ผลของการใช้รูปแบบการจัดการขยะมูลฝอยอย่างครบวงจรแบบมีส่วนร่วมของชุมชน ในเขตเทศบาลตำบลสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์

Main Article Content

อภิชาติ ตั้งปรัชญากูล
สุวารีย์ ศรีปูณะ
สม นาสอ้าน

Abstract

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง เพื่อประเมินผลการใช้รูปแบบการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนในด้านความรู้ เจตคติ การปฏิบัติและการมีส่วนร่วมของตัวแทนครัวเรือน โดยเปรียบเทียบก่อนกับหลังการใช้รูปแบบและเปรียบเทียบหลังการใช้รูปแบบตามปัจจัยส่วนบุคคล และเปรียบเทียบผลการเปลี่ยนแปลงการจัดการขยะมูลฝอยก่อนกับหลังการใช้รูปแบบ กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามตารางสำเร็จรูปของเครจซี่และมอร์แกน จากประชากรตัวแทนครัวเรือน จำนวน 2,782 คน ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 340 คน เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามและแบบบันทึกการเปลี่ยนแปลงการจัดการขยะมูลฝอยก่อนกับหลังการใช้รูปแบบ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาและใช้สถิติค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  t-test และ F-test ด้วยเทคนิค Repeated measure และ Multi way MANOVA

ผลการวิจัย พบว่า การใช้รูปแบบการจัดการขยะมูลฝอยอย่างครบวงจรแบบมีส่วนร่วมของชุมชน ทำให้ตัวแทนครัวเรือนเกิดความรู้ เจตคติ การปฏิบัติและการมีส่วนในการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนหลังปฏิบัติการใช้รูปแบบ 3 เดือนโดยรวมสูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 ตัวแทนครัวเรือนที่มีรายได้แตกต่างกันมีเจตคติและการปฏิบัติแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 หลังการปฏิบัติการใช้รูปแบบ 6 เดือนและ 3 เดือนปริมาณขยะมูลฝอยชุมชนทั้งโดยรวมและรายประเภทลดลงจากก่อนการใช้รูปแบบโดยมีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และได้เกิดระบบใหม่ในการใช้ประโยชน์ขยะมูลฝอยในชุมชนอย่างครบวงจร ได้แก่ เกิดกลุ่มแกนนำจัดการขยะชุมชน กลุ่มจิตอาสารักษ์สิ่งแวดล้อมครอบครัว กองทุนจิตอาสารักษ์สิ่งแวดล้อมชุมชนและตลาดนัดขยะรีไซเคิลชุมชน ทั้งนี้การใช้รูปแบบการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลได้นั้น คนในชุมชนต้องมีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ต้องมีส่วนร่วมในทุกกิจกรรม ต้องปฏิบัติอย่างจริงจัง และทุกภาคส่วนในชุมชนต้องรวมพลังสู่ความสำเร็จ

 

EFFECT OF USING THE MODEL OF WHOLE CYCLE PARTICIPATORY SOLID WASTE MANAGEMENT OF THE COMMUNITIES IN SOMDET MUNICIPALITY, KALASIN PROVINCE

This Quasi-experimental research intended to investigate the effect of using the model of community solid waste management of the communities in the Somdet municipality, Kalasin Province in the knowledge, attitudes and practices of participating households. By comparing before and after using the model and compare  the usage patterns by personal factors. And compares the results before and after changes in solid waste management using the model. Local Somdet municipality, Kalasin Province. Sorting waste Share Analysis Planning and project management solution waste by 5Rs total period of 6 months.  The sample size of the grid and finished Krejcie Morgan from  2,782 population. A sample of 340 people sample a specific household as a volunteer co-operating from six communities around 55-60 per 340 households, including households. Questionnaires were used to collect quantitative data and save changes to solid waste management before and after use model. Data were analyzed using content analysis and statistics, percentages, averages and standard deviations. T test and test techniques F. Repeated measure and Multi way MANOVA.

The study found that using the model of community solid waste management of the communities make representative household has knowledge, attitudes and practices in the solid waste management after use model three months before the higher model. Overall the difference was statistically significant at the .05 level. The representatives of households with incomes of different attitudes and practices were different. The difference was statistically significant level. 05. The amount of solid waste after using the model than six months. Before using the model after model three months. And a new system has emerged in the use of whole cycle participatory solid waste management of the communities include an integrated waste management, community group leaders, Environmental volunteer groups, family Volunteer Environment Community Fund and Community Waste Recycling Market. This using the model of community solid waste management efficiently and effectively so. People in the community need to be constantly learning to participate in all activities must seriously and all sectors of the community to join forces to success.

Article Details

How to Cite
ตั้งปรัชญากูล อ., ศรีปูณะ ส., & นาสอ้าน ส. (2016). ผลของการใช้รูปแบบการจัดการขยะมูลฝอยอย่างครบวงจรแบบมีส่วนร่วมของชุมชน ในเขตเทศบาลตำบลสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์. Ph.D. In Social Sciences Journal, 6(3), 123–137. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/phdssj/article/view/69106
Section
Research Article