success for implementation of the Environmental Management System.

Article Details

How to Cite
อินทรทูต อ., & ชมพันธุ์ จ. (2016). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินงานระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม (ISO 14001) ของอุตสาหกรรมปิโตรเคมี: กรณีศึกษาบริษัทไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน). Ph.D. In Social Sciences Journal, 5(2), 14–29. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/phdssj/article/view/68688
Section
Research Article