องค์ประกอบหลักขององค์การแห่งการเรียนรู้ที่มีต่อผลการดำเนินงานของอุตสาหกรรมยานยนต์แห่งประเทศไทย

Main Article Content

พิพรรธน์ พิเชษฐศิรประภา
นรพล จินันท์เดช
มนตรี พิริยะกุล
นภาพร ขันธนภา

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาวัฒนธรรมองค์การ สมรรถนะองค์การ การจัดการ ทรัพยากรมนุษย์ องค์การแห่งการเรียนรู้และผลการดำเนินงานของอุตสาหกรรมยานยนต์แห่งประเทศไทย และ (2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลการดำเนินงานของอุตสาหกรรมยานยนต์แห่งประเทศไทย โดย เป็นการวิจัยแบบผสม คือ การวิจัยเชิงปริมาณ ศึกษากลุ่มตัวอย่างอุตสาหกรรมยานยนต์แห่งประเทศไทย จำนวน 500 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามวิเคราะห์ด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบน มาตรฐาน และการวิเคราะห์ตัวแบบสมการโครงสร้างโดยใช้โปรแกรม PLS Graph 3.0 สำหรับการวิจัยเชิง คุณภาพ ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกด้วยแบบวัดแบบกึ่งโครงสร้างกับผู้บริหาร หัวหน้างาน ที่มีความเชี่ยวชาญ จำนวน 11 บริษัท รวมทั้งสิ้น 16 คน ผลการวิจัยเชิงปริมาณ พบว่า ผลการดำเนินงานขององค์การ องค์การ แห่งการเรียนรู้ การจัดการทรัพยากรมนุษย์ สมรรถนะองค์การ และวัฒนธรรมองค์การ พบว่ามีค่าเฉลี่ยโดย รวมอยู่ในระดับมาก และผลการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลการดำเนินงานขององค์การพบว่า วัฒนธรรม องค์การมีอิทธิพลทางตรงต่อสมรรถนะองค์การ (TE=0.719) องค์การแห่งการเรียนรู้ (TE=0.455) และการ จัดการทรัพยากรมนุษย์ (TE=0.759) และมีอิทธิพลทางอ้อมต่อผลการดำเนินงานขององค์การ (TE=0.883) ทั้งนี้องค์การแห่งการเรียนรู้ (TE=0.255) และการจัดการทรัพยากรมนุษย์ (TE=0.600) มีอิทธิพลทางตรง ต่อผลการดำเนินงานขององค์การ ส่วนสมรรถนะองค์การ (TE=0.069) และวัฒนธรรมองค์การ (TE=0.883) มีอิทธิพลทางอ้อมต่อผลการดำเนินงานขององค์การ ซึ่งสอดคล้องกับข้อสมมติฐานที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.01 และผลการวิจัยเชิงคุณภาพ พบว่า ข้อสรุปที่ได้จากการสัมภาษณ์เชิงลึกมีความสอดคล้องกับ การวิจัยเชิงปริมาณ นอกจากนี้ยังได้ข้อค้นพบที่เป็นทฤษฎีฐานราก (grounded theory) ในการสนับสนุน งานวิจัยครั้งนี้

 

MAJOR COMPONENTS OF LEARNING ORGANIZATION IN THE PERFORMANCE OF THE AUTOMOTIVE INDUSTRY IN THAILAND

In this dissertation, the researcher studies (1) organizational culture, organizational competency, human resource management, learning organization in addition to the performance of the automotive industry in the Kingdom of Thailand (Thailand). The researcher also examines (2) factors influencing the performance of the automotive industry in Thailand. Furthermore, the researcher used a mixed-method research approach in carrying out this investigation. In the quantitative phase, the researcher studied a sample population of 500 subjects employed in the Thai automotive industry. The research instrument was a questionnaire. Using techniques of descriptive statistics, the researcher analyzed the data collected in terms of percentage, mean and standard deviation. Adopting the structural equation model, the researcher conducted further analysis by virtue of applying the structural equation model through the agency of the partial least square graph (PLS-Graph) 3.0 computer software program. In the qualitative research phase, the researcher conducted semi-structured in-depth interviews with sixteen experts who were executives and supervisors at eleven companies. Findings from the quantitative research phase showed that the organizational performance, learning organization, human resource management, organization competency, and organization culture displayed a total mean at a high level. And in analyzing factors influencing organizational performance, the researcher found the following. Organizational culture displayed direct influence on organizational competency (TE [total effects] = 0.719), learning organization (TE=0.455), and human resource management (TE=0.759). Organizational culture also exhibited indirect influence on organizational performance (TE=0.883). In addition, learning organization (TE=0.255) and human resource management (TE=0.600) evinced direct influence on organizational performance. Moreover, organizational competency (TE=0.069) and organizational cultures (TE=0.883) manifested indirect influence on organizational performance, a finding which was in consonance with the hypotheses postulated for this inquiry at the statistically significant level of 0.01. In regard to the qualitative research phase, the researcher found that the conclusions derived from the in-depth interviews were congruent with the results of the quantitative research phase in the aspects. Finally, the research made use of grounded theory in providing supplementary support for the aforementioned research results.

Article Details

How to Cite
พิเชษฐศิรประภา พ., จินันท์เดช น., พิริยะกุล ม., & ขันธนภา น. (2016). องค์ประกอบหลักขององค์การแห่งการเรียนรู้ที่มีต่อผลการดำเนินงานของอุตสาหกรรมยานยนต์แห่งประเทศไทย. Ph.D. In Social Sciences Journal, 5(2), 58–72. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/phdssj/article/view/68690
Section
Research Article